WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

'สุภิญญา'เซอร์ไพรส์พบ'ประวิทย์' เผย'ช่อง3'ยินดีออกคู่ขนานแล้ว

      แนวหน้า : ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสช.) ได้ทวิตข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว @supinya ระบุว่าได้เข้าฟังสัมมนาร่วมกับนายประวิทย์ มาลีนนท์ กรรมการบริหาร บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด หรือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 มีข้อความดังนี้

     วันนี้มีเรื่อง surprise ไปงานสัมมนาของสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์  เจอคุณประวิทย์ มาลีนนท์ Ch3 มานั่งฟังด้วยอยู่แถวหน้าโดยไม่ได้นัดหมาย ตั้งแต่มีข้อพิพาทกับช่อง 3 มาก็เพิ่งได้พบหน้าคุณประวิทย์ มาลีนนท์วันนี้เอง ได้เปิดการเจรจาเรื่องให้ออกอากาศคู่ขนานกันกลางเวทีสัมมนาเลย

    วันนี้ เป็นครั้งแรกที่ดิฉันได้ยินคุณประวิทย์ มาลีนนท์ กล่าวโดยสรุปว่าช่อง3ยินดีออกคู่ขนานในช่อง33HDแล้ว แต่ยังมีข้อเสนอบางอย่างต่อ กสทช.

'ประวิทย์'บุกยื่นหนังสือถึงเลขาฯ กสทช.'ช่อง3' จี้ทบทวนมติ'จอดำ'

    แนวหน้า : 'ฐากร'หารือกับผู้บริหาร'ช่อง3'ที่ขอให้ทบทวนมติบอร์ดกสท.ห้ามทีวีดาวเทียม และเคเบิล ออกอากาศ “ช่อง 3 อนาล็อก” และขอให้ทบทวนมติที่ให้ช่อง 3 สิ้นสุดการให้บริการเป็นการทั่วไป เผยจะนำเรื่องดังกล่าวเสนอคณะกรรมการ กสทช.เป็นผู้ตัดสิน ในวันที่ 17 ก.ย.นี้

    ที่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เวลา 13.00 น. ของวันที่ 12 ก.ย. 2557 นายประวิทย์ มาลีนนท์  กรรมการบริหาร บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด หรือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้เดินทางเข้า ยื่นหนังสือปิดผนึก ถึง ประธาน กสทช. พลอากาศเอก  ธเรศ ปุณศรี  และคณะกรรมการ (บอร์ด) กสทช. ทั้ง 10 คน โดยมี นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เป็นผู้รับหนังสือดังกล่าว โดยนายประวิทย์ ได้กล่าวจุดยืนของช่อง 3 ว่า มีจุดยื่นในการดำเนินการไม่ให้ช่อง 3 เกิดกรณี “จอดำ”โดยปฏิเสธให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว

    นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ กล่าวว่า นายประวิทย์ มาลีนนท์ ได้ยื่นหนังสือถึง ประธาน กสทช. และบอร์ด กสทช.ทั้ง 10 ท่าน โดยรายละเอียดหนังสือดังกล่าว เป็นการยื่นเพื่อขอให้ทบทวนมติที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2557 ที่มีมติออกคำสั่งทางปกครองไปยังผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (ทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี)  ให้งดแพร่ภาพการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ทีวีสีช่อง 3 และขอให้ทบทวนมติบอร์ด กสท. เมื่อวันที่ 3 ที่มีมติ ให้ช่อง 3 ระบบอนาล็อก สิ้นสุดการเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป หรือ ฟรีทีวี  ตามประกาศหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (มัสต์แครี่) พ.ศ.2555 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา

    ขณะเดียวกัน ยังขอให้ระหว่างที่ กสทช.พิจารณาเรื่องดังกล่าวทางช่อง3  ขอให้ผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี ยังคงสามารถแพร่ภาพออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ทีวีสีช่อง 3 พร้อมขอให้ กสทช. มีมาตรการเยียวยาหรือการคุ้มครองให้ช่อง 3 แพร่ภาพออกอากาศได้ตามปกติไปจนกว่าการพิจารณาจะมีข้อสรุป

    ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. จะนำข้อเสนอทั้ง 3 ประเด็น ที่ช่อง 3 ได้ยื่นมา และนำมาวิเคราะห์เพื่อที่จะบรรจุเป็นวาระเร่งด่วน และนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด กสทช.ในวันที่ 17 กันยายน นี้ เพื่อให้พิจารณาวาระดังกล่าวต่อไป

   “สำนักงาน กสทช.จะสรุปและวิเคราะห์ข้อเสนอดังกล่าว เพื่อนำบรรจุเป็นวาระเร่งด่วนเพื่อนำเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช. ซึ่งหากที่ประชุมบอร์ดใหญ่ รับพิจารณาข้อเสนอ ที่ช่อง 3 ยื่นมา จะทำให้ต้องเข้าสู่กระบวนการเยียวยา เพื่อให้ช่อ 3 สามารถออกอากาศ บนโครงข่ายทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีต่อไป ขณะเดียวกัน หากบอร์ดใหญ่ไม่รับพิจารณาก็จะต้องมีผลบังคับตามมติที่ประชุมบอร์ด กสท. ต่อไป”

    นอกจากนี้ สำนักงาน กสทช. จะส่งเรื่องดังกล่าว ให้แก่คณะอนุกรรมการด้านกฏหมายของสำนักงาน กสทช. เพื่อพิจารณาว่า อำนาจหน้าที่ ในการทบทวนมติ กสท. เป็นอำนาจหน้าที่ของ บอร์ดใหญ่ ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.)

