WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

'กสท'ทวงค่าเช่าโครงข่าย โวยไม่ได้เงินหลังสัมปทานทรูฯหมด

     แนวหน้า : CAT ส่งหนังสือถึง กสทช.ถามค่าเช่าโครงข่าย ระบุหลังสัปมทานสิ้นสุดตั้งแต่เดือน ก.ย.ปี’56 ครบปีไม่ได้รับค่าเช่าจากเอกชน ด้าน'สุภิญญา'เผยที่ประชุม 6 ต.ค.นี้ ให้จับตา วาระเยียวยาผู้บริโภคหลัง'ทรูวิชั่น'หมดสัมปทานเคเบิลทีวี จี้'บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์'รีบส่งผังรายการ'รีบ'ช่อง3 อนาล็อก'บนช่องดิจิตอล ก่อน'จอดำ'

    แหล่งข่าวจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)หรือ CAT เปิดเผยว่า ตามที่สัญญาสัมปทานของ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) สิ้นสุดสัมปทานลงในวันที่ 16 ก.ย.2556 ไปแล้วนั้น และเมื่อวันที่ 16 ก.ย.2557 ที่ผ่านมาถือว่าครบ1ปี ที่อยู่ในมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 (ประกาศเยียวยา 1800 MHz )ตามประกาศของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

     “อย่างไรก็ตาม ผ่านมาจนถึงวันนี้ ถือว่ากว่า 1 ปีกว่าแล้ว หรือ ตั้งแต่ที่สิ้นสุดสัมปทานลงในวันที่ 16 ก.ย.2556 แต่ กสท กลับยังไม่ได้รับส่วนแบ่งเลยแม้แต่บาทเดียว ดังนั้นบริษัทจึงทำหนังสือไปสอบถามกสทช.ความคืบหน้าเกี่ยวกับรายได้ที่ กสทจะต้องได้รับเป็นค่าเช่าโครงข่าย 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) หลังจากที่หมดสัญญาสัมปทาน

      แหล่งข่าวจาก กสท กล่าวอีกว่า สาเหตุหนึ่งที่ กสท ยังไม่มีรายได้ค่าเช่าโครงข่ายเข้ามานั้น เพราะผู้ประกอบการทั้งทรูมูฟ และดีพีซีส่งข้อมูลรายรับ และรายจ่ายแต่ละเดือนในช่วงประกาศเยียวยา 1800 เมกะเฮิรตซ์ โดยอ้างว่ารายได้ปัจจุบันลดลง แต่ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น จึงไม่สามารถนำส่งเงินช่วงเยียวยาได้เท่ากับช่วงที่ยังอยู่ภายใตัสัญญาสัมปทานนั้น จึงอยากให้สำนักงานกสทช.ตรวจสอบ

      นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวยอมรับว่า มีปัญหาติดขัดเกี่ยวกับการคำนวณรายได้ตามที่เอกชนส่งข้อมูลกลับมา ซึ่งพบว่ารายละเอียดที่เอกชนแจ้งนั้น กลับมีรายได้ในช่วงเยียวยาเพียงเล็กน้อยซึ่งเงินดังกล่าวค้างอยู่เอกชนทั้ง 2 ฝ่าย แต่ก็ต้องยอมรับว่าเงินที่เหลือเป็นค่าเช่าโครงข่ายมีน้อยมาก เพราะเอกชนได้ทยอยโอนย้ายลูกค้าไปยังเครือข่ายใหม่บนใบอนุญาต 3G 2.1 กิกะเฮิรตซ์ที่ได้รับจากกสทช.จึงจำเป็นต้องมีการเรียกเอกชนมาชี้แจ้งอีกครั้งหนึ่ง

    ด้าน น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. กล่าวว่าในวันจันทร์ที่ 6 ต.ค.2557 นี้ ที่ประชุม คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีวาระการประชุมชวนจับตา ได้แก่ แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กรณี บริษัททรู วิชั่นส์ จำกัด(มหาชน) จะหมดสัญญาณสัมปทานกับบริษัทอสมท. จำกัด(มหาชน)  เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2557 ที่ผ่านมา ซึ่ง ทรูฯ ได้มีหนังสือชี้แจงการดำเนินการตามความเห็นมายังคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้ บริโภคฯ พบว่า สมาชิกรายเดิมที่ย้ายไปใช้บริการในบ.ทรู วิชั่นส์ กรุ๊ป ยังไม่ได้ลงนามในสัญญาใหม่เนื่องจากอยู่ในระหว่างการแก้ไขและนำส่งฉบับ สมบูรณ์ให้สำนักงาน กสทช.ตรวจสอบก่อนนำไปใช้ ทั้งนี้ ยังมีสมาชิกที่ยังไม่ย้ายไปใช้บริการของทรู คงค้างอยู่ สองพันกว่าราย

    ส่วนกรณีช่อง 3 หรือ บริษัทบางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ได้ทำหนังสือผ่านประธานกสท.เพื่อขอนัดหมายหารืออีกรอบนั้น น.ส.สุภิญญา เห็นว่า กสท.ได้เสนอทางออกจากปัญหาจอดำให้ช่อง3ชัดเจน แล้วคือ 1. ขอออกผังรายการช่องแอนาล็อก บนช่องดิจิตอลที่ประมูลมาได้ 2. ช่อง 3 แอนาล็อกมายื่นขอใบอนุญาตเพิ่มเป็นทีวีดาวเทียม/เคเบิล ตามกติกาเหมือนช่องอื่นๆ แต่ถ้าช่อง 3 ไม่เดินตามกติกานี้ ปัญหาจอดำบนโครงขายดาวเทียม/เคเบิลเพราะการตัดสินใจของช่อง3 เอง กสทช. จำเป็นต้องบังคับใช้กฎกติกา เพื่อความเป็นธรรมกับช่อง 7 ช่อง 9 รวม ไทยพีบีเอส และฟรีทีวีดิจิตองช่องใหม่ที่เดินตามกติกามาตลอด

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!