WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมคด จาตศรพทกษไทย-เมียนมาเร่งตั้งเขตศก.พิเศษทวายตกลงใช้เงินสกุลบาท-จ๊าดเอาใจนักลงทุน

     แนวหน้า : ไทย-เมียนมา ถกแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย "สมคิด" คาดสรุปปลายไตรมาสแรก ปี'59 ก่อสร้างถนน ท่าเรือ เส้นทางรถไฟเชื่อม ท่าเรือน้ำลึกทวาย พร้อมใช้เงินสกุลบาท-จ๊าด ในพื้นที่เพิ่มความสะดวกให้กับนักลงทุน หวังดึงกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มาลงทุนในอาเซียนมากขึ้น

     นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายก รัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุม คณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทยและ เมียนมา เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง หรือ JHC ครั้งที่ 5 ว่า ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าของโครงการทวายเป็นไปได้ด้วยดี ซึ่งครั้งนี้ญี่ปุ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้องมากขึ้น และที่ผ่านมาเมียนมาเดินหน้าพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวอย่างเต็มที่ เชื่อว่าหากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายแล้วเสร็จจะทำให้ประเทศในแถบนี้ได้รับผลดีตามไปด้วย โดยเฉพาะการค้าและการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้ามาลงทุน ในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น ซึ่งในส่วนของไทยที่มีการพัฒนา เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ หรือ East West Corridor จะทำให้ไทยได้ประโยชน์จากการพัฒนามากขึ้น

     ทั้งนี้ คาดว่า จะสรุปแผนการก่อสร้างได้ช่วงปลายไตรมาส ที่ 1 ของปี 2559 เพื่อดำเนินการตามแผนการก่อสร้างต่างๆ เช่น ถนน ท่าเรือ เส้นทางรถไฟที่เชื่อมเข้าท่าเรือน้ำลึกทวาย โดยมีคณะกรรมการบริหารโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และกลุ่มบริษัทผู้พัฒนา คือ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนท์ บริษัทสวนอุตสาหกรรมโรจนะ และบริษัท LNG Plus international เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง

       "เมียนมามีความมั่นใจมากขึ้นว่าแผนการดำเนินการก่อสร้างโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายอย่างเต็มรูปแบบ หรือฟลูเฟส จะเป็นไปได้ หลังจากที่ญี่ปุ่นเข้ามาร่วมลงทุนโดยคณะกรรมการไทยเมียนมาจะประชุมกันอีกครั้งช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2559 เพื่อสรุปมูลค่าโครงการลงทุนทั้งหมดจากเดิม 4 แสนล้านบาท จะก่อสร้างหลายโครงการ เช่น ขยายถนน 4 เลน โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ การตั้งนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมเหล็กและเคมีภัณฑ์ ท่าเรือน้ำลึก"

      ส่วนบริษัทที่ร่วมลงทุนพิเศษ หรือ SPV ระหว่างไทย เมียนมา และญี่ปุ่น จะทำหน้าที่ 3 ด้านคือ การบริหารโครงการตามสัญญาตามแผน ร่วมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั้งท่าเรือ ถนน โครงการโรงไฟฟ้า ก่อสร้างเขื่อน ก่อตั้งนิคมอุตสาหกรรม และร่วมวางแผนแม่บทของโครงการทั้งหมด โดยแต่ละประเทศจะนำเงินลงทุนเพื่อจัดตั้งบริษัท SPV แห่งละ 6 ล้านบาท

       นอกจากนี้ ไทยและเมียนมา ยังบรรลุข้อตกลงใน การใช้เงินสกุลบาท-จ๊าด ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายระหว่างไทย เมียนมา เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุน และความร่วมมือในการให้บริษัทประกันต่างชาติสามารถให้บริการการเงินในเขตเศรษฐพิเศษทวายเพื่อสนับสนุนโครงการลงทุน นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ขณะนี้มีเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศสนใจเข้ามาร่วมลงทุน ในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายแล้ว 78 ราย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เข้าไปลงทุน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากการประชุมคณะกรรมการ ร่วมระดับสูงระหว่างไทย-เมียนมา เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 5 นี้แล้วจะมีการประชุมคณะกรรมการย่อยของทั้ง 2 ประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ที่เมียนมา ก่อนจะประชุมคณะกรรมการชุดดังกล่าวเป็นครั้งที่ 6 ต่อไป

