WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

CBเสาวณย ไทยรงโรจน e5b5bม.หอการค้าไทย เปิด 10 ธุรกิจดาวรุ่งปี 61 ธุรกิจบริการด้านโครงข่ายการสื่อสารได้แชมป์ตามกระแสเทคโนโลยี

       นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลการวิจัยทางธุรกิจ เรื่อง "10 อันดับ ธุรกิจดาวรุ่ง และ 10 อันดับ ธุรกิจดาวร่วง ในปี 2561" ของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่งในปีหน้า ได้แก่ อันดับ 1 ธุรกิจการให้บริการด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร และอุปกรณ์ (ผู้ให้บริการโครงข่าย) อันดับ 2 ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม อันดับ 3 ธุรกิจ e-commerce อันดับ 4 ธุรกิจเครื่องสำอางและครีมบำรุงผิว อันดับ 5 ได้คะแนนเท่ากัน 2 กลุ่ม คือ ธุรกิจด้านปิโตรเคมีและพลาสติก และธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์

      อันดับ 6 ได้คะแนนเท่ากัน 3 กลุ่ม คือ ธุรกิจ Modern Trade, ธุรกิจบริการทางด้านการเงิน, ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม อันดับ 7 ธุรกิจร้านขายยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ อันดับ 8 ได้คะแนนเท่ากัน 2 กลุ่ม คือ ธุรกิจด้านการศึกษา และธุรกิจด้านการท่องเที่ยว อันดับ 9 ได้คะแนนเท่ากัน 3 กลุ่ม คือ ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บ้านเช่า ห้องเช่า, ธุรกิจด้านความเชื่อ โหราศาสตร์ เครื่องรางของขลัง และอันดับ 10 ได้คะแนนเท่ากัน 2 กุล่ม คือ ธุรกิจวัสดุก่อสร้างและรับเหมา, ธุรกิจร้านเสริมสวย

      นางเสาวณีย์ กล่าวว่าเหตุผลที่ธุรกิจให้บริการด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร และอุปกรณ์ (การให้บริการ internet และ เครือข่าย) เป็นธุรกิจเด่นอันดับ 1 ในปี 2561 เนื่องจากมีหลายปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ประกอบด้วย นโยบายส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานด้านอินเตอร์เน็ตระดับชุมชน, สังคมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ส่งผลให้การใช้ชีวิตในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น, การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของไทยที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น,นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐที่ส่งเสริมให้มมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น, การพัฒนาอุปกรณ์สื่อสารหรือเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องมีมากขึ้น, อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ มีราคาต่ำลง และมีฟังก์ชั่นการทำงานที่หลากหลาย อย่างไรก็ดี ธุรกิจนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่รวดเร็ว, ธุรกิจมีการแข่งขันสูงในเรื่องของระดับราคาและคุณภาพ และคู่แข่งขันที่มีจำนวนมากในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี

     ส่วนธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม ซึ่งเป็นธุรกิจเด่นอันดับ 2 ในปีหน้านั้น เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญ คือ กระแสการให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพและการดูแลความงามที่มีอย่างต่อเนื่อง, การบริการทางการแพทย์และความงามของประเทศไทยมีคุณภาพดี และราคาไม่แพงในสายตาของชาวไทยและชาวต่างประเทศ, เทคโนโลยีทางการแพทย์และนวัตกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น, จำนวนผู้สูงอายุของประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ดี ธุรกิจนี้ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การปลอมแปลงเวชภัณฑ์ และการหลอกลวงในการให้บริการจนเป็นเหตุให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือ, มาตรฐานความปลอดภัยของอุปกรณ์ต่างๆ, จำนวนผู้เชี่ยวชาญและความพอเพียงของบุคลากรในการรักษา โดยเฉพาะสาขาพยาบาล และแพทย์เฉพาะทางที่ยังมีจำกัด

      ส่วนธุรกิจ e-commerce ซึ่งเป็นธุรกิจเด่นอันดับ 3 ในปีหน้านั้น เนื่องจากมีช่องทางการจำหน่ายจำนวนมาก และต้นทุนต่ำ ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน, พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวก ทำให้นิยมเลือกซื้อสินค้าออนไลน์, การมีนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ และการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการในการส่งเสริมช่องทางการขายมีมากขึ้น, มีผู้ประกอบการในการให้บริการแพลตฟอร์มรายใหญ่เข้ามาขยายธุรกิจในไทย เช่น อาลีบาบา และลาซาด้า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ธุรกิจดังกล่าวยังมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ นโยบายเก็บภาษีธุรกิจค้าขายออนไลน์, การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งจากคู่แข่งรายเดิมและคู่แข่งรายใหม่, ปัญหาการหลอกขายสินค้า และข้อจำกัดในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของผู้บริโภคบางส่วน

      นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ธุรกิจการให้บริการด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร และอุปกรณ์ ที่ได้แชมป์ธุรกิจดาวเด่นสำหรับปี 2561 นั้น ถือว่าเป็นไปตามกระแสหลักของทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยเองในส่วนของภาครัฐได้ให้การสนับสนุนและมีการวางรากฐานและโครงสร้างต่างๆ เพื่อรองรับต่อการพัฒนาในด้านนี้ เช่น อินเตอร์เน็ตชุมชน อินเตอร์เน็ตหมู่บ้าน เป็นต้น อันจะทำให้ประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนเข้าสู่ดิจิทัล อีโคโนมีอย่างเต็มรูปแบบในปี 2561

      "10 ธุรกิจเด่นดังกล่าวเป็นไปตาม Mega trend รอบนี้ถือว่าธุรกิจความสวยความงามเสียแชมป์ให้กับธุรกิจด้านไอที จากที่ติดอันดับหนึ่งมาตลอด 5 ปี เพราะประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมดิจิทัล อิโคโนมี และจะถือเป็นการเคลื่อนเข้าสู่ระบบไอทีอย่างเต็มรูปแบบในปี 61 หลังจากมีการวางโครงการอินเตอร์เน็ตหมู่บ้าน ไวไฟทั่วประเทศ ซึ่งรัฐบาลจะขับเคลื่อนไอที ไปพร้อมๆ กับอีคอมเมิร์ส และดิจิทัลทุกรูปแบบ เป็นการเปลี่ยนยุคสมัยเข้าสู่ไอที จึงทำให้ไอทีคว้าแชมป์เป็นปีแรกจากที่เราทำการสำรวจมา 6 ปี" นายธนวรรธน์ กล่าว

      ทั้งนี้ ผลการวิจัยดังกล่าวอยู่ภายใต้สมมติฐานเศรษฐกิจไทยในปี 61 เติบโตได้ 4.2% ซึ่งการที่เศรษฐกิจไทยโตได้มากกว่า 4% ส่งผลให้ประชาชนมีรายได้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังมาจากสมมติฐานที่การลงทุนภาครัฐ การส่งออก และการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง กำลังซื้อของประชาชนฐานรากที่เพิ่มขึ้นตามโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ และการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก, การเลือกตั้งในประเทศทุกระดับทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ตลอดจนแนวนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การพัฒนาอินเตอร์เน็ตตำบล เป็นต้น

      ส่วนปัจจัยที่ยังบั่นทอน เช่น นโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สร้างความไม่แน่นอนให้กับเศรษฐกิจโลก, สถานการณ์ความขัดแย้งและการก่อการร้ายระหว่างประเทศ, ปัญหาหนี้ครัวเรือนและหนี้เสียของ SMEs ทำให้สถาบันการเงินมีความเข้มงวดมากขึ้นในการพิจารณาให้สินเชื่อ, ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน, การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่รวดเร็ว, การเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้าจาก พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างใหม่ และข้อตกลงเสรีการค้าอาเซียน-จีน ทำให้สินค้าจีนกว่า 700 รายการมีอัตราภาษีเหลือ 0%

      ด้านนายวชิร คูณทวีเทพ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า สำหรับ 10 อันดับธุรกิจดาวร่วงในปี 2561 ได้แก่ อันดับ 1 ธุรกิจหัตถกรรม อันดับ 2 ธุรกิจด้ารการผลิตเหมืองแร่ อันดับ 3 ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสาร วารสาร และการเช่าหนังสือ อันดับ 4 ธุรกิจผลิตและจำหน่ายเครื่องเล่น DVD, CD อันดับ 5 ได้คะแนนเท่ากัน 2 กลุ่ม คือ ธุรกิจผลิตและจำหน่ายแผ่น DVD, CD และธุรกิจให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน อันดับ 6 ธุรกิจเคเบิลทีวี อันดับ 7 ธุรกิจการผลิตสินค้าเกษตร เช่น ยาง ปาล์ม ข้าว อันดับ 8 ธุรกิจร้านขายโทรศัพท์มือถือมือสอง อันดับ 9 ธุรกิจร้านค้าแบบดั้งเดิม และอันดับ 10 ธุรกิจร้านอินเทอร์เน็ต

อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!