WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Prajin'ประจิน'คาดได้ข้อยุติข้อพิพาทแผนประมูล 4 G คลื่น 900MHz กับทีโอที 25 ก.ย.นี้ ยันเปิดประมูล 15 ธ.ค.58 ตามเดิม

      พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผย ภายหลังการประชุมร่วมกับ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์. และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) และสำนักงาน กสทช.ว่าได้รับคำยืนยันจาก กสทช.ที่จะเดินหน้าประมูลคลื่นความถี่ 4G ตามกรอบเวลาเดิม โดยคลื่นย่าน 1800MHz เคาะราคา ประมูลในวันที่ 11 พ.ย.นี้ และจะมอบใบอนุญาตประกอบกิจการให้แล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย.ส่วน คลื่นย่าน900MHz ก็จะเคาะราคาประมูลวันที่ 15 ธ.ค.58 และมอบใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน เดือน ธ.ค. ทั้งนี้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)

   ในส่วนคลื่น 900MHz ที่ยังมีกรณีพิพาทกับ บมจ.ทีโอที ซึ่งเป็นเจ้าของคลื่น และบมจ.แอดวานซ์ อิน โฟร์ เซอร์วิส(ADVANC)เป็นผู้ได้รับสัญญาสัมปทานและจะหมดอายุสัญญาในวันที่ 30 ก.ย.58 จะนำ คลื่นไปให้กสทช.เปิดประมูลนั้น ทางสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทีโอทีไม่เห็นด้วยและเตรียมฟ้องต่อ ศาล พล.อ.อ.ประจิน และนายอุตตม สาวกยน รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ได้นัดหารือกับทีโอที รวมทั้ง บมจ.กสท.โทรคมนาคม(CAT)ในวันพรุ่งนี้ และในวันที่ 18 ก.ย.นี้ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 25 ก.ย.58 จากนั้นจะเสนอต่อครม.ให้ทันภายในเดือน ก.ย.นี้

   ส่วนกรณีของ CAT นั้นได้คืนคลื่นจำนวน 4.8 MHz ให้ กสทช.อย่างไม่มีเงื่อนไขเพื่อนำไปรวม ประมูลในคราวเดียว จะทำให้จะมีจำนวนคลื่น 30 MHz แบ่งเป็นใบอนุญาตละ 15MHz จากที่ ประกาศก่อนหน้าที่ระบุใบอนุญาตจะมีจำนวน 12.5 MHz /ใบ โดยจะหารือว่าจะต้องแก้ไขสัญญา สัมปทานอย่างไรให้เร็วก่อนที่จะมอบคลื่นได้ ทันเดือน พ.ย.นี้ และอาจจะนำเสนอให้ ครม.ให้ความ เห็นชอบ หรือรมว.ไอซีทีมีอำนาจดำเนินการได้เองหรือไม่

   พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ในส่วนที่เหลืออีก 20 MHz สำหรับคลื่น 1800MHz ของ CAT นั้น ยังมี ใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่จะหมดอายุสัญญาในปี 61 ส่วนใบอนุญาตประกอบกิจการจะหมดอายุในปี 68 ซึ่งไม่สอดคล้องกันนั้นจะมีการหารือเพื่อหาทางออก ซึ่งต้องศึกษาและทำความเข้าใจรวมถึงผล กระทบก่อน อย่างไรก็ดีเมื่อหมดอายุแล้วก็จะต้องคืนคลื่นให้กับ กสทช.เพื่อนำไปประมูลต่อไป

     ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ เลขาธิการสำนักงาน กสทช. กล่าวว่า กสทช.จะยังคงกำหนดการการเปิด ประมูลคลื่น 900 MHz ในวันที่ 15 ธ.ค.58 จะไม่เลื่อนขึ้นเร็ว หรือเลื่อนช้าออกไป ยกเว้นแต่จะมี คำสั่งศาลให้ชะลอการประมูลออกไป ซึ่งทาง กสทช.ก็จะต้องทำตามคำสั่งศาล

  ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการ กสทช.จะพิจารณาร่างหลักเกณฑ์ประกวดราคาคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และเมื่ออนุมัติแล้วจะลงประกาศราชกิจจานุเบกษาก่อนวันที่ 23 ก.ย.นี้ ทั้งนี้ การดำเนิน งานยังคงเป็นไปตามกรอบระยะเวลาเดิม

   นอกจากนี้ กสทช.ยังได้รายงานภาพรวมว่าปัจจุบันที่มีคลื่นความถี่ย่าน 400-2600 MHz ที่มีหลาย หน่วยงานเป็นเจ้าของ โดยต้องการให้รัฐบาลได้นำไปพิจารณาและตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับคลื่น ความ ถี่ที่มีอยู่แต่ไม่ได้ใช้งาน นอกจากนี้ก็ยังจะสานต่อโครงการเศรษฐกิจดิจิตัลต่อไ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

กสทช. หนุนเดินหน้าประมูลคลื่น 900 MHz กลาง ธ.ค.นี้ ตามที่ ครม.อนุมัติ

      กสทช. หนุนจัดประมูลคลื่น 4G ย่าน 900 MHz วันที่ 15 ธันวาคม ตามที่ ครม. เห็นชอบ ชี้หากเลื่อนมาจัดใกล้กัน จะเพิ่มความเสี่ยงการฮั้วประมูล ทำรัฐได้ประโยชน์น้อยลง

    นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา สำนักงานคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เปิดเผยถึง กรณีที่คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันเห็นชอบให้ กสทช. จัดประมูล คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz วันที่ 15 ธ.ค. 2558 ซึ่งจะเป็นการจัดภายหลังการจัดประมูลคลื่นความ ถี่ย่าน 1800 MHz เป็นเวลาเดือนเศษว่า  การกำหนดวันจัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ห่างจากการจัดประมูลคลื่น 1800 MHz น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการจัดประมูลในช่วงเวลา ใกล้กัน

   เนื่องจากหากมีการจัดประมูลคลื่นความถี่ทั้งสองในช่วงเวลาใกล้กันก็เท่ากับ จะมีจำนวนใบ อนุญาตรวมกัน 4 ใบอนุญาต คือคลื่นความถี่ย่านละ 2 ใบอนุญาต ก็จะทำให้เสี่ยงกับมีจำนวนคลื่น มากกว่าหรือเท่ากับจำนวนผู้เข้าร่วม ประมูล ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดการแข่งขันด้านราคา ประกอบกับ ราคาเริ่มต้นที่กำหนดไว้นั้นก็กำหนดไว้ที่อัตราเพียงร้อยละ 80 ของราคาที่ประเมินได้เท่านั้น หากไม่ เกิดการแข่งขันจึงย่อมจะส่งผลให้รัฐสูญเสียรายได้จากการประมูลอย่าง แน่นอน และที่สำคัญคือ การ ประมูลในเวลาใกล้เคียงกันอาจทำให้เกิดพฤติกรรมสมยอมหรือฮั้วประมูลกันได้ หากมีการตกลงแบ่ง คลื่นความถี่กันในระหว่างผู้เข้าร่วมการประมูล

   "ส่วนตัวผมยืนยันมาตลอดว่า การประมูลควรจัดในลักษณะ Multi-band Auction คือจัดประมูล คลื่นทั้งสองย่านพร้อมกัน แต่เมื่อไม่เลือกแนวทางนั้น ผมก็สนับสนุนให้จัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และย่าน 900 MHz ห่างกันสักระยะเวลาหนึ่ง เพื่อป้องกันการฮั้วราคา โดย การฮั้วกันหรือ การตกลงกันจะเกิดขึ้นยากกว่า เพราะไม่มีผู้เข้าประมูลรายใดอยากได้คลื่นไปทีหลัง ซึ่งจะทำให้เสีย เปรียบและอาจต้องเผชิญความเสี่ยงว่าการประมูลครั้งต่อไปจะ ประสบอุปสรรคจนสะดุดหยุดลงหรือ ไม่ อีกประการหนึ่งกำหนดวันประมูลของคลื่นย่าน 1800 MHz ขณะนี้กำหนดไว้แล้วเป็นวันที่ 11 พ.ย. 58  ส่วนคลื่นย่าน 900 MHz ตามที่กำหนดไว้เดิม คือ วันที่ 15 ธันวาคม ซึ่งมีการรายงานต่อคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไว้ แล้วด้วย หากจะเปลี่ยนโดยพลการย่อมไม่ สมควร" นายประวิทย์ กล่าว

