- Details
- Category: กสทช.
- Published: Thursday, 24 September 2015 09:07
- Hits: 8256
กสทช.เรียก AIS เคลียร์ กรณีประกาศสิ้นสุดให้บริการ 2G หวั่นทำปชช.เข้าใจผิด ชี้ยังใช้ได้จนกว่าจะประมูลคลื่น 900MHz เสร็จสิ้น
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช. ได้เรียก บมจ.แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) หรือ เอไอเอส เข้าชี้แจง เพื่อสอบถามกรณีเอไอเอสออก ประกาศสิ้นสุดการให้บริการเครือข่าย AIS 2G (GSM Advance และ 1-2-Call 2G) บนคลื่น ความถี่ 900 MHz ซึ่งเอไอเอสได้อ้างว่า สัญญาสัมปทานที่เอไอเอสทำกับทีโอทีนั้น จะหมดอายุในวัน ที่ 30 กันยายน 2558 และให้ประชาชนที่ใช้เลขหมายของเอไอเอส 2G อัพเกรดเป็น AIS 3G ซึ่ง เอไอเอสได้ส่งข้อความสั้น (SMS) และโทรศัพท์หาลูกค้า ส่งผลให้ผู้ใช้บริการเอไอเอส 2G บาง ส่วนเกิดความเข้าใจคาดเคลื่อน และได้ไปติดต่อขอเปลี่ยนซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือเป็น 3G ทั้งที่ไม่ได้ ต้องการใช้งาน 3G ขณะที่ผู้ใช้บริการบางส่วนไม่สามารถใช้ซิมการ์ดในระบบ 2G ได้ด้วย
เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า เอไอเอสจะต้องให้บริการเครือข่าย 2G จนกว่าการประมูลคลื่น ความที่ย่าน 900 MHz จะเสร็จสิ้นและได้ผู้ให้บริการรายใหม่ ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2558 เป็นต้นไป จะเข้าสู่มาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 900 MHz ของเอไอเอสที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานลงในวันที่ 30 กันยายน 2558 ซึ่งตามมาตรการเยียวยาดังกล่าว ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 900 MHz ของเอไอเอส เครือข่าย 2G ก็ยังคงสามารถ ใช้บริการได้เหมือนเดิม
หากอนาคตการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz เสร็จสิ้น ผู้ใช้บริการก็มีสิทธิเลือกได้ว่าจะเปลี่ยนไปใช้ 3G หรือยังคงใช้ 2G เช่นเดิม กรณีที่จะใช้ระบบ 2G หากผู้ให้บริการรายใหม่ไม่ได้ให้บริการ ในระบบดังกล่าว ผู้ใช้บริการก็สามารถย้ายค่ายโทรศัพท์มือถือไปยังผู้ให้บริการอื่นที่ให้ บริการระบบ 2G ได้
"ผมขอย้ำว่าประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 900 MHz ในระบบ 2G ของเอไอ เอส ยังคงสามารถใช้บริการได้ตามปกติไปจนกว่าจะได้ผู้ให้บริการรายใหม่จากการ ประมูลคลื่น 900 MHz ส่วนอนาคตเป็นเรื่องของผู้ใช้บริการว่าต้องการใช้เครือข่ายเอไอเอสเหมือน เดิม หรือ ย้ายค่ายใหม่ ถ้าเอไอเอสจะไม่มี 2G" นายฐากร กล่าว
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
3 ค่ายมือถือรับซองประมูลคลื่น 900 MHz 'กสทช.'จ่อถก'เลื่อนวัน'ชี้ขาด 15 ตค.
