- Details
- Category: สภาอุตสาหกรรม
- Published: Monday, 23 July 2018 23:27
- Hits: 7681
ส.อ.ท.เผยดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม มิ.ย.61 ที่ 91.7 สูงสุดในรอบ 42 เดือน
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิ.ย.61 อยู่ที่ระดับ 91.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 90.2 ในเดือนพ.ค.61 โดยค่าดัชนีฯ สูงสุดในรอบ 42 เดือนนับตั้งแต่เดือนม.ค.58 ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากองค์ประกอบยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ดัชนี ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และสูงสุดในรอบ 42 เดือน โดยความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สะท้อนว่าผู้ประกอบการมองภาพรวมของเศรษฐกิจภายในประเทศว่ายังมีการขยายตัวต่อเนื่อง
อีกทั้ง ยังได้รับผลดีจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก 2018 ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ขณะเดียวกัน การฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลกส่งผลดีต่อการส่งออกของไทย สะท้อนจากดัชนียอดคำสั่งซื้อ และยอดขายจากต่างประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ยังไม่ครอบคลุมทุกภูมิภาค ตลอดจนราคาน้ำมันที่มีความผันผวน และปัญหาการแข่งขันด้านราคา
ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า ผู้ประกอบการได้เสนอให้ภาครัฐเร่งเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในส่วนภูมิภาค ซึ่งจะมีส่วนสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมการใช้สินค้าที่ผลิตและใช้วัตถุดิบในประเทศ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดย่อม ซึ่งเป็นผู้ผลิตต้นน้ำให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่
"ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีความกังวลเรื่องผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้า สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ส่วนความกังวลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนนั้นลดลงจากช่วงก่อนหน้านี้"นายสุพันธุ์ กล่าว
สำหรับ ผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้านั้น นายสุพันธ์ กล่าวว่า เป็นโอกาสดีที่จะผลักดันแนวคิดการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศไทย (เมดอินไทยแลนด์) ให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่จะมีส่วนช่วยสนับสนุนและผลักดันภาคอุตสาหกรรมในประเทศให้ขยายตัวเติบโตต่อไปได้
อินโฟเควสท์
ดัชนี เชื่อมั่นสูงสุดใน 42 เดือน ชงนายกฯหนุนซื้อของไทย/ซิตี้แบงก์ปรับจีดีพี
ไทยโพสต์ : ศูนย์สิริกิติ์ * ส.อ.ท.ปลื้มดัชนีเชื่อมั่นเอกชนอยู่ที่ 91.7 สูงสุดในรอบ 42 เดือน ตั้งแต่ ม.ค.58 สะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง ซิตี้แบงก์คาดจีดีพีไทยปีนี้และปี 62 ขยายตัว 4.2%
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประ ธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการประจำเดือน มิ.ย.2561 ว่าอยู่ที่ระดับ 91.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 90.2 ในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา โดยเป็นค่าดัชนีที่สูงสุดในรอบ 42 เดือน นับตั้งแต่เดือน ม.ค.2558 โดยความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สะท้อนว่าผู้ประกอบการมองภาพรวมของเศรษฐกิจภายในประเทศยังมีการขยายตัวต่อเนื่อง
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นคาด การณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 109.1 เพิ่มขึ้นจากระดับ 108.4 ในเดือน พ.ค. องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งความเชื่อมั่นที่เพิ่มสูงขึ้นมาจากปัจจัยยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขาย ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเสนอให้ภาครัฐเร่งเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในส่วนภูมิภาค ซึ่งจะมีส่วนสำคัญต่อ การขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค
นายสุพันธุ์กล่าวว่า ส.อ.ท. จะหาเวทีเพื่อเสนอแผนการผลักดันการใช้สินค้าของผู้ประกอบการไทยในภาครัฐ ต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้มีความชัดเจนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งในการสนับสนุนสินค้าไทย โดยจะต้องมีกรอบทางกฎหมายที่ชัดเจน ใช้เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเกณฑ์กำหนด โดยอาจจะมีข้อเสนอแนะให้มีบทบังคับด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้ทางกรมบัญชีกลางได้มีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่กำหนดเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อสนับสนุนสินค้าไทยอยู่แล้ว
"เราอยากจะผลักดันเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นการสนับสนุนเศรษฐ กิจที่สำคัญอีกด้านหนึ่ง โดยอาศัยให้ภาครัฐเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ซึ่งตอนนี้ต้องยอมรับว่าสิน ค้าไทยมีมาตรฐานเพิ่มมากขึ้นแล้ว และพอที่จะมั่นใจได้ในการใช้งาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ ส.อ.ท.จะหาโอกาสเพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีต่อไป" นายสุพันธุ์กล่าว
นายดอน จรรย์ศุภรินทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบุคคลธนกิจ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประ เทศไทย เปิดเผยว่า คาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไทยในปี 61 และปี 62 จะขยายตัว 4.2% โดยมีปัจจัยหลักที่สนับสนุน ได้แก่ การลงทุนและการบริโภคภาย ในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นจากภาคสาธารณะและภาคเอกชน รวมถึงธุรกิจส่งออกของประเทศไทยที่มีการเติบโตสูงกว่าที่คาดการณ์ ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากความกังวลทางการค้าและกฎหมายการใช้จ่ายของภาครัฐที่เข้มงวดขึ้น ด้านระดับอัตราเงินเฟ้อในปีนี้มองว่า โดยเฉลี่ย จะอยู่ที่ 1.4% และจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 1.8% ในปีหน้า
นายกำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า บล.กสิกรไทย ได้ปรับเพิ่มประมาณการจีดีพีไทยปีนี้ขยายตัว 4.5% จากเดิมคาดอยู่ที่ 4% มาจากการปรับเพิ่มคาดการณ์การส่งออกเป็นเติบโต 7.7% จากเดิมคาดอยู่ที่ 5.3% นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็น 9% จากเดิม 6.4% และภาคการลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 9.9% จากเดิมคาด 6.8%.
