WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

โฟกัสกรุ๊ปรอบสาม นักวิชาการพร้อมใจเห็นด้วยการควบรวมทรู ดีแทค พร้อมแย้งผลการศึกษา ของ กสทช 5 ประเด็นที่ ปัดตกโมเดล กสทช ไม่น่าเชื่อถือ นำมาใช้ตัดสินไม่ได้2ce84381125181f29d85bd39fc3ab055

 

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. จัดประชุมรับฟังความเห็นสาธารณะ (โฟกัสกรุ๊ป) ครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นรอบของนักวิชาการ สำหรับกรณีการควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทค โดยนำเสนอกรอบแนวคิด (Framework) ในการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ โดยใช้โมเดล Merger Simulation และ Upward Pricing Pressure (UPP) และแบบจำลองดุลยภาพทั่วไป (CGE Model) โดยนักวิชาการ เดินหน้าแย้งผลการศึกษาของกสทช ที่ยกโมเดลมานำเสนอในระหว่างการทำโฟกัสกร๊ปรอบสาม โดยสรุปโมเดลเศรษฐศาสตร์ที่กสทช นำเสนอนั้น ขาด 5 ประเด็นสำคัญ คือ 1) ข้อมูลที่นำมาศึกษา กสทช ออกตัวว่า ข้อมูลไม่เพียงพอ ทำให้บ่างส่วนหามาจากสื่อ Public ทำให้ที่มาข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ 2) ข้อมูลที่นำมาอ้างอิง บ้างส่วนเป็นข้อมูลเก่าย้อนไปหลายปี 3) การทำโมเดลการแข่งขัน ไม่นับ NT เป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ทำให้ผลการศึกษาผิดเพี้ยน 4) การศึกษาครั้งนี้ ไม่ได้แยก Prepaid และ Postpaid ที่มีพฤติกรรมลูกค้าแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่เป็นการเหมารวมโดยอ้างว่าเวลาศึกษาน้อย 5) การศึกษาใช้ตัวเลขทางเศรษฐศาสตร์ โดยตั้งสมมุติฐานว่า ไม่มี กสทช เป็นผู้ควบคุม โดยผลลัพธ์จึงออกไปสุดโต่ง ซึ่งนักวิชาการที่ร่วมโฟกัสกรุ๊ป มองเรื่องนี้ว่า กสทช ปล่อยให้ศึกษา โดยไม่นับว่า ตลาดโทรคมนาคม มีกสทช คอยกำกับได้อย่างไร

 

นอกจากนี้ การทำโฟกัสกรุ๊ปที่ถูกต้อง ไม่ควรมีการนำโมเดลผลการศึกษา นำมานำเสนอกว่าชั่วโมงครึ่ง และ เป็นการชี้นำ โดยการศึกษาของ กสทช ที่มีช่องโหว่มากมาย ทำให้นักวิชาการต่างออกความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า โมเดลที่นำมาเสนอมีหลายปัจจัยที่ กสทช เลือกที่จะไม่นำมารวม และ ทำให้ชี้นำสังคมในทางสับสนได้ ซึ่งการทำโฟกัสกรุ๊ป ควรรับฟังความเห็นจากนักวิชาการที่มาร่วมประชุม และ บันทึกไปเพื่อความเป็นกลาง ตรงกับหลักการทางวิชาการ เพื่อนำผลการโฟกัสกรุ๊ปไปใช้วิเคราะห์ได้ต่อไป

ทั้งนี้ภายหลังการสรุปผลการศึกษา นักวิชาการจากสถาบันต่าง ๆ ที่เข้ารับฟัง ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในแง่มุมที่หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เห็นต่างจากผลการศึกษาของกสทช. โดยมองว่า การนำเสนอของกสทช. ยังไม่สมบูรณ์ เพราะยังขาดข้อมูลอีกหลายมิติ ที่แสดงให้เห็นว่า การควบรวมกิจการไม่ได้เป็นผลเสียเพียงด้านเดียว รวมถึงราคาไม่ใช่ปัจจัยหลัก เพราะกสทช. มีหน้าที่ควบคุมดูแลอยู่แล้ว แต่การควบรวมจะทำให้เกิดการปรับตัวของธุรกิจและเทคโนโลยีใหม่ที่จะเกิดขึ้น

