- Details
- Category: สภาอุตสาหกรรม
- Published: Thursday, 21 August 2014 22:51
- Hits: 3773
ดัชนีความเชื่อมั่นอุตฯเด้ง 3 เดือนติด หลังการเมืองนิ่ง-ค้าขายราบรื่น
แนวหน้า : ดัชนีความเชื่อมั่นอุตฯเด้ง 3 เดือนติด หลังการเมืองนิ่ง-ค้าขายราบรื่น วอนรัฐเร่งเบิกจ่ายกระตุ้นศก.
สอท. เผยดัชนีความเชื่อมั่นเดือนกรกฎาคมเพิ่มต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 หลังการเมืองคลี่คลาย ประชาชนมีความเชื่อมั่น ยอดสั่งซื้อสินค้าเพิ่ม แนะภาครัฐกำหนดนโยบายเศรษฐกิจให้ชัดเจน เร่งเบิกจ่ายงบ กระตุ้นการลงทุน
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยว่าผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนกรกฎาคม 2557 อยู่ที่ระดับ 89.7 ปรับเพิ่มจากระดับ 88.4 ในเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยค่าดัชนีฯที่เพิ่มขึ้นเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการที่ดีขึ้น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าดัชนี ได้แก่ ผู้ประกอบการเริ่มเห็นทิศทางและนโยบายที่ชัดเจนทางการเมือง ประกอบกับการดำเนินกิจการมีทิศทางที่ดีขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)เห็นได้จากดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในบางอุตสาหกรรมมียอดขายลดลง เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังตื่นตัวเรื่องการค้าชายแดน การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตลอดจนการให้ความสำคัญกับการลดต้นทุนการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ขณะที่ผู้ประกอบการส่งออกยังกังวลต่อการตัดสิทธิพิเศษด้านภาษี(จีเอสพี)ของสหภาพยุโรป ทำให้ต้องเร่งปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถพร้อมรับมือการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรง
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 103.1 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 101.9 ในเดือนมิถุนายนโดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวมที่ปรับตัวดีขึ้น
“ปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง ได้แก่สภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน และสถานการณ์การเมืองภายในประเทศ ส่วนที่กังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน”นายสุพันธุ์กล่าว
พร้อมกันนี้ผู้ประกอบการมีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐคือต้องการให้ภาครัฐกำหนดทิศทางและนโยบายทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน รวมทั้งเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้า ปัจจัยการผลิต แรงงาน เพื่อช่วยส่งเสริมการค้าชายแดน พร้อมสนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาสินค้าให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี
นายสุพันธุ์กล่าวว่า ทิศทางการเมืองที่เริ่มมีความชัดเจน จากการเข้าบริหารประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จนส่งผลต่อเนื่องให้สามารถแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ภายในสัปดาห์นี้จะผลักดันให้ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งปีขยายตัว 2%
ขณะที่ปี 2558 คาดว่าจะขยายตัวได้ 4.5-5% หากคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.)เร่งแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินกิจการต่างๆ โดยเฉพาะการแก้ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง โครงการภาครัฐควรสั่งซื้อวัตถุดิบจากเอสเอ็มอีในประเทศเป็นสัดส่วน 30% ส่งเสริมการค้าออนไลน์เพิ่มขึ้น ลดอัตราภาษีของธุรกิจเอสเอ็มอี ให้สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้ในสัดส่วน 50% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) ทั้งนี้สอท.จะนำดังกล่าวเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) พิจารณาในนัดถัดไป
ส่วนภาพรวมการส่งออกในปี 2558 อาจขยายตัวได้ถึง 5% จากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมหลักต่างๆ อาทิ กลุ่มยานยนต์ แต่ยังคงเป็นห่วงกลุ่มสินค้าการเกษตรที่มีราคาตกต่ำโดยเฉพาะยางพารามียอดส่งออกลดลงเกือบ 50% จำเป็นต้องแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้มากขึ้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ส่วนค่าเงินบาทหากแข็งหรืออ่อนค่าอยู่ในระดับ 50 สตางค์ จากระดับปัจจุบันที่ประมาณ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ยังไม่เป็นปัญหาต่อผู้ส่งออก
นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล รองประธาน สอท. ในฐานะประธานสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (เอสเอ็มไอ) กล่าวว่า สอท.จะเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีเช่นผลักดันให้นำภาษีเงินได้นิติบุคคล 1% มาใช้เป็นกองทุนในการขับเคลื่อนธุรกิจเอสเอ็มอี ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือ 10-15% ให้กับเอสเอ็มอีปรับหลักเกณฑ์การค้ำประกันเงินกู้ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จาก 18% เป็น 30-50% เป็นต้น
เศรษฐกิจซึมฉุดยอดผลิตรถวูบ ส.อ.ท.โอ่ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯก.ค.พุ่ง
ไทยโพสต์ : ศูนย์ฯ สิริกิติ์ * อุตฯ รถยนต์ยังทรุดต่อเนื่อง ยอดผลิตเดือน ก.ค.ยังวูบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 อ้างสาเหตุจากภาวะเศรษฐกิจซบ สิ้นสุดโครงการรถคันแรก เผยจับตาดูทิศทางในเดือน ก.ย. ก่อนปรับเป้าอีกครั้ง ด้าน ส.อ.ท.โวดัชนีความเชื่อมั่นพุ่งไม่หยุด หลังทิศทางการเมืองชัดเจน
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒน พงษ์ รองประธานและโฆษก กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดผลิตรถยนต์ในเดือน ก.ค.2557 มีการผลิตทั้งสิ้น 151,339 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 24.89% และลดลงจากเดือน มิ.ย.57 จำนวน 5.33% เนื่องจากในปี 2557 ไม่มีการผลิตรถยนต์ตามโครงการรถคันแรก นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัวลง ยังส่ง ผลกระทบต่อการผลิตรถจักร ยานยนต์ในเดือน ก.ค.ลดลง เหลือ 188,551 คัน จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ที่ 259,278 คัน หรือลดลง 27.287 คัน
"เมื่อแยกประเภทการผลิตในเดือน ก.ค.57 รถยนต์นั่ง มียอดการผลิต 58,666 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 33.23%, รถกระบะ 90,895 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15.71%, รถบรรทุก 1,716 คัน ลดลง 70.02 คัน, รถโดยสารขนาด 10 ตันขึ้นไป 62 คัน ลดลง 7.46% ส่วนยอดผลิตรถยนต์ในช่วง 7 เดือนของปีนี้ (ม.ค.-ก.ค.) มีทั้งสิ้น 1,103,4441 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 28.46%"นายสุรพงษ์กล่าว
ทั้งนี้ การผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายในประเทศ 7 เดือนแรกอยู่ที่ 448,902 คัน คิดเป็น 40.68% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลง 51.01 ส่วนการผลิตเพื่อการส่งออก 7 เดือนผลิตได้ 654,542 คัน คิดเป็น 59.32% ของการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.53%
"ต้องติดตามดูยอดขายในเดือน ก.ย.นี้ ว่ามีทิศทางอย่างไรก่อนปรับเป้าหมายการผลิตปีนี้ใหม่ ยอมรับว่าเป็นห่วงยอดขายในประเทศที่อาจไม่ถึงเป้าที่ตั้งไว้ 1 ล้านคัน เพราะแรงซื้อยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่ก็หวังว่าจะมีการเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ทำให้ยอดขายในสิ้นปีนี้กระเตื้องขึ้น แต่ส่งออกน่าจะได้ตามเป้า 1.2 ล้านคัน เพราะการส่งออกเริ่มดีขึ้น" นายสุรพงษ์กล่าว
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประ ธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประ เทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือน ก.ค.2557 อยู่ที่ระดับ 89.7 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 88.4 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นการปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และยังเป็นค่าดัชนีสูงสุดในรอบ 8 เดือน นับตั้ง แต่ พ.ย.56 เนื่องจากทิศทางการเมืองที่ชัดเจนขึ้น การประ กอบกิจการโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็ม อี มีดัชนีคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น
นายสุพันธุ์กล่าวว่า ส.อ.ท. เตรียมที่เสนอต่อรัฐบาลใหม่ ทั้งเรื่องการแก้ไขกฎหมายและอุปสรรคของการทำธุรกิจที่เกี่ยว ข้อง การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอี ให้เป็นรูปธรรมตามแผนการส่งเสริมให้เอสเอ็มอีเป็นวาระแห่งชาติ การเร่งเจรจาเขตการค้าเสรีหรือ FTA ไทย-อียู เนื่องจากไทยถูกตัดสิทธิพิเศษอัตราภาษีศุลกา กร หรือ GSP รวมถึงมาตรการส่งเสริมการใช้สินค้าไทย หรือ Made in Thailand เป็นต้น
นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล รองประธาน ส.อ.ท. ในฐานะประธานสถาบันเอสเอ็มอีการ ผลิต หรือ SMI กล่าวว่า ส.อ.ท. จะเสนอภาครัฐในการขับเคลื่อนเอสเอ็มอีเป็นวาระแห่งชาติ ด้วย การปรับปรุงกลไกการส่งเสริมฯ เช่น การผลักดันให้ภาครัฐจัดสรรงบประมาณ 30% ของงบจัดซื้อจัดจ้างมายังธุรกิจเอสเอ็มอี ผลักดันให้นำภาษีเงินได้นิติบุคคล 1% หรือคิดเป็นเงินประมาณ 6,000 ล้านบาท มาจัดตั้งเป็นกองทุนในการขับเคลื่อนธุรกิจเอสเอ็มอี ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือ 10-15% กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เป็นต้น.