WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมคด จาตศรพทกษสมคิด เร่ง'PPP'ห้ามเลื่อน ดีเลย์ 6 โปรเจ็กต์จี้คมนาคมจัดการ พร้อมเข็น 3 โครงการเข้า PPP Fast Track วงเงิน 4.46 แสนล้านบาท

    ไทยโพสต์ : พระราม 6 * 'สมคิด' สั่งเข้มเดินหน้าโครงการ PPP ตามกรอบ ไม่ให้มีโรคเลื่อนแน่นอน หลังเจอตอ 6 โครงการส่อเค้าดีเลย์ จี้คมนาคมดูแลพร้อมเข็น 3 โครงการเข้า PPP Fast Track วงเงิน 4.46 แสนล้านบาท

        นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประ ธานคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ PPP ว่า ที่ประชุมได้สั่งให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งรัดโครงการให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่วางไว้ อาทิ โครงการของกรมทางหลวง และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นต้น โดยให้ทุกโครงการเร่งดำเนินการให้ได้ภายในปีนี้ ไม่ให้หยุดดำเนินการในกรณีที่ไม่มีความจำเป็น

      "หากโครงการไหนติดไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ก็ต้องมาคุยกัน เพราะโครงการ PPP มีความสำคัญ สะท้อนการใช้จ่ายลงทุนของรัฐบาลว่าทำได้เร็วหรือช้า บางโครงการ เช่น รถไฟฟ้าสีม่วงใต้ สีส้ม หรือสีชมพู ซึ่งมีการเซ็นสัญญาไปแล้วเป็นปี จะไม่ให้มีการเลื่อนโครงการเป็นเด็ดขาด ซึ่งทาง รฟม.รับปากแล้ว" นายสมคิดกล่าว

       นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรม การนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังมีโครงการที่มีความล่าช้าจากแผนงานประมาณ 6 โครงการ อาทิ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-วงแหวนกาญจนาภิเษก โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯมีนบุรี และโครงการมอเตอร์เวย์ตามจังหวัดต่างๆ ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต และนครราชสีมา เป็นต้น

     นอกจากนี้ รองนายกรัฐ มนตรียังได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งรัดโครงการภายใต้มาตร การ PPP Fast Track ให้เป็นไปตามกรอบเวลาที่วางไว้ โดยภายในปี 2561 คาดว่าจะมีโครงการภายใต้มาตรการ PPP Fast Track นำเสนอต่อคณะกรรมการ PPP พิจารณาอย่างน้อยจำนวน 3 โครง การ ประมาณการมูลค่าเงินลงทุนรวม 4.46 แสนล้านบาท ได้แก่ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม-ชะอำ 8.06 หมื่นล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-วงแหวนกาญจนาภิเษก 1.28 แสนล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตกและตะวันออก 2.38 แสนล้านบาท

        อย่างไรก็ตาม คณะกรรม การ PPP ได้ติดตามความคืบหน้า การดำเนินโครงการภายใต้มาตรการ PPP Fast Track ของกระทรวงคมนาคมอีกจำนวน 5 โครงการ ประ มาณการมูลค่าเงินลงทุนรวม 2.4 แสนล้านบาท โดยเร่งรัดการพัฒนา โครงการระบบขนส่งมวลชนในหัว เมืองต่างๆ ในต่างจังหวัด เพื่อเป็น การกระจายการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปสู่ภูมิภาค.

บอร์ด PPP เร่ง 3 โครงการภายใต้ Fast Track นำเสนอภายในปีนี้ รวมมูลค่าลงทุน 4.47 แสนลบ.

      นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ PPP ครั้งที่ 2/2561 ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งรัดโครงการภายใต้มาตรการ PPP Fast Track ให้เป็นไปตามกรอบเวลาที่วางไว้ โดยภายในปี 2561 คาดว่าจะมีโครงการภายใต้มาตรการ PPP Fast Track นำเสนอต่อคณะกรรมการ PPP พิจารณาอย่างน้อยจำนวน 3 โครงการ ประมาณการมูลค่าเงินลงทุนรวม 446,874 ล้านบาท ได้แก่ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม-ชะอำ 80,600 ล้านบาท, โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-วงแหวนกาญจนาภิเษก 128,235 ล้านบาท และ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตกและตะวันออก 238,039 ล้านบาท

