- Details
- Category: กสทช.
- Published: Sunday, 22 March 2015 19:40
- Hits: 1951
ชี้คลื่น 2600 ไม่เหมาะ 4จี จี้'ไอซีที'วางแผนให้ชัด
ไทยโพสต์ * กสทช.ร่อนหนัง สือถึงทีมนายกฯ แจงคุณสมบัติคลื่น 2600 ไม่เหมาะทำ 4จี
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า เมื่อวัน ที่ 19 มี.ค.58 ที่ผ่านมา สำนักงาน กสทช.ได้ทำหนังสือส่งข้อ มูลเกี่ยวกับรายละเอียดคลื่น ความถี่ในย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ ให้แก่ทีมที่ปรึกษา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หลังจากที่มีการหารือในที่ประชุมคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือบอร์ดดีอี ในการศึกษาความเป็นไปเพื่อจะนำคลื่นความถี่ดังกล่าวมาจัดสรรเพื่อเปิดประมูล 4 จี ร่วมกับคลื่นความถี่เดิมที่ กสทช. มีแผนจะเปิดประมูลอยู่แล้วคือย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำ นวน 25 เมกะเฮิรตซ์ และย่าน 900 จำนวน 20 เมกะเฮิรตซ์
ทั้งนี้ ในหนังสือดังกล่าวได้ชี้แจงว่า ความถี่ 2600 อาจ ไม่เหมาะสมในการเอามาประ มูลทำบริการมือถือ 4จี เพราะความถี่ย่านนี้ใช้เน้นหนักด้านรับส่งข้อมูลเป็นหลัก และมีประสิทธิภาพด้านการใช้งาน ด้านเสียงคุณภาพต่ำ และอุป กรณ์ที่รองรับมีน้อยกว่าคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์
"นอกจากนี้ แม้ในต่างประเทศจะเริ่มใช้นวัตกรรมด้านเสียงบนโครงข่ายแอลทีอี (วอยซ์ โอเวอร์ แอลทีอี) จะเริ่มมีการใช้งานบ้างแล้วในเอเชียบางประเทศ และยุโรป แต่ข้อจำกัดยังเป็นเรื่องของมาตรฐานอุปกรณ์ที่จะใช้รองรับไม่เพียงพอ ซึ่งยังถือ ว่าไม่เป็นที่แพร่หลายเมื่อเทียบกับคลื่นที่กำหนดเอาไว้เดิมคือ 1800 เมกะเฮิรตซ์ หรือแม้กระทั่งย่าน 900 เมกะ เฮิรตซ์ อย่างไรก็ดี ในความเห็นส่วนตัวมองว่า รัฐบาลควรมีความเห็นต่อการพัฒนา 4จี ให้มีความชัดเจนมากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะจะมีผลต่อการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศของเอกชน" แหล่งข่าวกล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า นอก จากนี้ยังมีคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์ ที่สามารถนำมาประมูล 4จีได้ด้วย แต่คลื่นดังกล่าวปัจจุบัน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ถือครองคลื่นความถี่อยู่มากกว่า 64 เมกะเฮิรตซ์ จาก 100 เมกะเฮิรตซ์ และไม่ได้มีการใช้งานแต่อย่างใด ดังนั้นบอร์ด กสทช.มีแผนเรียกคลื่นความถี่ที่มีผู้ประกอบการถือครองมากเกินความจำเป็นมาจัดสรรใหม่ แต่ทีโอทีอ้างกรรมสิทธิ์ในการครอบครองคลื่นเช่นเดียวกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ด้วยมาตรา 84 บทเฉพาะกาลตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553.