ดัชนี ความเชื่อมั่นพุ่ง แตะระดับ 91.7 สูงสุดในรอบ 42 เดือน
แนวหน้า : นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวถึงผลการสำรวจ ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการประจำเดือนมิถุนายน 2561 อยู่ที่ระดับ 91.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 90.2 โดยค่าดัชนีฯ สูงสุดในรอบ 42 เดือน นับตั้งแต่ เดือนมกราคม 2558
โดยความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สะท้อนว่าผู้ประกอบการมองภาพรวของเศรษฐกิจ ภายในประเทศ ยังมีการขยายตัวต่อเนื่อง
อีกทั้ง ยังได้รับผลดีจากการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการขายในช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก 2018 ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ขณะเดียวกันการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลกส่งผลดีต่อการส่งออกของไทย สะท้อนจากดัชนียอด คำสั่งซื้อและยอดขายจากต่างประเทศที่ปรับตัว เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 102.7 ปรับตัว เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ระดับ 101.6 อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีความ กังวลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ยังไม่ ครอบคลุมทุกภูมิภาค ตลอดจนราคาน้ำมันที่มี ความผันผวนและปัญหาการแข่งขันด้านราคา
นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธาน สอท. กล่าวว่าอยากเสนอให้ภาครัฐ เร่งเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในส่วนภูมิภาค ซึ่งจะมี ส่วนสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมการใช้สินค้าที่ผลิต และใช้วัตถุดิบในประเทศเพื่อสนับสนุน ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะอุตสาหกรรม ขนาดย่อมซึ่งเป็นผู้ผลิตต้นน้ำให้กับ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธาน และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สอท. กล่าวว่าจำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ ในเดือนมิถุนายน 2561 มีทั้งสิ้น 188,970 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกับปีก่อน 7.71% แม้ การผลิตเพื่อส่งออกมีจำนวนทั้งสิ้น 95,563 คัน ลดลง 2.15% แต่การผลิตเพื่อจำหน่าย ในประเทศผลิตได้ 93,407 คัน เพิ่มขึ้น 20.1% สอดคล้องกับยอดขายในประเทศมีจำนวน ทั้งสิ้น 87,854 คัน เพิ่มขึ้น 25.9%
จากการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ในประเทศ แนวโน้มการลงทุนของภาครัฐและ ภาคเอกชนเพิ่มขึ้นการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้นภาคการก่อสร้าง เริ่มดีขึ้นผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นและ มีราคาดีภาคการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้น การ ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยรวมทั้งนักท่องเที่ยว ยังเดินทางมาประเทศไทยเพิ่มขึ้น
"ส่งผลให้ครึ่งปีแรกยอดผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายในประเทศมีทั้งสิ้น 484,371 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกับปีก่อน 17.45% จึงมีความเป็นได้ที่ปีนี้จะมียอดผลิตในประเทศอยู่ที่ 9.5-9.8 แสนคัน สูงกว่าเป้าหมายเดิมคาดไว้อยู่ 9 แสนคัน ซึ่งวันที่ 25 กรกฎาคมนี้ กลุ่มจะหารือปรับเป้าหมายอีกครั้ง" นายสุรพงษ์ กล่าว
ขณะที่การส่งออกรถยนต์เดือนมิถุนายน 2561 เพิ่มขึ้น 2.36% มีจำนวนทั้งสิ้น 95,284 คัน จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเกือบทุกตลาด ยกเว้น ตลาดออสเตรเลีย และตลาดยุโรป โดยการส่งออกไปยังตลาดตะวันออกกลางกลับมาเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
"ส่งผลให้การผลิตเพื่อส่งออกรวม 6 เดือน มีทั้งสิ้น 572,198 คัน เพิ่มขึ้น 6.24% ซึ่งต้องติดตามมาตรการกีดกันการค้าของสหรัฐและจีนว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาด รถยนต์มากแค่ไหน แต่หากไม่มีปัจจัยอะไร เข้ามากระทบและตลาดรถยนต์ขยายตัวได้ ในระดับนี้ต่อเนื่อง ก็มีโอกาสที่ไทยจะผลิต รถยนต์เพื่อส่งออกได้ 1.1 ล้านคัน ตาม เป้าหมายที่คาดไว้" นายสุรพงษ์ กล่าว