WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

UTCCธนวรรธน พลวชยม.หอการค้าไทย หั่นเป้า จีดีพีปีนี้เหลือโต 3-3.5% จากเดิมคาดโต 3.5-4 % ส่งออกเหลือโต 0-1% จาก 1-2 % หลังความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มี.ค.58 อยู่ที่ 77.7 ต่ำสุดในรอบ 9 เดือน

    ม.หอการค้าไทย หั่นเป้า จีดีพีปีนี้เหลือโต 3-3.5% จากเดิมคาดโต 3.5-4 % ส่งออกเหลือโต 0-1% จากเดิม 1-2 %  หลังดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มี.ค.58 อยู่ที่ 77.7 ต่ำสุดในรอบ 9 เดือน เหตุกังวลความ ไม่แน่นอนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย 

     นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หอการค้าเตรียมปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพีปีนี้ลงเหลือ 3-3.5% จากเดิมที่คาดโต 1-2 % เนื่องจากเศรษฐกิจยังมีสัญญาณชะลอตัว โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกน่าจะขยายตัวได้ 2.5% ไตรมาส  2 ขยายตัว 2.5-3% ขณะที่ครึ่งปีหลังคาดขยายตัว 4%

      นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มปรับลดประมาณการส่งออก เหลือ 0-1% จาก 3-4% โดยหลังจากนี้ไปอานิสงส์ต่อหารขับเคลื่อนที่สำคัญจะมาจากการเร่งเบิกจ่ยงบประมาณการลงทุนของภาครัฐ ทั้งนี้ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รายงานผลการทบทวนตัวเลข จีดีพีและส่งออกปีนี้อย่างเป็นทางการอีกครั้ง วันที่ 16 เม.ย. นี้  

     นายธนวรรธน์ กล่าวถึงการยกเลิกกฎอัยการและใช้มาตรา 44 ในการบริหารประเทศแทนนั้น มองว่าจะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยว และจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฟื้น ซึ่งน่าจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวคลายความกังวลต่อการเดินทางท่องเที่ยวได้บ้าง ส่วนการเลื่อนการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น มองว่า เป็นเรื่องที่ดีเพราะจะทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้บ้าง

      "รัฐบาลเชื่อว่ามาตรา 44 จะเอื้อต่อเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว แต่คงต้องจับตาดูว่ารัฐบาลจะใช้มาตรา 44 อย่างไรบ้าง"นายธนวรรธน์กล่าว

     นอกจากนี้  มองว่า ในช่วงไตรมาส  2 จะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่จะต้องจับตาดูมาตรการต่างๆที่ออกมา รวมถึงการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ  ธปท.ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมาด้วย โดยหากเศรษฐกิจฟื้นมองว่า ธปท.คงไม่จำเป็นที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยแล้ว แต่หากเศรษฐกิจยังมีปัญหาและมีการฟื้นตัวล่าช้า อาจจะต้องพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ในช่วงไตรมาส 2-3

   ทั้งนี้ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มี.ค. อยู่ที่ 77.7 จาก 79.1 ใน ก.พ. ซึ่ง เป็นการปรับลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และ ต่ำสุดในรอบ 9 เดือน ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่ปรับลดลง ในมี.ค. เนื่องจากผู้บริโภคกังวลความ ไม่แน่นอนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย  รวมถึงกังวลราคายางพาราและข้าวในระดับต่ำ ขณะที่ภัยแล้งกระทบภาค การเกษตร ส่วนการส่งออกยังฟื้นตัวไม่ดีนัก  รวมทั้ง มาจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ  ธปท.ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี เหลือ 3.8% จาก 4% หลังมองเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า นอกจากนี้ยังเป็นผลจากความเชื่อมั่นภาคเอกชนที่ลดลง และความล่าช้าในการลงทุนภาครัฐ

    นอกจากนี้ยังเป็นผลจาก ดัชนี ในตลาดหุ้นไทยเดือนมีนาคมปรับลดลง 81.07 จุด ปรับลดลงจาก 1,587.21 จุด ในเดือนกุมภาพันธ์ มาอยู่ที่ 1,505.94 จุด ในสิ้นเดือนมีนาคม ประกอบกับการส่งออกของไทยในเดือนกุมภาพันธ์มีมูลค่า 17,229.75 ล้านดอลลาร์ ลดลง 6.15% ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเฉพาะข้าวและยางพารา 

    ด้านของเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าเล็กน้อยผู้บริโภคมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวในระดับสูงแม้อัตราเงินเฟ้อจะติดลบ ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก 

     "เป็นภาพที่เรายังไม่เห็นสัญญาณที่จะดี ความเชื่อมั่นผู้บริโภคด้านเศรษฐกิจต่ำสุดในรอบ 9 เดือน สัญญาณลงยังเกิดขึ้นได้อีก ผู้ที่ตอบค่อนข้างท้อแท้ เพราะราคาสินค้าเกษตรไม่สามารถเพิ่มขึ้น ข้อมูลข่าวสารไม่ค่อยดีทั้งการส่งออก และเรื่องการจัดเก็บภาษี ทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคไม่ได้ลดลงมากเมื่อมีการชะลอออกไปบ้าง"นายธนวรรธน์ กล่าว 

    สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ทึ่ 67.1 จาก 68.4 ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 9 เดือนนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 

   ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคตในอีก 6 เดือนข้างหน้า ปรับลดลงมาอยู่ที่ 78.9 จาก  80.3 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 8 เดือน 

    อนึ่ง การสำรวจความเห็นประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับความเชื่อมั่นที่มีต่อเศรษฐกิจนั้น ระดับดัชนีที่สูงกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคยังเห็นว่าภาวะการณ์นั้นๆ อยู่ในระดับปกติ แต่หากดัชนีต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภครู้สึกไม่มั่นใจต่อระบบเศรษฐกิจ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!