       นอกจากนี้ คณะกรรมการ PPP ได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการภายใต้มาตรการ PPP Fast Track ของกระทรวงคมนาคมอีกจำนวน 5 โครงการ ประมาณการมูลค่าเงินลงทุนรวม 240,126 ล้านบาท ได้แก่ โครงการ Rest Area ของทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-นครราชสีมา, โครงการ Rest Area ของทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี, โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต, โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ และ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา โดยเร่งรัดการพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนในหัวเมืองต่างๆ ในต่างจังหวัด เพื่อเป็นการกระจายการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปสู่ภูมิภาค และบรรเทาปัญหาการจราจรหนาแน่นของหัวเมืองหลัก

      นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ PPP ได้สั่งให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งรัดโครงการให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่วางไว้ อาทิ โครงการของกรมทางหลวง และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นต้น โดยให้ทุกโครงการเร่งดำเนินการให้ได้ภายในปีนี้ ไม่ให้หยุดดำเนินการในกรณีที่ไม่มีความจำเป็น

       "หากโครงการไหนติด ไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ ก็ต้องมาคุยกัน เพราะโครงการ PPP มีความสำคัญ สะท้อนการใช้จ่ายลงทุนองรัฐบาลว่าทำได้เร็วหรือช้า บางโครงการ เช่น รถไฟฟ้าสีม่วงใต้ สีส้ม หรือสีชมพู ซึ่งมีการเซ็นสัญญาไปแล้วเป็นปี จะไม่ให้มีการเลื่อนโครงการเป็นเด็ดขาด ซึ่งทาง รฟม. รับปากแล้ว" นายสมคิด กล่าว

       ขณะที่ สคร.รายงานว่า ขณะนี้ยังมีโครงการที่มีความล่าช้าจากแผนงาน 6 โครงการ เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-วงแหวนกาญจนภิเษก, โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ- มีนบุรี และโครงการมอเตอร์เวย์ตามจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต และนครราชสีมา เป็นต้น

สศช.ปลื้ม Q1 จีดีพีโต 4.8% สมคิดฟุ้งรัฐ-เอกชนจับมือกระตุ้นศก.

     หลานหลวง * สภาพัฒน์เผยจีดีพีไตรมาส 1/2561 พุ่ง 4.8% ขยายตัวสูงสุดในรอบ 20 ไตรมาส และปรับจีดีพีปีนี้ ปรับคาดการณ์ทั้งปีโต 4.2-4.7% "สมคิด" ปลื้มเศรษฐกิจ Q1 โตสูงสุดรอบ 5 ปี ฟุ้งเกิดจากรัฐบาลร่วมมือกับเอกชนกระตุ้นเศรษฐกิจ มองภาพเอกชนมั่นใจ-เชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น

     นายวิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิด เผยว่า เศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ไตรมาส 1/2561 ขยายตัว 4.8% เพิ่มขึ้นจากการขยายตัว 4% ในไตรมาส 4/2560 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 20 ไตรมาส หรือในรอบ 5 ปี

      ทั้งนี้ ปัจจัยหลักมาจากการปรับเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวเป็น 2.23 ล้านล้านบาท จากเดิม 2.15 ล้านล้านบาท, การส่งออกขยายตัว 8.9% จากเดิมโต 6.8% ขณะที่มีแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐ การใช้จ่ายภาครัฐบาล คาดว่าเบิกจ่ายทั้งปีไม่ต่ำกว่า 92% และยังมีการเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มเติมอีก 150,000 ล้านบาท รวมถึงการฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้นของการลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งมีมูลค่า 165,400 ล้านบาท และ การปรับตัวดีขึ้นของรายได้เกษตรกรตามการขยายตัวของ ราคาสินค้าเกษตรสำคัญๆ ยก เว้นยางพาราและปาล์มน้ำมันที่ราคายังลดลง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงต้องจับตาราคาน้ำ มันที่ปรับตัวสูงขึ้น

