WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BBL chatsiriแบงก์กรุงเทพ ยืนยัน เตรียมจ่ายแบงก์การันตีไทยทีวีพร้อมดอกเบี้ยในอัตรา 7.5% ต่อปี ย้อนหลังตามเงื่อนไข กสทช.

   นายชาติศิริ โสภณพณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เปิดเผยว่า กรณีที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังธนาคารกรุงเทพ เพื่อขอให้เข้ามาชำระเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอลของช่องไทยทีวี จำนวนเงิน 1,748 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา 7.5% ต่อปี ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค.58 ภายใน 7 วัน

     ทางธนาคารพร้อมที่จะทำตามเงื่อนไขของ กสทช.ซึ่งจะต้องชำระเงินจำนวนเงินดังกล่าวภายในระยะเวลา 7 วัน นับตั้งแต่วันครบกำหนดในวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา นอกจากนี้ในส่วนการตั้งสำรองในกรณีนี้นั้น ธนาคารได้ตั้งสำรองในจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายเต็ม 100% ไว้ทั้งหมดแล้ว                                                   

กสทช.วางบิลให้ BBL จ่ายค่าใบอนุญาตแทนไทยทีวี ยื่นคำขาด 7 วันยังไม่มา เตรียมฟ้องศาลและโร่ฟ้องธปท.-ก.คลัง

      นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า  วันนี้ กสทช. ได้ส่งหนังสือถึงธนาคารกรุงเทพจำกัด(มหาชน)หรือ BBL เพื่อให้นำเงินมาชำระค่าใบ อนุญาตทีวีดิตอล 2 ช่องของบริษัท ไทยทีวี จำกัด ตามที่ BBL เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันในวงเงิน รวม 1,748 ล้านบาท และยังไม่นับรวมดอกเบี้ยคิดในอัตรา 7.5%ต่อปี นับแต่วันที่ 19 เม.ย.59

    สำนักงาน กสทช.ให้เวลากับทางธนาคารตอบกลับมาภายใน 7 วัน หากไม่นำเงินมาชำระหรือหนังสือตอบกลับเพื่อชี้แจงถึงเหตุผลที่ไม่สามารถชำระแทนได้ สำนักงานกสทช.จะฟ้องร้องต่อศาลเพื่อ เรียกค่าเสียหาย และจะแจ้งต่อรัฐบาลไปยังกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ เพราะเงินค่าใบอนญาตดังกล่าวเป็นรายได้ของแผ่นดินที่กสทช.ต้องนำส่ง

    ก่อนหน้านี้ กสทช.ได้ส่งหนังสือแจ้งธนาคารกรุงเทพไปแล้ว 1 ครั้ง และไม่มีการตอบกลับมา ภายในเวลาที่กำหนดหรือสิ้นสุดวันที่ 18 เม.ย.59 ขณะที่ คดีที่ไทยทีวีได้ยื่นขอคุ้มครองไม่ต้องชำระ เงินค่าใบอนุญาตกับศาลปกครองนั้น ศาลปกครองไม่ได้มีคำสั่งคุ้มครอง ดังนั้น ทางสำนักงานก สทช.จึงต้องเรียกให้ธนาคารกรุงเทพมาชำระเงินแทนไทยทีวี

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

กสทช.ขยาย 1 เดือนสรุปค่าเสียหาย JAS พร้อมเชิญ BBL อีกรอบ, ICBC แจงแจสฯ ขอกู้กองทุนในจีน

        คณะทำงานพิจารณาความเสียหายจากกรณีที่ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ไม่ชำระเงินและทิ้งใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 MHz เตรียมขอขยายเวลาการทำงานไปอีก 1 เดือนหลังพบอุปสรรคหลายด้าน ขณะที่เตรียมส่งหนังสือเชิญธนาคารกรุงเทพ (BBL) มาให้ข้อมูลด้วยถ้อยคำอีกครั้ง หลังจากเชิญไป 2 ครั้งแต่ส่งมาเป็นเอกสารที่ยังขาดละเอียดสำคัญ ส่วนตัวแทนธนาคารไอซีบีซี ไทย (ICBCT) ให้ข้อมูลแจสฯ ติดต่อขอกู้จากกองทุนในจีนและขอให้ไอซีบีซีจีนเป็นที่ปรึกษาทางการเงินแต่ในที่สุดก็เกิดข้อติดขัด

      นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า คณะทำงานฯ ขอให้มีการขยายระยะเวลาทำงานออกไปอีก 1 เดือน หรือจะสิ้นสุดในวันที่ 28 พ.ค.59 ซึ่งน่าจะทำให้ได้ข้อยุติในเรื่องนี้ เนื่องจากการทำงานที่ผ่านมาเกิดอุปสรรค เช่น ติดวันหยุดหลายวันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และทางธนาคารกรุงเทพก็มีการเลื่อนให้ข้อมูลมาโดยตลอด จึงไม่สามารถทำงานได้ตามกรอบเวลาเดิมที่กำหนดได้

      อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คณะทำงานฯ ได้วางกรอบการตรวจสอบในประเด็นต่าง ๆ ไว้แล้ว ทั้งเรื่องของการกู้เงิน การจัดหาแหล่งเงิน และการกำหนดค่าเสียหาย รวมไปถึงคุณสมบัติเป็นผู้รับใบอนุญาตต่าง ๆ ของบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับแจส โมบายฯ ที่จะต้องใช้เวลารวบรวม เพราะแต่ละบริษัทมีโครงสร้างเกี่ยวพันกันซับซ้อน

      นายก่อกิจ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมคณะทำงานฯ ในวันนี้ยังมีความเห็นให้ทำหนังสือเชิญธนาคารกรุงเทพเข้ามาชี้แจงอีกครั้ง หลังจากที่เชิญไปแล้วสองครั้งแต่ก็เลื่อนนัด และที่สุดส่งเพียงหนังสือมาชี้แจง ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลแบบกว้าง ๆ ขณะที่คณะทำงานฯ เห็นว่ายังมีประเด็นที่จะสอบถามเพื่อเติมอีกหลายประเด็น โดยเฉพาะ 2 ประเด็นสำคัญคือ วงเงินกู้ที่ตั้งไว้ให้กับทางแจส โมบายฯ และ สาเหตุที่ไม่ได้ปล่อยกู้ เพื่อนำมาประกอบกับที่ผู้บริหารแจส โมบายฯ ชี้แจงไว้

       "เราอยากดูว่าจะตรงกับที่ผู้บริหารแจสบอกไว้หรือไม่ อยากจะฟังทางแบงก์กรุงเทพด้วย เชิญไป 2 ครั้งแล้วก็รอ รอแล้วก็เลื่อน ต้องรอดูว่าครั้งหน้าเขาอาจจะเปลี่ยนใจ ใจผมถ้ามาให้ถามตอบก็จะชัดเจน ทุกคนก็รออยู่ ทำหนังสือเชิญ เราอยากได้แบงก์กรุงเทพเป็นตัวตั้งในเรื่องนี้" นายก่อกิจ กล่าว

    ส่วนตัวแทนธนาคารไอซีบีซี ไทย ได้เข้ามาให้ข้อมูลกับคณะทำงานฯ ในวันนี้ ได้ชี้แจงว่าธนาคารเป็นสถาบันการเงินในประเทศไทยสามรถปล่อยกู้ให้กับลูกค้าได้สูงสุดไม่เกิน 170 ล้านเหรียญสหรัฐ หากจะปล่อยกู้มากกว่านั้นก็ต้องได้รับการอนุมัติจากไอซีบีซี จีน ที่เป็นบริษัทแม่ และต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเป็นการชี้แจงขั้นตอนการทำงานของธนาคารไอซีบีซีในไทยเท่านั้น

   สำหรับ กรณีของแจสฯ นั้น ไอซีบีซี ไทย ให้ข้อมูลว่าแจส โมบายฯ ได้ติดต่อขอเงินกู้จากกองทุนแห่งหนึ่งในประเทศจีน ซึ่งกองทุนดังกล่าวได้เข้ามาติดต่อให้ไอซีบีซี จีน ทำหน้าที่ที่ปรึกษาทางการเงินในกรณีนี้ แต่ในที่สุดก็เกิดข้อติดขัดในรายละเอียดจึงไม่มีการดำเนินการใด ๆ

                อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!