   นายประวิทย์กล่าวด้วยว่า การจัดประมูลห่างกันน่าจะทำให้รัฐได้ประโยชน์จากการที่เอกชนสู้ราคา ประมูล กัน ขณะที่ผู้บริโภคก็ไม่ได้เสียประโยชน์อะไร นอกจากนี้ หากจัดประมูลห่างกัน ถ้าเกิดปัญหา ทางเทคนิคหรือข้อติดขัดในการจัดประมูลคลื่น 1800 MHz  ก็จะมีโอกาสปรับปรุงแก้ไขในการจัด ประมูลคลื่นย่าน 900 MHz ได้ แต่ถ้าจัดติดต่อกันหรือห่างกันเพียงไม่กี่วัน ก็คงไม่สามารถแก้ไขปัญหา ใดๆ ได้ทัน และในส่วนลำดับการประมูลก็ควรเป็นไปตามลำดับการสิ้นสุดสัมปทาน ซึ่งคลื่นย่าน 1800 MHz สิ้นสุดก่อนย่าน 900 MHz ถึง 2 ปี และกระบวนการเตรียมการจัดประมูลคลื่นย่าน 1800 MHz ก็เสร็จสิ้นก่อน จึงไม่มีเหตุผลใดที่เร่งให้คลื่นย่าน 900 MHz มีการประมูลก่อน

    อย่างไรก็ตาม นายประวิทย์ยังแสดงความเป็นห่วงเรื่องการสิ้นสุดระยะเวลาการให้บริการของผู้ ให้ บริการรายเดิมในคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz เนื่องจากว่าจนบัดนี้ยังไม่พบว่ามีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ ใช้บริการทราบเท่า ที่ควร แม้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ภายหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดจะมีการประกาศใช้ มาตรการเยียวยาไประยะหนึ่ง แต่กระนั้นก็เห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้ใช้บริการต้องเร่งโอนย้ายออก จากระบบ ซึ่งแน่นอนว่าหากจัดประมูลเร็วขึ้นอีก 1 เดือน การดำเนินการดังกล่าวก็จะยิ่งยากลำบาก ขึ้น เนื่องจากในการที่ผู้ให้บริการจะยุติบริการ ตามกฎหมายกำหนดว่าจะต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบ ล่วงหน้าอย่างน้อย 90 วัน

   อนึ่ง คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันเห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) จัดประมูล คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz วันที่ 15 ธ.ค. 2558 ซึ่งจะเป็นการจัดภายหลังการจัดประมูลคลื่นความ ถี่ย่าน 1800 MHz เป็นเวลาเดือนเศษ โดยเหตุผลที่มีการกำหนดระยะเวลาการประมูลห่างจากกัน ก็เพื่อ จะทำให้มีการแข่งขันราคากันเต็มที่  ในขณะที่ถ้าจัดใกล้กันจะเหมือนการเสนอขายของในจำนวนที่มากกว่าคนซื้อ การแข่งขันก็จะไม่เกิด

   อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี เคยแนะนำให้ประมูลทั้ง 2 ย่านคลื่นความถี่เร็วที่สุด เพื่อช่วยขับเคลื่อน เศรษฐกิจ แนวคิดที่จะจัดประมูลในช่วงเวลาใกล้กันจึงเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประมูลวันเดียวกันโดย แบ่งเช้า-บ่าย ประมูลถัดจากกัน 1 วัน รวมไปถึงการมีแนวคิดที่ฉีกออกไปอีกว่า อาจจะจัดประมูล คลื่นย่าน 900 MHz ก่อนการจัดประมูลคลื่นย่าน 1800 MHz

