- Details
- Category: กสทช.
- Published: Tuesday, 16 April 2019 13:09
- Hits: 2018
'ม.44'อุ้มค่ายมือถือกสทช.ยืดหนี้ค่าคลื่น/ให้ทีวีดิทัลคืนไลเซ่นส์ได้
แนวหน้า : เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบการกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อยืดการชำระใบอนุญาต 900 เมกะเฮิรตซ์ และเพื่อ ช่วยเหลือทีวีดิจิทัล
มีรายงานแจ้งว่า สำหรับสาระสำคัญของราชกิจจาฯก็เพื่อบรรเทา ผลกระทบต่อผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เนื่องจากไม่อาจชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด เนื่องจากได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า สภาพปัญหาการแข่งขันทางธุรกิจสำหรับกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ปัญหาด้านความพร้อมทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงผลกระทบจากรายได้ของผู้ประกอบการที่สุจริต อันส่งผลถึงความสามารถในการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ จำเป็นต้องปรับปรุง หลักเกณฑ์ ขั้นตอนและกำหนดระยะเวลาในการชำระค่าธรรมเนียมเพื่อให้การประกอบกิจการดังกล่าวสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน
อีกทั้ง ในการสร้างความเชื่อมั่น ให้แก่ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งจูงใจให้ผู้ประกอบการ โทรศัพท์เคลื่อนที่เข้าประมูลคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ และ 2600 เมกะเฮิรตซ์ ภายในระยะเวลาที่กำหนด จึงให้ ผู้ประกอบการที่ประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ แจ้งสำนักงานกสทช.เพื่อขอแบ่งชำระเงินค่าคลื่นความถี่โดยแบ่งเป็น 10 งวด
ส่วนผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(ทีวีดิจิทัล)ที่ประสงค์จะคืนใบอนุญาตให้ทำหนังสือแจ้งขอคืนอนุญาตกับกสทช.ได้ ภายใน 30 วัน โดยสำนักงาน กสทช.จะพิจารณากำหนดค่าชดเชย
มีรายงานแจ้งว่า นอกจากนี้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัล 22 ช่อง ไม่ต้องนำเงินค่าประมูล 2 งวด สุดท้าย คือ งวดที่ 5 และ 6 มาชำระให้กับ กสทช. รวมเป็นเงิน 13,622 ล้านบาท
นอกจากนี้ กสทช.เรียกคืนคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อประมูลในกิจการโทรคมนาคม โดยสำนักงานกสทช.จะชดเชยหรือจ่ายค่าตอบแทนผู้ถูกเรียกคืนคลื่น โดยได้รับการยกเว้นการจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตงวดที่เหลือ ส่วนค่าใช้จ่ายในการเช่าโครงข่ายโทรทัศน์ (มักซ์) กสทช.จะเป็นผู้สนับสนุนตามจำนวนที่เกิดขึ้นจริงตามที่คู่สัญญาตกลงกันโดยไม่เกินอัตราที่กสทช.เห็นชอบ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า ในเบื้องต้นกสทช.ประเมินว่าจะมีผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ผู้คืนใบอนุญาต 4-5 ราย
BEC ยังไม่มีแผนคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล เดินหน้าแผนบริหาร 3 ช่องพลิกฟื้นกลับมามีกำไร
นายชาคริต ดิเรกวัฒนชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารสายกิจการองค์กร บมจ.บีอีซี เวิลด์ (BEC) เปิดเผยถึงกรณีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออก ม.44 เปิดทางให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัลสามารถคืนใบอนุญาตได้ และยกหนี้ค่าสัมปทาน 2 งวดสุดท้ายว่า เป็นผลดีกับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลทุกราย แต่ BEC ยังไม่มีแผนที่จะคืนใบอนุญาตในขณะนี้อย่างที่นักวิเคราะห์หลักทรัพย์บางรายคาดการณ์ เพราะต้องพิจารณาในรายละเอียดก่อน
อย่างไรก็ตาม แผนธุรกิจที่บริษัทวางไว้ปีนี้จะเน้นการบริหารงานทั้ง 3 ช่องทีวีให้พลิกกลับมามีกำไร ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้เรตติ้งของช่อง 3HD ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากรายการละคร ซึ่งการจัดอันดับเรตติ้งในเดือน มี.ค.62 ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พบว่าช่อง 3 HD มีเรตติ้งเป็นอันดับ 2 ต่อเนื่องจากเดือน ก.พ.62 ขณะที่ช่อง 28SD และ ช่อง 13 แฟมิลี่ ยังไม่ได้ทำรายได้มากนัก มีเพียงช่อง 3HD ที่ทำรายได้เป็นหลัก
