WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

NBCTฐากร ตณฑสทธกทค.กำหนดประมูลใหม่ 900 MHz วันที่ 24 มิ.ย.ย้ำราคาตั้งต้น 7.56 หมื่นลบ.

       คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กำหนดเปิดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ชุดที่ 1 รอบใหม่ในวันที่ 24 มิ.ย.59 ที่ราคาตั้งต้น 7.56 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ชนะประมูลไปในครั้งที่แล้วก่อนจะทิ้งใบอนุญาตไป พร้อมทั้งปรับหลักเกณฑ์การวางหลักทรัพย์ค้ำประกันสำหรับผู้เข้าร่วมประมูลเพิ่มขึ้นเป็น 3,783 ล้านบาท หรือ 5% ของราคาเริ่มต้น และกำหนดบทลงโทษหากผู้ชนะประมูลทิ้งใบอนุญาตจะต้องจ่ายค่าเสียหายราว 1.51 หมื่นล้านบาท

      ทั้งนี้ กทค.จะเปิดรับฟังความคิดเห็นหลักเกณฑ์การประมูลครั้งใหม่ดังกล่าวในช่วงวันที่ 5-28 เม.ย.นี้

      นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยผลการประชุม กทค. นัดพิเศษว่า ที่ประชุมมีมติกำหนดวันประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz รอบใหม่ในวันที่ 24 มิ.ย. 59 โดยเปิดขายซองประกวดราคาช่วงวันที่ 13 พ.ค. -12. มิ.ย.59 และเปิดให้ยื่นซองประกวดราคาในวันที่ 13 มิ.ย.59

     สำหรับ ราคาตั้งต้นการประมูล กำหนดไว้ที่ 75,654 ล้านบาทซึ่งเป็นราคาเท่ากับแจส โมบายฯ ชนะประมูลครั้งที่แล้วก่อนที่จะทิ้งใบอนุญาต โดยกำหนดให้เคาะราคาในแต่ละรอบ 152 ล้านบาท หรือ 0.2% ของราคาตั้งต้น

     "เราอยากเปลี่ยนแปลงตัวเลขให้ต่ำลงกว่านั้นเพื่อให้มีคนเข้ามาประมูลแข่งขัน แต่สำนักงาน กสทช.ไม่สามารถทำอย่างนั้น เราขอยืนยันตัวเลข 75,654 ล้านบาท กสทช.ต้องปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ" เลขาธิการ กสทช.กล่าว

    ทั้งนี้ หากมีผู้เข้าร่วมประมูลรายเดียวแล้วเคาะประมูลครั้งแรกยืนยันราคาตั้งต้นที่ 75,654 ล้ายบาทก็จะเป็นผู้ชนะการประมูลทันที แต่หากมีผู้เข้าร่วมประมูล 2 หรือ 3 ราย จะประกาศผู้ชนะประมูลอันดับที่ 1 ผู้ชนะอันดับที่ 2 หรือ ผู้ชนะอันดับที่ 3 โดยหากผู้ชนะประมูลอันดับที่ 1 ไม่มาชำระเงินก็ให้เรียกผู้ชนะประมูลอันดับที่ 2 เป็นผู้รับใบอนุญาตแทนทันที เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต้องมาจัดการประมูลใหม่ หรือหากอันดับถัดไปมีผู้เสนอราคาเท่ากัน กทค.ก็จะออกประกาศเพิ่มเติม

     อย่างไรก็ตาม หากไม่มีผู้ใดยื่นเสนอราคาประมูลเลย ตามมติ กทค.เดิมระบุว่า ให้เก็บคลื่นไว้ 1 ปีค่อยนำออกมาประมูล แต่ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงจากมติ กทค.เดิมก็ได้

     "ต้องรอให้เหตุการณ์เกิดขึ้นก่อน ถ้าไม่มีใครมาประมูล ก็ค่อยๆดูไปทีละ step ขอให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นก่อน"นายฐากร กล่าว

