- Details
- Category: กสทช.
- Published: Thursday, 23 October 2014 21:37
- Hits: 3488
ลุ้น‘สนช.’ยุบ‘กสท.-กทค.’ต้นปีหน้า
แนวหน้า : แหล่งข่าวจาก คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)เปิดเผยว่า ตามที่มีกระแสข่าวว่า พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช.เห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ด้วยการปรับปรุงโครงสร้าง กสทช.โดยเสนอให้มีคณะกรรมการเพียงคณะเดียวคือ กสทช.เพื่อทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้เกิดเอกภาพนั้นพบว่า ในส่วนของบอร์ดกสทช.ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบเรื่องมาก่อน
อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวจาก กสทช.มองว่า หากจะมีการแก้ไขให้รวบอำนาจบริหารให้ทุกเรื่องต้องผ่านมติความเห็นชอบของบอร์ดกสทช.ทั้ง 11 คนในส่วนตัวไม่ได้ขัดข้องอะไร เพราะตามวัตถุประสงค์ของบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญก็ให้ กสทช.แยกหน้าที่อำนาจการบริหารงาน แต่เมื่อมีการรัฐประหารจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)มีการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ดังนั้นการแก้อำนาจการบริหารก็ไปแก้ที่พ.ร.บ.กสทช.ได้โดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ ตั้งแต่มีคสช.มานั้นการรับนโยบายการทำงาน และการประสานงานกับคสช.มีเพียงพล.อ.อ.ธเรศ ประธานกสทช.และนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.เท่านั้นที่รับทราบนโยบาย ซึ่ง สำนักงานกสทช.ก็จะรวบรวมเข้ามาเสนอให้ที่ประชุมบอร์ดรับทราบและให้ดำเนินงานตามคำสั่งของคสช.เท่านั้น
อย่างไรก็ดี จากการหารือเบื้องต้นกับนายฐากร เลขาธิการกสทช.ทราบว่าขณะนี้ได้เริ่มกระบวนการแก้กฎหมายแล้ว คาดว่าในเร็วๆ นี้ จะเสนอเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และภายใน 2 เดือนหรือต้นปี 2558 จะเริ่มเห็นความชัดเจนของแนวทางการปรับแนวทางการบริหารงานของกสทช.
ก่อนหน้านี้ นายฐากรชี้ว่า การแยก กรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์(กสท.) และ กรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) พบว่า ต่างฝ่ายต่างยึดกฎหมายคนละฉบับส่งผลให้อำนาจของบอร์ด กสทช. ไม่ชัดเจน จึงเป็นที่ผ่านมาของการแก้กฎหมายดังกล่าว
โยนคสช.ตัดสินใจยุบรวมกสท.-กทค.ฐากรรับปัญหาตรึม
ไทยโพสต์ : สายลม * ยุบรวม กสท.-กทค.ให้ คสช.ชี้ขาด คาดรวบอำนาจแก้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรฯ แล้วเสร็จต้นปี 58
แหล่งข่าวจากคณะกรรม การกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า จากกรณีที่มีการเผยแพร่เอก สารที่ระบุว่า ได้รับความเห็นชอบ จาก พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประ ธาน กสทช.เห็นควรให้มีการแก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ. กสทช.) ด้วยการปรับปรุงโครง สร้าง กสทช.เป็นการเร่งด่วน โดยเสนอให้มีคณะกรรมการเพียงคณะเดียวเพื่อทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้เกิดเอก ภาพนั้น ในส่วนของบอร์ด กสทช.ส่วนใหญ่รวมทั้งตัวเองไม่ทราบเรื่องมาก่อน และก็ยังไม่ได้รับรายงานแนวทางการบริหารใหม่เข้าสู่วาระการประชุมบอร์ดแต่อย่าง ใดทั้งนี้ ถ้าจะรวบอำนาจบริ หารให้ทุกเรื่องต้องผ่านมติความเห็นชอบของบอร์ด กสทช.ทั้ง 11 คน ในส่วนตัวไม่ได้ขัดข้องอะไร แต่ก็อาจจะมีความล่าช้าวาระใน การพิจารณาอยู่พอสมควร เพราะ ตามเป้าประสงค์ของบทเฉพาะ กาลในรัฐธรรมนูญก็ให้แยกหน้าที่อำนาจการบริหารงาน แต่เมื่อมี การรัฐประหารจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็เท่ากับไม่มีรัฐธรรมนูญแล้ว ดังนั้น การแก้อำนาจการบริหารก็ไปแก้ที่ พ.ร.บ.กสทช.ได้เลย
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ตั้งแต่มี คสช.มานั้น การรับนโยบายการทำงานและการประสานงานกับ คสช.มีเพียง พล.อ.อ.ธเรศ ประธาน กสทช. และนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.เท่านั้นที่รับทราบนโยบาย ซึ่งสำนักงาน กสทช.ก็จะรวบรวมเข้ามาเสนอให้ที่ประชุมบอร์ดรับทราบและให้ดำเนินงานตามคำสั่งของ คสช.เท่านั้น อย่างไรก็ดีจากการหารือเบื้องต้นกับนายฐากร เลขาธิการ กสทช. พบว่าขณะนี้ได้เริ่มกระบวนการแก้กฎหมายแล้ว คาดว่าในเร็วๆ นี้จะเสนอเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และภายใน 2 เดือน หรือต้นปี 2558 จะเริ่มเห็นความชัดเจนของแนวทางการปรับแนวทางการบริหารงานของ กสทช.
หัวข้อ แนวทางฝ่าวิกฤติองค์กร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา กสทช. ว่า จากการที่ได้ทำงานในตำแหน่งเลขาธิการ กสทช. มา 3 ปี ตั้งแต่ก่อตั้ง กสทช. จนถึงขณะนี้พบว่า วิกฤติด้านการทำงานของ กสทช.สามารถแบ่งได้ 3 ข้อด้วยกัน ได้แก่ 1.ในเรื่องของอำนาจที่ยังไม่ชัดเจน ซึ่งขณะนี้ยังคงมีเรื่องที่ทับซ้อนกันอยู่ระหว่าง กสทช. และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที 2. การบริหารงานภายในของ กสทช.เอง ซึ่งที่ผ่านมาในการจัดทำงบประมาณแต่ละปี ที่ กสทช. มีนโยบายจัดทำงบแบบรายรับสมดุลกับรายจ่าย ส่งผลให้แต่ละหน่วยงานภายใน กสทช. เสนองบประมาณที่สูงเกินความจำเป็น และ 3.ใน เรื่องของกฎหมายการกำกับดูแล ที่หลายด้านยังมีปีปัญหาอยู่.