- Details
- Category: กสทช.
- Published: Sunday, 26 July 2015 08:49
- Hits: 2649
‘หมอลี่’แนะตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาคุมเนต รับ‘กสทช.-ไอซีที’เอาไม่อยู่
แนวหน้า : ‘หมอลี่’แนะตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาคุมเนต รับ‘กสทช.-ไอซีที’เอาไม่อยู่ ชี้จำนวนเว็บไซต์มีเยอะมาก
เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2558 มีการเสวนา“เวทีระดับชาติว่าด้วยการอภิบาลอินเตอร์เนตของไทย” ที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า การกำกับดูแลอินเตอร์เนตในเวลานี้เป็นหน้าที่ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ที่จะคอยปิดเว็บไซต์ตามที่มีหมายศาล หรือกรณีร้องเรียนเรื่องเนื้อหาไม่เหมาะสมมา รวมทั้งดูแลเรื่องมาตรฐานเทคนิคต่างๆ ส่วนเรื่องการกำกับดูแล ผู้ให้บริการอินเตอร์เนตหรือไอเอสพี) เป็นหน้าที่ของ กสทช. ในเรื่องขอใบอนุญาตและขอความร่วมมือต่างๆ
“การที่ประเทศไทยที่มีขอบเขตงานที่คาบเกี่ยวกันของ 2 หน่วยงานในแง่การกำกับดูแล จึงอาจทำได้ไม่เต็มที่ ต่างจากในประเทศอื่นๆ ที่การกำกับดูแลอินเตอร์เนตในทั้งสองเรื่องมาจากหน่วยงานเดียวกัน จึงทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานมากกว่า”
ทั้งนี้ หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบดังกล่าวในอนาคตอันใกล้อีก ไม่เกิน 10 ปี จะเกิดปัญหาการเข้าเว็บไซต์ที่ล่าช้า เนื่องจากในแต่ละวันมีเว็บไซต์ใหม่ๆเกิดขึ้นแทบทุกวัน ในขณะที่เว็บไซต์เก่าๆ ที่ปิดตัวลงเอง หรือโดนปิดตัว ก็ยังมีรายชื่อค้างอยู่ในระบบพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (เซิร์ฟเวอร์) ต่างๆ จนทำให้เซิร์ฟเวอร์ทำงานหนักในการค้นหาและเชื่อมต่อ เว็บไซต์ต่างๆ
ขณะเดียวกัน หน่วยงานรัฐที่จะมาทำหน้าที่กำกับดูแลทั้งหมด ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังร่างอยู่นั้น เบื้องต้นมีแนวโน้มว่าจะโอนย้ายขอบเขตงานในการดูแลมาอยู่ที่ กสทช. โดยหากเป็นเช่นนี้จริง ยอมรับว่า กสทช. ในเวลานี้ยังไม่มีความพร้อมเช่นกัน เพราะการกำกับดูแลอินเตอร์เนตจะทำได้ยากกว่า โทรคมนาคม วิทยุ และโทรทัศน์ เนื่องจากมีจำนวนไอเอสพี และผู้เปิดใช้งานเว็บไซต์เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากต้องดำเนินการจริงคงต้องใช้ระบบการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน และสร้างทีมเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในเรื่องดังกล่าวในการดูแลเนื้อหาจำนวนมาก
นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. กล่าวว่าในการกำกับดูแลการใช้งานอินเตอร์เนต ปัจจุบันรัฐบาลได้มีการหน่วยงานที่มากำกับดูแลอินเตอร์เนตและ โดยมี สพธอ. เป็นหน่วยงานหลัก โดยหน้าที่ประกอบด้วย การดูแลความปลอยภัยทางไซเบอร์ เช่น ไวรัส หรือภัยคุกคามต่างๆ ดูแลป้องกันการคุมคามข้อมูลส่วนบุคคล การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และมาตรฐานทางเทคนิคต่างๆ
ทั้งนี้ การกำกับดูแลอินเตอร์เนต หากชุดกฎหมายเศรษฐกิจดิจิตอลผ่าน จะมีคณะอนุกรรมการอภิบาลอินเตอร์เนต ที่เป็นกรรมการย่อยของคณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(ดีอี) มาดูแลงาน ในเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นกัน
จี้ตั้งเจ้าภาพคุมอินเทอร์เน็ตกสทช.ชี้มีปัญหากำกับดูแลคาดภายใน 10 ปีป่วนกว่านี้