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

 'ประจิน'ถก'ไอซีที'เคลียร์ข้อพิพาท ขีดเส้น 18 ก.ย.58 แจง'ประยุทธ์'

       แนวหน้า : ผู้สื่อข่าวรายงานจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า  เมื่อเวลา 10.00 น. พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เดินทางมาหารือกับพลอากาศเอกธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. และกรรมการกสทช. เพื่อหารือถึงแนวทางดำเนินงานร่วมกันด้านการจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการ 4G ซึ่งสอดคล้องต่อการดำเนินงานเศรษฐกิจดิจิตอล และเป็นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีของประเทศไทย

       พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า การเดินทางมาวันนี้เพื่อมารับทราบแผนการดำเนินงานการจัดสรรคลื่นความถี่ของ กสทช. และแผนการดำเนินงานในการประมูล 4G บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ของ กสทช. ที่จะจัดให้มีการประมูลขึ้นในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ในส่วนการหารือเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) นั้น ไม่ว่าจะเป็นคลื่น 900 MHz  ภายใต้สัญญาร่วมการงานระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 30 กันยายน 2558 นี้ ยังไม่ได้มีแนวทางอะไรที่จะเสนอกับกสทช.

     "วันนี้ เราแค่มารับทราบแผนการดำเนินงานต่างๆ ของ กสทช. เพราะเรายังไม่รู้เกี่ยวกับแผนงานต่าง ซึ่งก็จะมาดูแนวทางการประมูลคลื่น 4G ที่จะมีขึ้นในเร็วๆนี้ ส่วนเรื่องคลื่นของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจยังไม่มีแผนใดๆ ที่จะเสนอกสทช.ส่วนของผมเองไม่ขัดข้องต่อกำหนดการประมูลคลื่นของกสทช.เลย ดังนั้นในวันนี้ (15 ก.ย.) จะมีการพูดคุยกันในปัญหาที่มีความเกี่ยวพันกับคลื่นความถี่1800 และ 900 MHz  และในวันที่ 18 ก.ย.นี้จะเอาเสนอของทีโอทีและ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ทั้งคลื่น 5 MHz ที่จะไปรวมในการประมูล 1800 เป็นใบอนุญาตละ 30 MHz  ส่วนเรื่องย่าน 900 นั้น ก็จะหารือหาทางออกก่อนที่ทีโอทีจะดำเนินการไปฟ้องศาล" รองนายกฯ กล่าว

      พล.อ.อ.ประจิน เสริมว่า โดยส่วนตัวต้องมองว่าการดำเนินการเรื่องคลื่นความถี่ก็เป็นมุมมองของหลายฝ่ายซึ่งต่างกันชัดเจนคือทั้ง กสทช. เพราะตามที่หารือก็เข้าใจว่า มีรัฐวิสาหกิจถือใบอนุญาต 2 ใบคือใบอนุญาตประกอบกิจการซึ่งจะสิ้นสุดปี 2568 และใบอนุญาตใช้งานคลื่นความถี่สิ้นสุดปี 2561 ซึ่งหากกรอบเวลาใดสิ้นสุดลงก็ต้องหมดลงไม่สามารถต่ออายุได้ ดังนั้น กฎหมายก็ให้สิทธิอำนาจกสทช.เป็นผู้จัดสรรความถี่ที่สิ้นสุดลง แต่ในมุมมองของผู้บริหารรัฐวิสาหกิจและสหภาพแรงานเองนั้นก็ต้องการคลื่นความถี่เอาไว้หล่อเลี้ยงพนักงานกว่า 25,000 คน ดังนั้นก็ต้องหารือทางออกให้ดีที่สุด ซึ่งกำหนดว่าในวันที่ 18 ก.ย.นี้ อยากให้ข้อพิพาททุกอย่างมีทางออก เพื่อจะได้เสนอแนวทางโรดแมพการจัดสรรคลื่นทุกย่านความถี่และเสนอต่อพล.อ.ประยุทธ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรีโดยเร็วที่สุด

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!