แนวหน้า : ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 08.30 น. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) เปิดให้ผู้ประกอบการเข้ารับเอกสารประมูลใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)และลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมชี้แจงการกรอกแบบคำขอใบอนุญาต โดย นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ในวันนี้มีผู้มารับเอกสารประมูล 6 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัท ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส 2.บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด และบริษัท ดีแทค บรอดแบรนด์ จำกัด ในเครือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค 3. บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ในเครือบริษัท 5.บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด ในเครือ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และ 6.บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด
อย่างไรก็ตาม จะมายื่นเอกสารกับ กสทช. ในวันที่ 22 ต.ค.58 สำหรับกำหนดการในการประมูลคลื่นความถี่ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค) จากกำหนดระยะเวลาเลื่อนให้เร็วขึ้นกว่ากำหนดเดิมในวันที่ 15 ธันวาคม โดยมีความเป็นไปได้ที่จะเลื่อนมาประมูลในห้วงเวลาเดียวกันกับการประมูลคลื่นย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ โดยจะมีความชัดเจนภายในวันที่ 15 ต.ค.นี้
ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. จะยังคงเปิดให้รับเอกสารคำขอรับใบอนุญาต (เอกสารการประมูล) และลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการประชุมชี้แจงและให้คำปรึกษาในการกรอกแบบคำขอรับใบอนุญาตได้จนถึงวันที่ 21 ต.ค.58 ตั้งแต่เวลา 8.30–16.30 น. ณ ห้องโถงอาคารอำนวยการ ชั้น 1 หรือสำนักการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม 2 อาคาร 2 ชั้น 3 สำนักงาน กสทช.ถนนพหลโยธิน 8 (ซอยสายลม) กรุงเทพฯ
สำหรับ การประชุมชี้แจงและให้คำปรึกษาการกรอกแบบคำขอรับใบอนุญาต สำนักงานจะจัดขึ้นในวันที่ 9-10 ต.ค.58 ระหว่างเวลา 9.00 – 16.30 น. ณ หอประชุมชั้น 2 สำนักงาน กสทช. หลังจากนั้น ในวันที่ 22 ต.ค.58 จะเปิดให้ยื่นเอกสารคำขอเพื่อเข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ จากนั้นสำนักงานจะดำเนินการพิจารณาคุณสมบัติ และจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติที่มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลภายใน 15 วันนับจากวันยื่นเอกสารคำขอเพื่อเข้าร่วมการประมูล ในส่วนของการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ตามกำหนดเดิมจะจัดขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม 2558 แต่ในขณะนี้ สำนักงาน กสทช. และ กทค. กำลังเตรียมพิจารณาเลื่อนวันประมูลให้เร็วขึ้นอีก ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ ซึ่งจะสามารถนำรายได้จากการประมูลส่งให้กระทรวงการคลังเพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไป
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. จะยังคงเปิดให้รับเอกสารคำขอรับใบอนุญาต และลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการประชุมชี้แจงและให้คำปรึกษาในการกรอกแบบคำขอรับใบอนุญาตได้จนถึงวันที่21 ต.ค.58 ตั้งแต่เวลา 8.30–16.30 น. โดยกระบวนการหลังจากนี้จะเปิดรับยื่นซอง เพื่อแสดงความประสงค์เข้าร่วมประมูลในวันที่ 22 ต.ค.นี้ เพื่อเตรียมการขั้นตอนประมูลต่อไป ซึ่งกำหนดการประมูลอยู่ระหว่างพิจารณาที่จะเลื่อนประมูลให้เร็วขึ้นจะมีความชัดเจนประมาณ 15 วันก่อนประมูลหรือไม่เกิน 15 ต.ค.นี้ ชัดเจนวันประมูลอย่างแน่นอน ซึ่งการเลื่อนให้เร็วขึ้นจะเป็นผลดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ เปิดบริการ 4 จีเร็วขึ้น