     กทค.จะเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับราคาตั้งต้นในวันที่ 22 เม.ย.นี้ ที่สโมสรกองทัพบก โดยจะเปิดให้แสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซด์ของกสทช.ในระหว่างวันที่ 5-28 เม.ย.59 อย่างไรก็ดี คาดว่าจะส่งร่างประกาศหลักเกณฑ์การจัดประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz รอบใหม่ส่งไปลงราชกิจจานุเบกษาได้ในวันที่ 12 พ.ค.นี้

       พร้อมกำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลวางหลักประกัน 5%ของราคาตั้งต้นประมูล.75,654 ล้านบาท หรือคิดเป็นเงิน 3,783 ล้านบาท เป็นแบงก์การันตี แต่คงเงื่อนไขการชำระเงินค่าประมูลเหมือนเดิม คือจ่าย 4 งวด โดยปีแรก จ่าย 8,040 ล้านบาท ปีที่ 2 จ่าย 4,020 ล้านบาท ปีที่ 3 จ่าย 4,020 ล้านบาท และปีที่ 4 จ่ายส่วนที่เหลือ

     ส่วนความรับผิดชอบของผู้เข้าร่วมประมูลหากชนะประมูลแล้วทิ้งใบอนุญาตจะให้จ่ายค่าเสียหาย 15,131 ล้านบาท หรือเท่ากับ 20% ของราคาตั้งต้น ซึ่งเป็นการริบเงินประกัน 3,783 ล้านบาท และให้เรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมอีก 11,348 ล้านบาท

     เลขาธิการ กสทช. กล่าวอีกว่า ในช่วงเช้าได้มีการประชุมคณะทำงานพิจารณาความรับผิดชอบกรณีแจส โมบายฯ ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการดำเนินการก่อนรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz โดยได้มีมติเรียกผู้บริหารแจส โมบายฯ มาชี้แจงต่อคณะทำงานในวันที่ 5 เม.ย.นี้. เวลา 15.00 น. ซึ่งได้ส่งคำถามไปให้แจสฯรับทราบเพื่อเตรียมข้อมูลมาชี้แจงและเอกสารที่เกี่ยวข้องมาให้คณะทำงานตรวจสอบด้วย

      "เราได้ทำหนังสือเชิญแจสไปแล้ว และเขาก็ตอบรับแล้ว เขาคงมาอยู่แล้ว เพราะตั้งแต่เกิดเรื่องเขายังไม่ได้แถลงข่าว เขาต้องมาเคลียร์ สิ่งที่เกิดขึ้นว่าไม่จ่ายเพราะมีเงื่อนไขอะไร" นายฐากร กล่าว

    อนึ่ง คณะทำงานฯ ประกอบด้วย นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อธิบดีอัยการ, สำนักงานคดีปราบปรามทางทุจริต, สำนักงานอัยการสูงสุด, ตัวแทนจากกระทรวงการคลัง, สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.), ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.), รองเลขาธิการ กสทช.สายงานกิจการโทรคมนาคม และรองเลขาธิการ สายงานกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยมีเลขาธิการ กสทช.เป็นที่ปรึกษาคณะทำงาน

     อินโฟเควสท์

กทค.นัดพิเศษบ่ายนี้ถกเกณฑ์ประมูลใหม่คลื่น 900MHz ข้อเสนอราคาตั้งต้น 7.56 หมื่นลบ.-เพิ่มบทลงโทษผู้ทิ้งใบอนุญาต

    รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า สำนักงานฯ นัดประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) นัดพิเศษ ครั้งที่ 3/2559 บ่ายวันนี้ เพื่อพิจารณาวาระเรื่องร่างประกาศหลักเกณฑ์การจัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ในชุดคลื่นความถี่ที่เหลืออยู่ ซึ่งเป็นเรื่องหลักที่สำคัญยิ่งและต้องเร่งดำเนินการ