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรภวิษย์ บุญศรีเมือง รองคณบดีวิจัย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา เห็นด้วยกับการควบรวม และให้ข้อเสนอแนะกับโมเดลของกสทช. ว่าควรนำข้อมูลของ NT มาทำวิจัยด้วย เพราะ NT มีใบอนุญาตจำนวนไม่น้อย หากโมเดลแรกสมมุติฐานไม่ครอบคลุม ปัจจัยอื่นๆ ก็จะคลาดเคลื่อนไป

ด้านดร.รุจิระ บุนนาค อาจารย์พิเศษ ABAC และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย มองว่าการควบรวมมีประโยชน์ โดยต้องมองหลาย ๆ ส่วนประกอบ และไม่มองข้ามตัวแปรสำคัญคือ Digital Disruption ที่มีผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ซึ่งกสทช. เองเคยคาดการณ์ผิดในเรื่องของทีวีดิจิทัล ที่ไม่ได้มองในเรื่องของ OTT จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจทีวีดิจิทัล

 

สำหรับธุรกิจโทรคมนาคม OTT ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเป็นบริการทั้งข้อความ เสียง และวีดีโอ จากการวิจัยของ McKinsey พบว่า 5G ทำให้ธุรกิจโทรคมนาคมมีการลงทุนเพิ่มขึ้นกว่า 300% ในขณะที่รายได้ของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือลดลง ดังนั้นจึงควรเพิ่มตัวแปรในเรื่องของ Digital Disruption นำมาคำนวณด้วย และควรกำหนดข้อมูลของคำว่า “ตลาด” ให้เหมาะสม นอกจากนี้ การอ้างอิงข้อมูลจากปี 2015 นั้นเป็นข้อมูลเก่า กสทช. ควรเป็นธุระนำข้อมูลที่อัปเดตกับสถานการณ์ให้นักวิชาการช่วยพิจารณาก่อนนำเสนอ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศราวุธ เกียรติกุศล อาจารย์เกษียณ และอาจารย์พิเศษ ม.กรุงเทพ ต้องการให้พิจารณาสถานะความสามารถในการแข่งขันของบริษัทด้วย เพราะผลประกอบการของ 3 เจ้าใหญ่จะเห็นได้ว่า มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ถ้าใช้สูตรที่กสทช. นำเสนอนี้ ทำให้เข้าใจว่าตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่า สถานะของบริษัทแข็งแกร่งใกล้ ๆ กัน แล้วสุดท้ายก็จะเหลือ 2 เจ้าที่มีสถานการณ์แข่งขันที่ต่างกันมาก

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์ คำสิงห์ จากมหาวิทยาลัยการบิน สถาบันฯ พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง เสนอว่าควรเพิ่มปัจจัยด้านความต้องการใช้งานของผู้บริโภคเข้าไปด้วย เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น ดังนั้น คุณภาพของเครือข่ายก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ต้องพิจารณา ไม่ใช่แค่เรื่องของราคาอย่างเดียว

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธภูมิ สุวรรณเวช รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เห็นด้วยกับการควบรวม โดยแนะว่าควรมองตัวแปรด้านจิตวิทยาของผู้ประกอบการและของผู้บริโภคประกอบด้วย หากมองแต่ตัวเลข จะทำให้ไม่ครอบคลุมตัวแปรที่จำเป็น ซึ่งภาพรวมของการควบรวมจะส่งผลให้เกิดการแข่งขันในเชิงธุรกิจ ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคหรือตัวประชาชนที่จะได้รับประโยชน์สูงสุด และเป็นการสร้างความเข้มแข็งในเชิงธุรกิจ ที่ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด ทันสมัย และทัดเทียมกับอารยประเทศชั้นนำทั่วโลก

