WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

EECคณศ แสงสพรรณบอร์ดอีอีซีอนุมัตินิคมอุตสาหกรรมเหมราชทั้ง 9 แห่ง ให้เป็นเขตส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมเป้าหมาย

               บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้นำอันดับหนึ่งในการให้บริการโซลูชั่นครบวงจรด้านโลจิสติกส์และนิคมอุตสาหกรรมของไทยรายงานว่า คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้นิคมอุตสาหกรรมเหมราชของบริษัทฯ เป็นพื้นที่เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) เพิ่มอีก 8 แห่ง จากเดิมที่ได้รับอนุมัติแล้ว 1 แห่ง คือนิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด 4 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 รวมเป็นนิคมอุตสาหกรรมของบริษัทฯ ที่ได้รับอนุมัติทั้งสิ้น 9 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 34,434 ไร่

รายชื่อนิคมอุตสาหกรรมของเหมราชที่ได้รับการอนุมัติ ประกอบด้วย

·       นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี 1

·       นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี 2

·       นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)

·       นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด

·       นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด 2

·       นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด 4 ได้รับการอนุมัติเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560

·       นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นตะวันออก มาบตาพุด

·      นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด 3

·       นิคมอุตสาหกรรมเหมราชระยอง 36

               นิคมอุตสาหกรรมเหมราชทั้ง 9 แห่งจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนารองรับทั้ง 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และอุตสาหกรรมดิจิทัล

               “นับตั้งแต่ที่รัฐบาลได้เดินหน้าพัฒนาโครงการอีอีซี ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ปให้ความร่วมมือและสนับสนุนรัฐบาลอย่างเต็มที่มาโดยตลอด และวันนี้ เราจึงภูมิใจอย่างยิ่งที่นิคมอุตสาหกรรม 9 แห่งของเราได้รับการอนุมัติให้เป็นเขตส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมเป้าหมายในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) อย่างเป็นทางการ” นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าว “ซึ่งช่วยย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการมีส่วนช่วยผลักดันการพัฒนา 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและประเทศชาติของเรา”

               มร. เดวิด นาร์โดน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมและการลงทุนต่างประเทศ บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) กล่าว “นับว่าเป็นโอกาสอันดียิ่งที่เราจะได้กระตุ้นการพัฒนาทักษะการทำงานเพื่อค่าตอบแทนที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ การเปิดตัว 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพภาคอุตสาหกรรมของไทยในตลาดโลกให้มีความโดดเด่นยิ่งขึ้นด้วย”

เกี่ยวกับดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป

               บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป) ผู้นำอันดับหนึ่งในการให้บริการโซลูชั่นครบวงจรด้านโลจิสติกส์และนิคมอุตสาหกรรมของไทย โดยบริษัทมีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านโลจิสติกส์ และการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม และบริการโซลูชั่นแบบครบวงจรสำหรับลูกค้าทุกกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม ธุรกิจของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ปประกอบด้วย 4 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย

·       กลุ่มธุรกิจพัฒนาโลจิสติกส์ มุ่งให้บริการศูนย์กระจายสินค้า คลังสินค้า และโรงงานแบบ Built-to-Suit   แบบพรีเมียมแก่ลูกค้า โดยบริษัทเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการสร้างอาคารอุตสาหกรรมแบบ Built-to-Suit มาตั้งแต่ปี 2546 โดยปัจจุบันมีพื้นที่คลังสินค้าและโรงงานแบบ Built-to-Suit รวมทั้งสิ้นกว่า 2.2 ล้านตารางเมตร บนทำเลที่ตั้งในจุดยุทธศาสตร์กว่า 19 แห่งทั่วประเทศ ภายใต้การบริหารงานของบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

·       กลุ่มธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม ในฐานะผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมคุณภาพระดับโลก มีทั้งโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค คลัสเตอร์อุตสาหกรรม และบริการด้านอุตสาหกรรม ปัจจุบัน บริษัทมีนิคมอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 9+ แห่งในจังหวัดระยอง ชลบุรี และสระบุรี บนพื้นที่กว่า 46,000 ไร่ (7,400 เฮกตาร์) โดยมีลูกค้าจากทั่วโลก 720 ราย จำนวนสัญญาซื้อที่ดินและเช่าโรงงานกว่า 1,000 สัญญา รวมมูลค่าการลงทุน 30,000 ล้านดอลลลาร์สหรัฐฯ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ภายใต้การบริหารงานของบริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวล ลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

·       กลุ่มธุรกิจสาธารณูปโภคและไฟฟ้า ในฐานะผู้ให้บริการด้านระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ให้กับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมแต่เพียงผู้เดียว รวมถึงการร่วมลงทุนด้านไฟฟ้ากับผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าชั้นนำของโลก โดยมีกำลังการผลิตน้ำโดยประมาณ 113 ล้านลบ.ม. ต่อปี และมีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นของโรงไฟฟ้าที่เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์รวม 510.5 เมกะวัตต์ ภายใต้การบริหารงานของบริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน)