ไทยโพสต์ : สามย่าน *กสทช.ชง ขอรัฐตั้งหน่วยงานเดียวคุมอินเทอร์เน็ต ชี้กำกับดูแลได้ไม่เต็มที่เหตุขอบเขตงานคาบเกี่ยวไอซีที
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการโทรคม นาคม (กทค.) กสทช. เปิดเผย ในเวทีระดับชาติว่าด้วยการ อภิบาลอินเทอร์เน็ตของไทย ว่าในการกำกับดูแลอินเทอร์ เน็ตในเวลานี้ ในเรื่องของเนื้อ หาเป็นหน้าที่ของกระทรวงเทค โนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ที่จะคอยปิดเว็บไซต์ตามที่มีหมายศาลร้องเรียนเรื่องเนื้อหาไม่เหมาะสมมา และดูแลเรื่องมาตรฐานเทคนิคต่างๆ ส่วนในเรื่องการกำกับดูแลผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) เป็นหน้าที่ของ กสทช. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องขอใบอนุญาตและขอความร่วมมือต่างๆ ซึ่งการที่ประเทศไทยมีขอบเขตงานที่คาบเกี่ยวกันของ 2 หน่วยงาน ในแง่การกำกับดูแลจึงอาจทำได้ไม่เต็มที่ ต่างจากในประเทศอื่นๆ ที่การกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตในทั้ง 2 เรื่องมาจากหน่วยงานเดียวกัน จึงทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานมากกว่า
อย่างไรก็ตาม หากยังไม่ มีการเปลี่ยนแปลงระบบดังกล่าว ในอนาคตอันใกล้อีกไม่เกิน 10 ปี จะเกิดปัญหาการเข้าเว็บไซต์ที่ล่าช้า เนื่องจากในแต่ละวันมีเว็บไซต์ใหม่ๆ เกิดขึ้นแทบทุกวัน ในขณะที่เว็บไซต์เก่าๆ ที่ปิดตัวลงเอง หรือโดนปิดตัว ก็ยังมีรายชื่อค้างอยู่ในระบบพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (เซิร์ฟเวอร์) ต่างๆ จนทำให้เซิร์ฟเวอร์ทำงานหนักในการค้นหาและเชื่อมต่อเว็บไซต์ต่างๆ
นายประวิทย์ กล่าวว่า ในส่วนของหน่วยงานรัฐที่จะมาทำหน้าที่กำกับดูแลอินเทอร์เน็ตในภาพรวมทั้งหมด ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังร่างอยู่นั้น เบื้องต้นมีแนวโน้มว่าจะโอนย้ายขอบ เขตงานในการดูแลอินเทอร์เน็ตทั้งหมดมาอยู่ที่ กสทช. ทั้งนี้ หากเป็นเช่นนี้จริง ยอมรับว่า กสทช. ในเวลานี้ยังไม่มีความพร้อมเช่นกัน เพราะการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตจะทำได้ยากกว่า โทรคมนาคม วิทยุ และ โทรทัศน์ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตมีจำนวนไอเอสพี และผู้เปิดใช้งานเว็บไซต์เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากต้องดำเนินการจริงคงต้องใช้ระบบการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน และสร้างทีมเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในเรื่องดังกล่าวในการดูแลเนื้อหาจำนวนมาก
ด้านนางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอ นิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. กล่าวว่า ในการกำกับดูแลการใช้งานอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันรัฐบาลได้มีหน่วยงานที่ มากำกับดูแลอินเทอร์เน็ตและ โดยมี สพธอ.เป็นหน่วยงานหลัก โดยหน้าที่ประกอบด้วย การดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ เช่น ไวรัส หรือภัยคุก คามต่างๆ ดูแลป้องกันการคุมคามข้อมูลส่วนบุคคล การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และมาตรฐานทางเทคนิคต่างๆ ทั้ง นี้ในการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต หากชุดกฎหมายเศรษฐกิจดิจิตอลผ่าน จะมีคณะอนุกรรม การอภิบาลอินเทอร์เน็ต ที่เป็น กรรมการย่อยของคณะกรรม การดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ดดีอี) มาดูแลงานในเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นกัน