- Details
- Category: อาชญากรรม
- Published: Tuesday, 30 May 2017 22:12
- Hits: 15092
บก.ปอศ. ตรวจจับซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ไตรมาสแรก ปี 2560 พบมูลค่าความเสียหายกว่า 90 ล้านบาท สูงสุดในธุรกิจออกแบบตกแต่งภายในและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง
บก.ปอศ. เดินหน้าตรวจจับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในองค์กรธุรกิจ ล่าสุดในไตรมาสแรกปี 2560 ตรวจค้นและดำเนินคดีกับองค์กรธุรกิจจำนวนกว่า 50 บริษัทพบการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิบนคอมพิวเตอร์มากกว่า 600 เครื่อง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 90 ล้านบาท สูงสุดในกลุ่มธุรกิจออกแบบตกแต่งภายในและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และในจังหวัดที่เป็นพื้นที่ใกล้เคียง
เจ้าหน้าที่ตำรวจ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ยังคงบังคับใช้กฎหมายกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง พบปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งการติดตั้งและใช้งานซอฟต์แวร์เกินกว่าจำนวนสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) การทำสำเนาซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นต้นโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจออกแบบตกแต่งภายในในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูง โดยล่าสุด ได้ทำการตรวจค้นและดำเนินคดีกับบริษัทออกแบบตกแต่งภายในสัญชาติไทยในกรุงเทพมหานคร พบการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์จำนวน 21 เครื่อง มูลค่าความเสียหายกว่า 10 ล้านบาท โดยบริษัทดังกล่าวมีรายได้รวมต่อปี 14 ล้านบาท
การใช้งานซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ มีโทษทั้งจำและปรับ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ และเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิดำเนินคดีทางแพ่งกับองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยที่สำคัญองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์กำลังเสี่ยงกับการถูกโจมตีทางไซเบอร์ และภัยไซเบอร์อื่นๆ เนื่องจากซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิมีส่วนทำให้เกิดจุดอ่อนในระบบความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
จากผลสำรวจการใช้ซอฟต์แวร์ทั่วโลก โดยไอดีซี (IDC) ผู้นำด้านการวิจัยระดับโลกพบอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยในปี 2559 อยู่ที่ 69% ลดลงจาก 71% ในปี 2556 อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจังของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน การสร้างความตระหนักรู้ให้แก่องค์กรธุรกิจและภาคประชาชนของกรมทรัพย์สินทางปัญญา และการบังคับใช้กฎหมายเพื่อปราบปรามการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
อีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญมาก ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ซอฟต์แวร์ขององค์กรธุรกิจ ซึ่งเริ่มมีความเข้าใจแล้วว่า การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นั้น ไม่เพียงแต่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่ยังเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งปัญหาด้านภัยไซเบอร์ต่างๆ เนื่องจากการใช้งานซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิจะทำให้องค์กรธุรกิจไม่ได้รับการดูแลด้านระบบความมั่นคงปลอดภัยจากบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะติดมัลแวร์
ถึงแม้อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยจะลดลงอย่างต่อเนื่องจน แต่เป้าหมายของเราคือลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทยลงมาให้ใกล้เคียงหรือต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของเอเชียที่ร้อยละ 61 ให้ได้เร็วที่สุด
ทั้งนี้บก. ปอศ. ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการธุรกิจ โดยเฉพาะผู้บริหารองค์กร ให้ปรับเปลี่ยนมาใช้งานซอฟต์แวร์อย่างถูกต้องตามกฎหมายและมีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เพราะหากถูกดำเนินคดีฐานละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ หรือถูกโจมตีทางไซเบอร์ จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ การเงิน ข้อมูลธุรกิจที่สำคัญ ตลอดจนชื่อเสียงขององค์กรด้วย
ท่านสามารถแจ้งเบาะแสการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ผ่านทางสายด่วนที่ 0-2714-1010 หรือผ่านระบบออนไลน์ และสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.stop.in.th
Value of Software Illegally Used Reaches Over 90 Million Baht in First Quarter of 2017
ECD police raids involve interior design companies and auto-parts manufacturers in Bangkok and nearby provinces
The Economic Crime Suppression Division (ECD) is intensifying crackdown on software copyright violation, reporting over 50 business entities were found using unlicensed software on more than 600 PCs in the first quarter of 2017, and the value of software used illegally reaches over 90 million baht. Most raid cases involve interior design companies and auto-parts manufacturers in Bangkok and nearby provinces.
A type of software copyright violation commonly found is that business entities reproduce copies of software without authorization and use one licensed copy to install a program on multiple PCs. In ECD’s first-quarter report of raid cases, a Thai interior design company in Bangkok was found using software illegally on 21 PCs worth over 10 million baht. This company has an annual income of 14 million baht.
Under the Thai Copyright Act, use of unlicensed software may subject business entities and their management to criminal and civil penalties including substantial fines and imprisonment. Also, business entities that obtain software illegally are putting themselves at risk because they will not be entitled to modifications and updates addressing cybersecurity threats from software companies.
According to IDC’s Global Software Survey, 69% of the software used by enterprises in Thailand in 2016 was unlicensed, compared with 71% in 2013. This steady decline results from the commitment of relevant agencies including the Department of Intellectual Property (DIP) and ECD in seriously protecting and enforcing intellectual property rights through their public awareness and enforcement campaigns.
Another key is that business entities start to understand the implications of unlicensed software use for their business. Use of unlicensed software is not only violating copyright law but also makes business entities’ computer systems vulnerable to malware attacks.
Despite Thailand’s use of unlicensed software is on a steady decline, our goal is to get the rate of 69% closer to or below Asia’s average rate of 61% as soon as possible, according to ECD.
ECD is asking decision makers of business entities to ensure that only licensed software is used at the workplace. The legal and cybersecurity risks posed by use of unlicensed software can include failure in business operations, financial loss, data breach, reputational damage, etc.
You can report use of unlicensed software by calling 02-714-1010 or by reporting it online. More information is available at www.stop.in.th.