อย่างไรก็ตาม การเลื่อนประมูลให้เร็วขึ้นด้วยเหตุผลถ้าประมูลในห้วงระยะเวลาที่ต่างกันนาน อาจจะทำให้บางบริษัทที่ไม่ชนะการประมูลอาจยื่นฟ้องในการประมูลรอบถัดไปได้อาจะกระทบกระบวนการประมูล ซึ่งเป็นข้อมูลนี้มาวิเคราะห์เลื่อนประมูล และมีความเป็นไปได้ที่อาจจะจัดประมูลพร้อมกันทั้งคลื่น 1800 และ 900 MHz ซึ่งจะไม่เกิดความเสียเปรียบได้เปรียบกันของผู้ประมูลและช่วยประหยัดงบประมาณจัดประมูลถึง 70 ล้านบาท ส่วนข้อกังวลการฮั้วประมูล ยืนยันว่า มีการป้องกันการฮั้วประมูลอย่างดีทุกกรณี ทั้งการปรับเปลี่ยนราคาการประมูลหากมีผู้เข้าประมูลน้อยกว่าจำนวนใบอนุญาตและเงื่อนไขอื่นๆ
ส่วนความเคลื่อนไหวทีโอทีที่ออกมาต่อต้านการประมูลคลื่น 900 MHz ยืนยันว่า เป็นการทำหน้าที่ตามกฏหมายในการจัดการคลื่นความถี่และจัดประมูลคลื่นเพื่อนำรายได้ส่งแผ่นดิน หากไม่ประมูลจะเกิดผลเสียหายต่อรัฐ แต่หากมีการฟ้องร้องและมีคำสั่งศาลออกมาเป็นอย่างอื่น กสทช.ก็พร้อมปฏิบัติตามคำสั่งและพร้อมชี้แจงต่อศาล แต่ระหว่างนี้จะยังเดินหน้าตามหน้าที่การจัดสรรคลื่นความถี่ต่อไป ซึ่งเงื่อนไขการใช้คลื่น 900 MHz ของทีโอทีก็มีความชัดเจนแล้วที่เมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานจะต้องคืนคลื่นเพื่อมาประมูลจัดสรรใหม่ โดย กสทช.มั่นใจการทำงานจัดประมูลตามอำนาจหน้าที่ของกฏหมายต่อไป
นายฐากร กล่าวว่า ส่วนการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz นั้น สรุปแล้วว่าจะเปิดประมูลจำนวน 2 ใบอนุญาตๆละ 12.5 MHz ตามเดิมไม่ใช่ใบอนุญาตละ 15 MHz เนื่องจากได้รับแจ้งมาจากบมจ.กสท โทรคมนาคมแล้วว่า ได้หารือเรื่องการคืนคลื่นความถี่ 5 MHz ไปร่วมประมูลกับกสทช.ด้วยนั้น ทางกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้น 100% แจ้งกลับมาว่าการนำคลื่นความถี่ 5 MHz ไปร่วมนั้น จำเป็นต้องมีการแก้สัญญาสัมทปานที่เกี่ยวกับข้องกับคลื่นความถี่ และต้องใช้เวลาดำเนินการราว 3-4 เดือนดังนั้น ประเด็นที่จะให้มีการนำคลื่นไปร่วมประมูลก่อนแล้วค่อยกลับมาแก้ไขสัญญาสัมปทานภายหลวังจึงไม่สามารถทำได้
ร่นประมูลคลื่น 900MHz เร็วขึ้น l แนวโน้มก่อน 15 ธ.ค. l กทค.นัดเคาะอีกรอบ
แนวหน้า : นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ขณะนี้ร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz ) ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2558
ขณะที่ สำนักงาน กสทช. ได้ให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูลมารับเอกสาร และซองประมูลในตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย. ถึง 21 ต.ค. 2558 และกำหนดยื่นซองประมูลในวันที่ 22 ต.ค. 2558 เป็นการเลื่อนกำหนดวันรับซองประมูลเร็วขึ้น 5-6 วัน จากวันที่ประกาศเดิม เพื่อให้ผู้ประมูลมีเวลาเตรียมตัวในเรื่องเอกสาร และตรวจสอบคุณสมบัติผู้ที่จะเข้าร่วมประมูลได้มากขึ้น ประกอบกับร่างประกาศดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเร็วขึ้นเช่นกัน
“โอกาสที่จะเปิดประมูลคลื่น 900 MHz เร็วขึ้นกว่าวันที่ 15 ธ.ค.นั้นมีความเป็นไปได้ โดยก่อนวันที่ 15 ต.ค.นั้นถึงจะรู้วันประมูลที่ชัดเจน หรือหลังมีการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ซึ่งกสทช.ได้ให้อำนาจการตัดสินใจกับ กทค.”