       วาระเรื่องร่างประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่สำนักงาน กสทช. เตรียมนำเสนอเพื่อให้ที่ประชุมพิจารณา มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์เดิมที่ใช้ในการจัดประมูลคลื่นครั้งที่แล้วหลายประเด็น กล่าวคือมีการกำหนดราคาตั้งต้นการประมูลไว้ที่ราคา 75,654 ล้านบาท เท่ากับราคาที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ชนะประมูลก่อนที่จะทิ้งใบอนุญาตจนนำมาสู่การจัดประมูลใหม่

     การเคาะราคาประมูลในแต่ละรอบจะเพิ่มขึ้น 161 ล้านบาท หรือประมาณ 1% ของมูลค่าคลื่นที่เคยประเมินไว้ 16,080 ล้านบาท พร้อมทั้งกำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลวางหลักประกันหรือแบงก์การันตีจำนวน 8,040 ล้านบาท หรือกึ่งหนึ่งของมูลค่าคลื่นที่เคยประเมิน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ชนะการประมูลคลื่นที่ได้ชำระเงินแล้วเข้าร่วมประมูลครั้งนี้ด้วย ขณะที่ข้อกำหนดการชำระเงินยังให้แบ่งจ่ายเป็น 4 งวดเหมือนหลักเกณฑ์เดิม

    นอกจากนี้ ยังเสนอให้กำหนดมาตรการลงโทษในกรณีที่ผู้ชนะการประมูลทิ้งสิทธิการได้รับใบอนุญาต โดยจะถูกริบหลักประกันการประมูลและต้องชำระค่าเสียหายเบื้องต้นเพิ่มเติม รวมทั้งขึ้นบัญชีดำซึ่งครอบคลุมทั้งผู้ชนะการประมูลและผู้ที่มีความเกี่ยวโยงกันในลักษณะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม การถือหุ้นไขว้ โดยจะไม่สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตใช้คลื่นและประกอบกิจการโทรคมนาคมได้ต่อไป จนกว่าคณะกรรมการจะพิจารณาเป็นอย่างอื่น

     กรณีที่ผู้ชนะประมูลทิ้งใบอนุญาตนั้น กทค.จะให้สิทธิการได้รับใบอนุญาตแก่ผู้เข้าร่วมการประมูลที่เสนอราคาสุดท้ายที่ต่ำกว่าในลำดับถัดไปเป็นผู้ชนะการประมูลแทน แต่หากมีผู้เข้าร่วมการประมูลเพียง 1 รายก็ให้ดำเนินการประมูลตามกระบวนการต่อไป หากไม่มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูล ร่างหลักเกณฑ์ระบุว่าคณะกรรมการสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการประมูล และจะพิจารณากำหนดการประมูลครั้งต่อไปตามเหมาะสม

    รายงานข่าวจาก กสทช.ระบุว่า ในการร่างหลักเกณฑ์เพื่อจัดประมูลใหม่นี้ มีข้อสังเกตว่า มีการกำหนดมาตรการลงโทษผู้ชนะการประมูลที่ทิ้งสิทธิการได้รับใบอนุญาตไว้ค่อนข้างเข้มงวด เพื่อป้องกันปัญหาซ้ำรอยอย่างเช่นในกรณีบริษัทแจสฯ แต่ก็มีข้อน่าห่วงใยว่าอาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงได้ นั่นคือการกำหนดราคาตั้งต้นการประมูลในราคาเดียวกันกับแจส โมบายฯ ชนะการประมูล และสูงกว่าราคาสุดท้ายที่ผู้เข้าร่วมประมูลครั้งที่แล้วทุกรายเสนอ ซึ่งอาจกลายเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ไม่มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูล จนเป็นเหตุให้เกิดการชะลอการจัดสรรคลื่นความถี่ดังกล่าวออกไป ก็จะยิ่งสร้างความเสียหายให้กับทุกฝ่ายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ประเทศต้องการพัฒนาบนฐานเศรษฐกิจดิจิตอล

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!