 

“กสทช. อาจจะต้องคำนวณในค่าตั้งต้นของการประมูลเครือข่าย อย่าให้สูงมากนัก เพื่อที่จะทำให้คู่แข่งขันทางธุรกิจ ไม่ว่าจะ 2 เจ้า 3 เจ้า หรือ 4 เจ้าในอนาคตก็ตาม จะมีต้นทุนที่ไม่สูงมาก เมื่อต้นทุนไม่สูงก็จะส่งผลให้ดูแลผู้บริโภคในเรื่องของราคาได้ กสทช. มีมาตรการควบคุมราคาที่มองผู้บริโภคหรือประชาชนเป็นสำคัญ หวังว่ากสทช. จะไม่มองข้ามในส่วนนี้” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธภูมิ กล่าว

 

รศ.พ.ต.ต.ดร.ดนุวสิน เจริญ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ NIDA เห็นด้วยกับการควบรวม เพราะมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย แต่อยากให้คณะกรรมการพิจารณาจากข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงว่า ค่า HHI ที่สูงขึ้น จะแปลว่า ราคาสูงขึ้นเสมอไปหรือไม่ ซึ่ง OCCD ศึกษาพบว่า มีงานวิจัย 18 ชิ้นนับตั้งแต่ปี 2015 การควบรวมไม่ได้หมายถึงการขึ้นราคาที่สูงขึ้นเสมอไป รวมไปถึงสิ่งที่เรียกว่า Spillover Effect คือ มีการเกิดขึ้นของธุรกิจหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้วย ส่วนความกังวลเรื่องราคานั้น ควรเป็นหน้าที่ของผู้กำกับดูแล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพันธ์พงษ์ ขำอ่อน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ให้ความเห็นว่า ธุรกิจโทรคมนาคมในปัจจุบันมีรายได้จาก Voice ที่ลดลง ขณะที่การแข่งขัน OTT มีมากขึ้น ทำให้รายได้ลดลง จึงนำไปสู่การควบรวม สำหรับในเรื่องราคาค่าบริการและคุณภาพในการให้บริการนั้น กสทช. มีกฎเข้มข้นในการควบคุมอยู่แล้ว และขยายความถึงการควบรวมในต่างประเทศว่า ผู้กำกับดูแลมักจะอนุญาตให้ควบรวม แต่จะออกมาตรการเฉพาะในการกำกับดูแล เช่น T Mobile + Sprint ให้ขายธุรกิจเติมเงินออกไป หรือ Hutch + Orange ก็ให้แชร์เน็ตเวิร์คให้ MVNO สามารถเข้ามาใช้ได้ เพราะการประมูลคลื่นมีราคาสูง

 

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการอิสระด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด การพิจารณานี้ต้องมองตัวแปรให้ครบ โอกาสความสัมพันธ์ของคู่แข่งที่จะเข้ามาฮั้วค่อนข้างจะยาก เพราะดูจากโปรโมชั่นที่เกิดขึ้น มันดีขึ้นเรื่อย ๆ ผู้บริโภคได้ประโยชน์ขึ้นเรื่อย ๆ และการร่วมมือกันครั้งนี้ก็จะเกิด Global Competition ส่วนเรื่องราคา กสทช. ทำหน้าที่นี้ดีอยู่แล้ว

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีความเห็นอีกหลากหลายที่ส่วนใหญ่มองว่าการควบรวมน่าจะเป็นผลดีต่อธุรกิจและผู้บริโภคมากกว่าในแง่ของคุณภาพการบริการที่ดีขึ้น และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะเข้ามา รวมถึงยังเชื่อมั่นในการกำกับดูแลของ กสทช. โดยเฉพาะในเรื่องของการควบคุมราคาและบริการ

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!