"คำสั่ง คสช.ยังไม่เคลียร์ ...จะไปฟัง กสทช. ชี้แจงแนวทางก่อน และต้องดูว่าคุ้มค่าหรือไม่ ช่องเองก็ดูในอนาคต ไม่ได้ดูที่ผ่านมา"นายชาคริต กล่าว
ทั้งนี้ ในเดือน มี.ค.61 คสช.ออกคำสั่ง มาตรการความช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ได้แก่ ให้พักชำระหนี้ได้ 3 งวดจาก 5 งวดที่เหลือ โดยบริษัทได้รับมาตรการช่วยเหลือทั้ง 3 ช่องแล้ว ซึ่งการยืดชำระเงินค่าใบอนุญาตขยายเวลาไปถึงปี 63 และในครั้งนี้ คสช.มีคำสั่งให้ยกค่าใบอนุญาตของ 2 งวดสุดท้าย ซึ่งจะต้องรอคำอธิบายจากกสทช.ว่าจะดำเนินการอย่างไร
ในปี 61 BEC มีผลขาดทุน 330.17 ล้านบาท เทียบกับปี 60 มีกำไรสุทธิ 60.01 ล้านบาท
อินโฟเควสท์
ม.44 อุ้มทีวีดิจิทัล พ่วงกรมประชาฯ หาโฆษณาได้
หนึ่งชั่วโมงก่อนถึงกำหนด "เส้นตาย" ให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลชำระค่าใบอนุญาตงวดที่ 5 ซึ่งจะสิ้นสุดตามเวลาราชการ 16.00 น. ปรากฏว่ารัฐบาล คสช. ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยให้พักชำระการจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตได้ 3 ปี นอกจากนี้ยังพ่วงการเปิดทางให้กรมประชาสัมพันธ์หารายได้จากการโฆษณาด้วย
ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คำสั่งหัวหน้าหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 9/2561 เรื่อง มาตรการบรรเทาผลกระทบต่อผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยมีเนื้อหา 10 ข้อ สรุปสาระสำคัญได้ 3 ประการ ดังนี้
วิบากกรรมทีวีดิจิทัล: ปัญหาใหญ่ที่รอ กสทช. ชุดใหม่แก้ไข
โฆษณาหด ดิจิทัลทีวีแห่หนีตาย เนชั่นประกาศขาย NOW วอยซ์ปรับโครงสร้างอีกรอบ
อย่าแปลกใจ เมื่อใคร ๆ ก็อยากเป็น กสทช.
คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 9/2561 มาตรการบรรเทาผลกระทบต่อผู้ประกอบกิจการทีวีดิจิทัล
ประการแรก หากผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัลรายใดไม่สามารถชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ได้ ให้ทำหนังสือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ภายใน 30 วัน เพื่อขอพักชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตได้ไม่เกิน 3 ปีนับแต่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน กสทช.
ประการที่สอง ให้ กสทช. จัดให้มีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเช่าใช้โครงข่ายโทรทัศน์ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (MUX) ให้กับผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล เป็นจำนวนเงินในอัตราร้อยละ 50 ของค่าเช่า MUX เป็นเวลา 2 ปี โดยใช้เงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ
ประการที่สาม กรมประชาสัมพันธ์อาจมีเงินรายได้จากการโฆษณาได้เท่าที่จำเป็นและเพียงพอต่อการผลิตรายการตามวัตถุประสงค์โดยต้องไม่เป็นการมุ่งต่อการแสวงหากำไรทางธุรกิจ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. ประกาศกำหนด
การออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ในครั้งนี้ เป็นผลจากการหารือร่วมกันระหว่าง คสช. กสทช. ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล และนักวิชาการ ซึ่งตั้งวงพูดคุยกัน 3 รอบ อย่างไรก็ตามข้อเสนอหนึ่งที่ไม่ถูกบรรจุลงคำสั่งหัวหน้า คสช. ในครั้งนี้คือ การอนุญาตให้โอนใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัลให้กับผู้ประกอบการรายใหม่ได้
"เราไม่อยู่ในฐานะคัดค้านได้"
แม้ว่าข้อเรียกร้องของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลได้จะได้รับการตอบสนองอย่างทันท่วงที แต่นายสุภาพ คลี่กระจาย นายกสมาคมผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล บอกกับบีบีซีไทยว่า การที่คำสั่งดังกล่าวอนุญาตให้ กรมประชาสัมพันธ์ซึ่งได้รับใบประกอบกิจการทีวีดิจิทัล ประเภทบริการสาธารณะ สามารถมีรายได้จากการโฆษณาได้นั้น เป็นอำนาจของ คสช.