ทั้งนี้ กสทช.ขอย้ำว่าไม่ได้กำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 900 MHz ถูกกว่าการประมูลคลื่นความถี่ 3G ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์(GHz)อย่างที่เป็นข่าวและตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สอบถาม เนื่องจากการประมูลคลื่นความถี่ย่าน1800 MHz ราคาเฉลี่ยเริ่มต้นประมูลอยู่ที่ 530.4 ล้านบาทต่อ 1 MHz และสูงกว่าราคาเฉลี่ยเริ่มต้นการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz (3G) ซึ่งอยู่ที่ 450 ล้านบาทต่อ 1 MHZ อยู่ 80.4 ล้านบาท หรือสูงกว่า 18%
ส่วนการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ราคาเฉลี่ยเริ่มต้นประมูลอยู่ที่ 643.2 ล้านบาทต่อ 1 MHz และสูงกว่าราคาเฉลี่ยเริ่มต้นการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz (3G) ซึ่งอยู่ที่ 450 ล้านบาทต่อ 1MHZ อยู่ 193.2 ล้านบาท หรือสูงกว่า 43%
มีรายงานแจ้งว่า ในส่วนการจัดประมูลใบอนุญาต 4G คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz นั้นกสทช.ยังกำหนดวันประมูลตามกำหนดเดิมคือ ในวันที่ 11พ.ย. 2558 ทั้งนี้ กสทช.คาดว่าจะสามารถออกใบอนุญาตคลื่นความถี่ 1800 MHz และ คลื่นความถี่ 900 MHz รองรับ 4G ได้ทันภายในปีนี้ และจะสามารถให้บริการได้ประมาณต้นปี 2559 สำหรับคลื่นความถี่ 900 MHz เป็นคลื่นที่เอไอเอสให้บริการอยู่ แต่จะหมดอายุสัมปทานในเดือน ก.ย.2558
วิษณุ แนะประมูล 2 คลื่นพร้อมกันเปิดทางทีโอทีฟ้องศาลรักษาสิทธิ์
ไทยโพสต์ : สายลม * 'วิษณุ' แนะกสทช.จัดประมูลคลื่น 900-1800 พร้อมๆ กัน กลัวได้เปรียบเสียเปรียบ พร้อม เปิดทางให้ทีโอทีฟ้องรอศาลตัดสินเรื่องใช้คลื่น 900 ฐากรแย้มปรับเลื่อนการประมูลได้เร็วกว่าเดิม
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 ก.ย.58 ที่ผ่านมา ได้เข้าชี้แจงเรื่องสิทธิของคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ กรณีหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน กับนายวิษณุ เครืองาม รองนายก รัฐมนตรี โดยมีผู้ร่วมรับฟังประ กอบด้วย นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที พล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ประธานกรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และนาย มนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที หลังจากทั้ง กสทช. และทีโอทีได้ชี้แจงแล้ว ทางนายวิษณุได้มีข้อเสนอส่วนตัว ว่าการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะ เฮิรตซ์ ควรที่จะประมูลวันเดียวกัน หรือช่วงเวลาติดๆ กัน เนื่องจากเพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบของผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลคลื่นความถี่ชุดแรกเสร็จสิ้นไปก่อน และจะสามารถช่วยในการขับเคลื่อนประเทศได้อย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม นายวิษณุ ยังสรุปด้วยว่า ได้เตรียมนำความเห็นส่วนตัวรวมกับความเห็นของ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกฯ นำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ในกรณีของทีโอที นายวิษณุชี้แจงว่า จะใช้กระบวนการทางกฎหมายในการฟ้องร้องต่อศาล อ้างสิทธิใช้คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ อยู่กับทีโอทีต่อไป ก็มีความยินดีที่จะดำเนินแนวทางดังกล่าวและให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน
นายฐากร กล่าวเสริมอีกว่า กสทช.สามารถเลื่อนเปิดประมูล คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ได้เร็วจากกำหนดเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 15 ธ.ค.58 เนื่องจากประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นดังกล่าว ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 ก.ย.58 ที่ผ่านมา จึงได้เลื่อนวันเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าประมูลรับเอกสารเร็วขึ้น 4-5 วัน ตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย.-21 ต.ค.58 และวันยื่นซองประมูลเป็นวันที่ 22 ต.ค.58 จากเดิมเปิดให้ยื่นซองในวันที่ 26 ต.ค.58 ส่วนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์นั้น ยังคงดำเนินการตามกรอบระยะเวลาเดิม คือเปิดให้ยื่นซองประมูลในวันที่ 30 ก.ย.58 และเคาะราคาในวันที่ 11 พ.ย.58.