สมคิด คาดเริ่มก่อสร้างนิคมอุตฯ ทวายเฟสแรกในปลาย มี.ค.59

     นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทย-เมียนมา เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 5 ว่า คาดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายระยะแรก จะสามารถเริ่มงานก่อสร้างในปลายไตรมาสแรกปี 59 หรือปลายเดือนมี.ค.59

     ขณะเดียวกัน สามารถหารือการพัฒนาเขตเศรษฐกิจทวายในส่วนพื้นที่เหลือทั้งหมด (Full phase) ร่วมกัน 3 ฝ่าย คือ ไทย-เมียนมา และญี่ปุ่น โดยไม่จำเป็นต้องรอให้เฟสแรกก่อสร้างเสร็จ ทั้งนี้คาดว่าจะได้ข้อสรุปในการประชุมครั้งหน้าในช่วงปลายเดือน ก.พ.-ต้นมี.ค.59 ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ของเมียนมา ทั้งนี้ จะมีการลงทุนในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อาทิ เหล็ก ปุ๋ยเคมี และยังมีการลงทุนท่าเรือน้ำลึกทวาย โดยเชื่อว่าไทยกับเมียนมาจะเป็นพาร์ทเนอร์การค้า เพราะด้านแม่สอด-เมียวดีมีการค้าที่เกื้อกูลกัน

      "โครงการทวาย เป็นโครงการที่เมียนมาเอาจริงเอาจัง เพราะโครงการนี้ทำให้เกิดประโยชน์กับเมียนมา และเป็นประโยชน์ต่อประเทศใกล้เคียง ตอนแรกเขาก็มีความกังวล แต่เมื่อทางญี่ปุ่นแสดงความมุ่งมั่นเข้ามาร่วม ทำให้โครงการทวายเป็นจริงขึ้นมา" นายสมคิด กล่าว

       อย่างไรก็ดี นอกจากเมียนมาแล้ว ในปลายสัปดาห์นี้คณะรัฐมนตรีของไทยและกัมพูชาจะมีการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมกัน โดยรัฐมนตรีเข้าร่วมทั้งหมด 17 คน ขณะที่ในวันที่ 17-18 ธ.ค.จะมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากจีนจำนวน 12 คน พร้อมด้วยนักธุรกิจจีนเข้ามาด้วย 20 คน และวันที่ 19 ธ.ค. จีนจะร่วมวางศิลาฤกษ์โครงการความร่วมมือรถไฟฟ้าไทย-จีน ที่สถานีควบคุมรถที่เชียงรากน้อย

      "จีนแสดงความสนใจและกระตือรือร้นในการเข้าประชุมร่วมกับไทย เรื่องรถไฟเป็นแค่ส่วนประกอบ เขาต้องการกระชับทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว" รองนายกรัฐมนตรีกล่าว

     โดยวันนี้ญี่ปุ่นได้ลงนามในข้อตกลงของผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลเฉพาะกิจ(SPV) ระหว่างธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(JBIC) ในฐานะตัวแทนรัฐบาลญี่ปุ่น สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน(สพพ.) ในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทย และสำนักความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของเมียนมา(FERO) ในฐานะตัวแทนรัฐบาลเมียนมาเพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาหลักให้กับคณะกรรมการบริหารโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย โดยถือหุ้นในสัดส่วนเท่ากันและลงทุนฝ่ายละ 6 ล้านบาท

     นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า SPV มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารโครงการ และลงทุนสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการ เช่น ท่าเรือ ถนน โรงไฟฟ้า ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานของเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย เปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนได้ นอกจากนี้ SPV จะวางแผนแม่บทของโครงการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำ แต่เมื่อญี่ปุ่นสนใจเข้าร่วมก็จะพิจารณาแผนและอาจมีการปรับปรุงได้หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ให้ข้อสังเกต เช่น โครงการถนน และท่าเรือ เป็นต้น

     ด้านนายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) กล่าวว่า ที่ประชุม JHC ครั้งนี้ได้เห็นชอบร่วมกันในแนวนโยบายการใช้เงินบาทของไทยและเงินจ๊าดของเมียนมา เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การค้าและการลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย รวมถึงความเป็นไปได้ในการให้บริษัทประกันต่างชาติสามารถให้บริการทางการเงินในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายเพื่อสนับสนุนโครงการ ซึ่งได้มอบหมายให้คณะทำงานร่วมไทย-เมียนมา ด้านการเงิน การลงทุน นำไปหารือเพื่อให้ข้อสรุปร่วมกันต่อไป