  “เบื้องต้น สำนักงานจะต้องส่งเรื่องนี้ให้แก่คณะอนุฯ ที่ปรึกษาด้านกฏหมายดูอำนาจในการพิจารณาทบทวนมติบอร์ด กสท.ก่อน โดยอาจจะต้องคณะอนุกรรมการพิจารณา กรณีช่อง 3 ขึ้นมาเพื่อดูเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งถ้าเรื่องนี้บอร์ดใหญ่รับพิจารณา ก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการเยียวยา เพื่อให้ช่อง 3 สามารถออกอากาศบนโครงข่ายทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี ไปจนกว่าการพิจารณาจะแล้วเสร็จ” นายฐากร กล่าว

   อย่างไรก็ตาม สำนักงาน กสทช.ได้รับคำสั่งให้ส่งหนังสือคำสั่งทางปกครองไปยังผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี ตามมติบอร์ดเมื่อวันที่ 8 กันยายน ที่มีคำสั่งห้ามเผยแพร่ ช่อง 3 อนาล็อก หลักจากได้รับคำสั่งภายใน 15 วันทันที  โดยได้ส่งหนังสือออกไปยังผู้ประกอบการแล้วเมื่อวันที่ 11 กันยายน  และหากผู้ประกอบการได้รับหนังสือคำสั่งทางปกครอง ยังไม่ต้องแจ้งเตือนผู้บริโภคที่จะต้องงดการแพร่ภาพออกอากาศของ ช่อง 3 เนื่องจากจะต้องรอการพิจารณาจากที่ประชุมบอร์ด กสทช.เพื่อออกเป็นมติต่อไป

ช่อง 3 ยื่น กสทช.ทวนมติ กสท.

     บ้านเมือง : ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อช่วงบ่าย วันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา นายประวิทย์ มาลีนนท์ ในฐานะตัวแทน บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด (ช่อง 3) เดินทางเพื่อเข้าพบนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยใช้เวลาเข้าพบประมาณ 15 นาที และไม่ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนแต่อย่างใด

     นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า การเข้าพบของนายประวิทย์ครั้งนี้ ช่อง 3 ได้ยื่นเรื่องถึงประธาน กสทช.เพื่อขอให้ทบทวนมติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2557 ที่มีคำสั่งทางปกครองให้ผู้ประกอบการโครงข่ายโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกระงับการนำช่องรายการที่สิ้นสุดการให้บริการเป็นการทั่วไปมาออกอากาศในโครงข่ายของตนเองภายใน 15 วัน หลังจากได้รับคำสั่ง กสท.มีคำสั่งทางปกครองซึ่งเท่ากับเป็นการให้ผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีไม่ให้นำช่อง 3 ระบบอนาล็อกไปออกอากาศต่อ พร้อมทั้งขอให้ทบทวนมติ กสท. เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ให้ช่อง 3 สิ้นสุดการให้บริการเป็นการทั่วไป และในช่วงที่ กสทช.รับเรื่องของช่อง 3 ไปพิจารณาก็ขอให้ กสทช.มีมาตรการเยียวยาให้ช่อง 3 สามารถออกอากาศผ่านทางช่องทางผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีได้ไปพลางก่อน

   "ที่ผ่านมาช่อง 3 ได้ยื่นเรื่องถึงประธาน กสทช. เพื่อขอให้ทบทวนมติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2557 ซึ่ง สทช.รับเรื่องของช่อง 3 ไปพิจารณาแล้ว"

   นายฐากร กล่าวว่า กสทช.จะนำเรื่องดังกล่าวเสนอให้คณะกรรมการ กสทช.พิจารณาในการประชุมที่จะมีขึ้นวันที่ 17 กันยายนนี้ ซึ่งจะต้องติดตามว่าคณะกรรมการ กสทช.จะรับเรื่องของช่อง 3 ไว้พิจารณาทบทวนหรือไม่ ซึ่งตนเห็นว่าน่าจะมี 3 แนวทางในการพิจารณา คือ ส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของสำนักงาน กสทช.พิจารณาว่ามีแนวทางแก้ไขอย่างไรบ้าง และเสนอต่อที่ประชุม กสทช.ต่อไป ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณาโดยตรงหรืออาจไม่รับเรื่องนี้ไว้ทบทวน

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!