     นอกจากนี้ ต้องจับตาความเสี่ยงจากการดำเนินมาตร การทางการค้าระหว่างสหรัฐกับ จีน และความเสี่ยงจากการ เคลื่อนย้ายเงินทุน และอัตราแลกเปลี่ยน จากการขึ้นดอก เบี้ยของประเทศหลัก ทำให้ สศช.ปรับประมาณการเงินบาทปีนี้แข็งค่าขึ้นอยู่ที่ 31-32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จาก 31.50-32.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

      นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประ เทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ขยายตัวสูงที่ 4.8% เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน หรือ 2.0% จากไตรมาสก่อน โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการบริโภคที่เร่งตัว และอุปสงค์จากต่างประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับความไม่แน่ นอนจากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศที่ต้องติดตามพัฒนาการต่อไปอย่างใกล้ชิดอาทิ ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐ ศาสตร์ นโยบายการค้าระหว่างประเทศ ราคาน้ำมันดิบ และการกระจายตัวของกำลังซื้อในประเทศ

       นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1/2561 ขยายตัวสูงถึง 4.8% ว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดี ซึ่งสะท้อนว่าทุกปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นทั้งหมด ทั้งการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง 4 ไตรมาส, ภาคการเกษตรที่เติบโตที่น่าพอใจ และภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง

        โดยจีดีพีไตรมาส 1/2561 ขยายตัวถึง 4.8% เป็นการเติบโตสูงสุดในรอบ 20 ไตรมาส และสูงสุดในรอบ 5 ปี การเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าวเกิดจากสิ่งที่รัฐบาลพยายามดำเนินการร่วมกับภาคเอกชนได้แสดงผลออกมาแล้ว เพราะรัฐบาลไม่ยอมให้เศรษฐกิจอยู่ใต้สถานการณ์ทั่วไป และคิดว่าเศรษฐกิจจะโตได้เท่านั้น ทั้งนี้รัฐบาลดูปัจจัยเศรษฐกิจทุกตัว ปัจจัยไหนที่ทำให้ขยายตัวได้มากกว่าปกติได้ก็จะดำเนินการ.

สภาพัฒน์ ปรับคาดการณ์ GDP ปี 61 เป็นโต 4.2-4.7% หลัง Q1/61 โตพุ่ง 4.8% สูงสุดในรอบ 20 ไตรมาส

      สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ ปรับคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 61 เป็นเติบโต 4.2-4.7% โดยมีค่ากลางอยู่ที่ 4.5% จากเดิมคาดการณ์ไว้ในช่วง 3.6-4.6% หลังจากไตรมาส 1/61 เศรษฐกิจขยายตัวได้ถึง 4.8% สูงสุดในรอบ 20 ไตรมาส จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 4.0%

       "เศรษฐกิจไตรมาสแรกโตกว่าที่เราคาดการณ์ ประกอบกับมีการปรับสมมติฐานรายรับนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ซึ่งสองปัจจัยนี้ทำให้เราปรับเพิ่มค่ากลาง GDP ปีนี้จากเดิม 4.1% เมื่อรอบที่แล้วมาเป็น 4.5% ซึ่งอยู่ในระดับกรอบบนของประมาณการเดิม" นายวิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการ สศช. แถลงเช้าวันนี้

        สำหรับ ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้มาจาก การปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก และระดับราคาสินค้าในตลาดโลก ซึ่งจะสนับสนุนให้การส่งออกและการผลิตสาขาอุตสาหกรรมขยายตัวในเกณฑ์ดี และสนับสนุนเศรษฐกิจภาพรวมได้อย่างต่อเนื่อง แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐบาลและการลงทุนภาครัฐยังอยู่ในเกณฑ์สูง และมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี

       การฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้นของการลงทุนภาคเอกชนตามการเพิ่มขึ้นของอัตราการใช้กำลังการผลิตในสาขาอุตสาหกรรม การเพิ่มขึ้นของมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ความคืบหน้าของโครงการลงทุนภาครัฐ และการปรับตัวดีขึ้นของความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจ และการปรับตัวดีขึ้นและการกระจายตัวมากขึ้นของฐานรายได้ประชาชนในระบบเศรษฐกิจ

       ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัว 8.9% การบริโภคภาคเอกชนและการสะสมทุนถาวรรวมขยายตัว 3.7% และ 4.7% ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.7-1.7% และบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 8.4% ของ GDP