     ในที่ประชุม JHC วันนี้ ได้รับทราบความคืบหน้าโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายที่ให้สัญญาสัมปทานโครงการระยะแรกที่มีพื้นที่ 27 ตร.กม.ให้กับกลุ่มผู้พัฒนา คือ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์(ITD) บมจ.สวนอุตสาหกรรมโรจนะ(ROJNA) และ บริษัท LNG Plus International จำกัด หลังจากลงนามไปเมื่อ 5 ส.ค.58 ซึ่งขณะนี้การดำเนินงานตามเงื่อนไขมีความคืบหน้าเป็นไปตามกำหนด เช่น การเจรจาข้อสรุปข้อตกลงสัมปทานสถานีรับ LNG ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการผลิตไฟฟ้าสำหรับโครงการนี้ระยะแรก

    อีกทั้ง อยู่ระหว่างการจัดทำแผนการย้ายถิ่นฐานและการจ่ายค่าชดเชยประชากรที่ได้รับผลกระทบให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติขององค์กรระหว่างประเทศ พร้อมทั้งมีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(EIA) เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างยั่งยืน รวมถึงอยู่ระหว่างการจัดตั้งศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ(OSSC) เพื่อให้บริการแก่นักลงทุนนานาชาติในอนาคต

     สำหรับ โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 270 ตร.กม. และแบ่งพัฒนาระยะแรกแล้ว 27 ตร.กม.

      อย่างไรก็ดี บ่ายวันนี้ได้มีการประชุมคณะทำงานร่วม 3 ฝ่าย เพื่อหารือและวางแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายร่วมกันในระยะยาว

     โดยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่าหลังการประชุมคณะทำงานร่วม 3 ฝ่ายว่า การเข้ามาร่วมมือของญี่ปุ่นในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายของญี่ปุ่นนั้น ญี่ปุ่นต้องการศึกษาปรับปรุงโครงการโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานที่ญี่ปุ่นได้ตั้งข้อสังเกตไว้ 7 ประเด็น ทั้งนี้จะเร่งรัดให้ผลศึกษาแล้วเสร็จในก.พ.59 ถึงจะทราบมูลค่าทั้งหมดในเฟสที่เหลือของโครงการนี้

    รมว.คมนาคม กล่าวว่า ในส่วนถนนจากท่าเรือน้ำลึกทวายไปบ้านพุน้ำร้อน ระยะทาง 138 กม. ซึ่ง ITD ได้ศึกษาทำถนน 2 ช่องจราจรนั้น อาจจะปรับเป็น 4 ช่องจราจร และบางช่วงมีจุดลาดชันจึงอาจจะปรับทำเป็นอุโมงค์ที่จะทำให้รถบรรทุกเดินรถได้ง่ายและยังจะทำรถไฟเป็นเส้นทางเดียวกับถนนเป็นรางขนาด 1 เมตร เพื่อใช้ขนส่งสินค้าและจะได้เชื่อมต่อรถไฟฝั่งไทยที่เริ่มจากพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี

      นอกจากนี้ ในส่วนท่าเรือก็จะมีแยกให้ทำเป็นท่าเรือน้ำลึก ท่าเรือเฉพาะ LNG Terminal ท่าเรือขนส่งอุตสาหกรรมอื่น และโรงไฟฟ้าแผนเดิมเป็นโรงไฟฟ้าใช้เชื้อเพลิก๊าซธรรมชาติกับพลังงานความร้อนร่วมขนาด 4,000 เมกะวัตต์ โดยจะมีการสร้าง LNG Terminal

     ขณะที่ในส่วนพลังงานไฟฟ้านั้น ในที่ประชุมเห็นด้วยให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) และกระทรวงพลังงานของไทยหรือคณะทำงานของเมียนมาร่วมมือสร้างสายส่ง 115KV เข้าไปในโครงการทวาย โดยระยะเริ่มแรกให้ใช้ไฟฟ้าจากฝั่งไทยก่อน หลังจากที่โรงไฟฟ้าเกิดขึ้น หากมีกำลังการผลิตเหลือก็ขอให้ส่งให้ไทย

     อย่างไรก็ดี แม้ว่าแผนแม่บทโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายได้รับความเห็นชอบในระดับนโยบายแล้ว แต่ญี่ปุ่นขอไปศึกษาในรายละเอียดและต้องการดูภาพรวมทั้งหมด ซึ่งอาจจะมีการปรับปรุงแผนแม่บทดังกล่าว และอาจปรับระยะเวลาของแผนแม่บทจากเดิมที่กำหนดไว้ 20 ปี

                อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!