·       กลุ่มธุรกิจดิจิทัล ดับบลิวเอชเอกรุ๊ปมีบริการดาต้าโซลูชั่น และดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ อย่างครบครัน รวมถึง การลงทุนด้านดิจิทัลอินฟราสตรักเจอร์ เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจเชิงอัจฉริยะของลูกค้า ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้การบริหารงานของบริษัท ดับบลิวเอชเอ อินโฟนิท โฮลดิ้ง จำกัด

               เว็บไซต์: www.wha-group.com www.wha-industrialestate.com

เลขาฯบอร์ด EEC ยันดีล"อาลีบาบากรุ๊ป"ทุกสิทธิประโยชน์เป็นไปตามบีโอไอ

  เลขาฯ บอร์ด EEC ยันดีล อาลีบาบากรุ๊ป โปร่งใส - ไทยไม่เสียเปรียบ ทุกสิทธิประโยชน์เป็นไปตามเกณฑ์บีโอไอ ไม่มีข้อตกลงเรื่องการบังคับใช้อาลีเพย์โดยไม่ผ่านสถาบันการเงินไทยตามข่าวลือ    

  นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยว่า ขอรายงานชี้แจงประเด็นแฟนเพจ พลเมืองต่อต้าน Single Gateway เพื่อเสรีภาพและความยุติธรรม กรณีการลงนามบันทึกความเข้าใจกับ อาลีบาบากรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด ที่มีข้อสังเกต 3 ข้อ ดังนี้

   1) สิทธิประโยชน์การลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนใหม่ของบีโอไอ จะได้รับการยกเว้นภาษีรายได้นิติบุคคลสูงสุด 8 ปี และได้สิทธิลดหย่อนภาษี 50% ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่อาลีบาบาจะได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด 13 ปี

   ขอชี้แจงว่าการได้รับสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบีโอไอ ซึ่งสิทธิประโยชน์พื้นฐานจะแตกต่างกันไปตามประเภทกิจการ โดยกิจการประเภทเดียวกัน จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์เดียวกัน ในปัจจุบันการส่งเสริมการลงทุนจะมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการฝึกอบรมบุคลากรควบคู่ไปด้วย นอกจากสิทธิประโยชน์พี้นฐานแล้ว ผู้ขอรับการส่งเสริมยังอาจได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมด้านการพัฒนาเทคโนโลยี หากมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด การพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนให้กับอาลีบาบานั้น บีโอไอ จะมีการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประกาศกำหนด ซึ่งมิได้เป็นการให้เฉพาะเจาะจงกับรายใดรายหนึ่งเป็นกรณีพิเศษ

   2) อาลีบาบา กรุ๊ป เรียกร้องเรื่องเกณฑ์ขั้นต่ำในการผ่อนปรน ว่าด้วยถิ่นกำหนดสินค้า เพื่ออนุโลมให้วัสดุที่ไม่ผ่านตามเกณฑ์การเปลี่ยนพิกัดอัตราศุลกากร ยังคงได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร

   ขอชี้แจงว่า การพิจารณาเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดสินค้า เป็นไปตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าของกรมศุลการ ทั้งนี้ไม่ปรากฏว่ามีการเรียกร้องให้ผ่อนปรนกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าแต่อย่างใด

   3) อาลีบาบา กรุ๊ป เรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการค้าออนไลน์ ผ่านระบบอาลีเพย์ เพื่อให้เป็นผู้ให้บริการชำระเงินโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านสถาบันการเงินของไทย

   ขอชี้แจงว่า การลงนามในบันทึกความตกลงร่วมกับอาลีบาบา กรุ๊ป ทั้ง 4 ฉบับนั้น มิได้มีความตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องระบบการเงินแต่อย่างใด แต่ครอบคลุม เรื่อง 1) การใช้อีคอมเมอร์ส (E-commerce) ในการส่งออกสินค้าเกษตรและ โอทอป โดยเริ่มต้นจาก ข้าวและทุเรียน 2) การพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถใช้เข้าสู่การใช้ อีคอมเมอร์ส (E-commerce) เป็นช่องทางการตลาด 3) การใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มในการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีน เข้าสู่เมืองรองและชุมชน อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการนำข้อมูลร้านค้าไทยและร้านอาหารไทยให้อยู่บนดิจิทัลแพลตฟอร์มที่นักท่องเที่ยวเข้าถึงได้ง่าย 4) การลงทุนใน ศูนย์ดิจิทัลอัจฉริยะ (Smart Digital Hub) ในการค้าอีคอมเมอร์สระดับโลกกับประเทศในภูมิภาค

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!