       รองเลขาธิการ สศช. กล่าวว่า ได้มีการปรับสมมติฐานที่ใช้คาดการณ์ GDP ของไทยในปีนี้ใหม่ โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 4.1% ปริมาณการค้าโลกขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.3% สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทในปีนี้ยังมีแนวโน้มปรับตัวแข็งค่าขึ้น โดยปรับสมมติฐานใหม่เป็น 31.50 บาท/ดอลลาร์ จากเดิมที่ประเมินไว้ 32 บาท/ดอลลาร์

     นอกจากนี้ ยังคาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบในปีนี้จะปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 60-70 ดอลลาร์/บาร์เรล จากของเดิมที่ระดับ 55-65 ดอลลาร์/บาร์เรล รวมทั้งคาดว่ารายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้จะปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.23 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.6% จากของเดิมที่คาดไว้ที่ 2.18 ล้านล้านบาท

      อย่างไรก็ดี มองว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้ การลงทุนภาครัฐจะมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น ส่วนการเบิกจ่ายภาครัฐก็มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นเช่นกัน แม้การเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงไตรมาสแรกจะยังไม่สูงมากนักก็ตาม

      ส่วนกรณีที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากน้อยอย่างไรนั้น จากผลการศึกษาของหลายน่วยงาน พบว่าผลกระทบเริ่มมีน้อยลง เนื่องจากประเทศต่างๆ มีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้นจากสถานการณ์ดังกล่าว และในกรณีของประเทศไทยนั้นคงจะไม่ได้มีแต่ผลกระทบเพียงอย่างเดียว เพราะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นได้ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันมีราคาเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นแม้ราคาน้ำมันจะปรับสูงขึ้นไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้รุนแรงหรือส่งผลกระทบที่น่ากังวลต่อเศรษฐกิจไทยแต่อย่างใด

      นายวิชญายุทธ กล่าวว่า จากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นมีแนวโน้มให้ราคาสินค้าและอัตราเงินเฟ้อในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ในภาพรวมแล้วคงจะไม่เพิ่มสูงขึ้นมากนัก โดยเชื่อว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากทั้งราคาน้ำมัน และอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น แต่เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อกำลังซื้อโดยรวมของประชาชน ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 1.2% (ค่ากลางของคาดการณ์เงินเฟ้อปีนี้ที่ 0.7-1.7%) ก็ถือว่าอยู่ในกรอบนโยบายการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดไว้ที่ 1-4% ในปีนี้

       รองเลขาธิการ สศช. ยังเชื่อว่า ปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนจะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยจนน่ากังวล หากยังอยู่ในขอบเขตจำกัดตามที่แต่ประเทศได้ประกาศมาตรการตอบโต้ทางการค้าระหว่างกันออกมา

       อย่างไรก็ตาม สภาพัฒน์ ระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจในปีนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม คือ 1.การผลิตภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลังจากฐานที่สูงขึ้น 2.ราคาสินค้า อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างช้าๆ

      และ 3.ความเสี่ยงจากความผันผวนในระบบเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนและอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นทิศทางนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ และเงื่อนไขทางการเมืองในประเทศที่สำคัญๆ ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางที่อาจะกระทบต่อความเชื่อมั่นและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ การปรับเปลี่ยนการคาดการณ์ของนักลงทุนเกี่ยวกับทิศทางนโยบายการเงิน อัตราเงินเฟ้อ ฐานะการคลัง และดอกเบี้ยระยะยาวของสหรัฐ และปริมาณพันธบัตรในตลาดโลก

       สำหรับ ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญในปี 61 นี้ รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับ 1.การสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบการ SMEs และเศรษฐกิจฐานราก 2.เตรียมความพร้อมด้านกำลังแรงงานและคุณภาพแรงงานให้เพียงพอต่อการรองรับการขยายตัวของภาคการผลิตและการลงทุน 3.สนับสนุนการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจสำคัญ โดยเฉพาะภาคการส่ออก การลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว 4.ขับเคลื่อนการลงทุนภาครัฐให้สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมาย โดยเร่งรัดการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การเบิกจ่ายงบลงทุน และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!