นายสุภาพ อธิบายเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้รักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เคยยื่นขอเรื่องดังกล่าวไป ซึ่งอำนาจการตัดสินใจไม่ใช่อำนาจของผู้ประกอบการ หากถามว่ามีผลกระทบผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ประเภทธุรกิจที่เหลืออีก 22 ช่องหรือไม่ นายสุภาพบอกว่า คงมีผลกระทบไม่มาก เนื่องจากโฆษณาของกรมประชาสัมพันธ์เป็นคนละกลุ่มเป้าหมาย อาทิ รัฐวิสาหกิจ หรือแนวเชิงการค้า
"ผมต้องยอมรับว่า เราไม่อยู่ในฐานะที่จะคัดค้าน ต่อต้านอะไรได้" นายสุภาพกล่าว
คำบรรยายภาพ
การประมูลทีวีดิจิทัลช่วงปลายปี 2556 ทำให้วงการโทรทัศน์ไทยเกิดช่องรายการเพิ่มเป็น 36 ช่อง แบ่งเป็น 3 ประเภท 1.บริการสาธารณะ 2. บริการเชิงธุรกิจ 3. บริการชุมชน โดยมีเพียงบริการธุรกิจเท่านั้นที่สามารถหารายได้จากโฆษณา
อย่างไรก็ตาม หากถามว่าผิดข้อตกลงที่เคยทำไว้ก่อนประมูลทีวีดิจิทัลหรือไม่ เพราะเมื่อครั้งนั้นดำเนินการอยู่บนพื้นฐานมีทีวีเชิงพาณิชย์จำนวนหนึ่ง แต่เมื่ออนุญาตให้กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นเจ้าของช่องเอ็นบีที สามารถมีรายได้จากการโฆษณาได้ นายกสมาคมผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ยอมรับว่าการแข่งขันเพิ่มขึ้น อย่างก็ต้องแข่งขันกันที่คุณภาพของรายการมากกว่า
สื่อไทยยุค 4.0 (2) : ขุมทรัพย์สื่อในมือกองทัพ
ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน เม.ย. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เคยออกมาแสดงความประหลาดใจหลัง พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ออกมาเปิดเผยว่าได้เสนอให้ คสช. ใช้มาตรา 44 เพื่อปลดล็อกให้กรมฯ สามารถหารายได้จากการโฆษณาได้ โดยนายวิษณุบอกว่า "ไม่รู้ว่าติดล็อกอะไร ถึงต้องปลดล็อก ส่วนที่บอกว่าเพราะงบประมาณไม่เพียงพอนั้น เขาก็อ้างอย่างนั้น และคงไม่ถึงกับหาโฆษณาได้ขนาดนั้น แต่อาจหาโฆษณาได้เพียงบางส่วน ซึ่งไม่รู้ว่าใครจะเป็นคนบอกว่าหาได้เท่าไรจึงจะเพียงพอแล้ว จึงให้กรมประชาสัมพันธ์ไปคุยกับ กสทช. วางแผนปฏิบัติงานกันเอง"
ช่องเอ็นบีทีไม่ใช่ทีวีสาธารณะช่องแรกที่หาโฆษณาได้
ตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 กำหนดให้ช่องเอ็นบีที หรือเดิมคือ ช่อง 11 ของกรมประชาสัมพันธ์ จัดอยู่ในหมวดใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัลบริการสาธารณะ ประเภทที่ 3 ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ซึ่งไม่อนุญาตให้หาได้จากโฆษณา
คำบรรยายภาพ
คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ใช้อำนาจมาตรา 44 ฉบับนี้ ยังให้กรมประชาสัมพันธ์ สามารถหารายได้จากการโฆษณาได้ จากเดิมที่หารายได้จากโฆษณาหรือเผยแพร่ข่าวสารของหน่วยงานรัฐเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
แต่ด้วยคำสั่งล่าสุดจากหัวหน้า คสช. ในส่วนที่ 2 ได้กำหนดไว้ว่า กรมประชาสัมพันธ์อาจจะมีเงินรายได้จากการโฆษณาได้ "เท่าที่จำเป็นและเพียงพอต่อการผลิตรายการตามวัตถุประสงค์โดยไม่เป็นการมุ่งต่อการแสวงหากำไรทางธุรกิจ"
โดยข้อความดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกับการกำหนดแหล่งรายได้จากการโฆษณาของช่อง ททบ.5 ของกองทัพบก ซึ่งจัดเป็นทีวีบริการสาธารณะ ประเภทที่ 2 ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยสาธารณะ โดย กสทช. อนุญาตให้ ททบ.5 สามารถมีโฆษณาได้เฉลี่ยชั่วโมงละ 8-10 นาที ซึ่งใกล้เคียงกับทีวีดิจิทัลประเภทธุรกิจ ที่สามารถมีโฆษณาได้ไม่เกินชั่วโมงละ 12 นาที 30 วินาที
https://www.bbc.com/thai/thailand-44223155