WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมคด จาตศรพทกษ copyสมคิด เผยรัฐบาลดัน EEC ปลุกจิตสำนึกคนไทยร่วมวางอนาคตชูความโดดเด่นประเทศก่อนพ้นหน้าที่

       นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในการสัมมนา 'EEC ไม่มีไม่ได้' ว่า รัฐบาลต้องการสร้างเจ้าของกิจการใหม่ๆ ที่นำเอาดิจิทัลมาสร้างมูลค่าสินค้า จุดหนึ่งที่รัฐบาลมองคือการสานต่อพื้นที่อุตสาหกรรมภาคตะวันออกที่มีอยู่เดิม โดยมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อจูงใจการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ซึ่งมีคำขอเข้ามาเกือบ 2 แสนล้านบาท

      "อนาคตของประเทศอยู่ในมือเราว่าจะให้เป็นอย่างไร  เราจึงต้องพยายามผลักดันให้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เกิดขึ้นให้ได้ แต่เป็นสิ่งที่รัฐบาลเริ่มต้นไว้แล้ว เราต้องปลุกจิตสำนึกของคนในประเทศว่าอนาคตอยากเป็นอย่างไร...เหลืออีกปีหนึ่งผมก็จะทำงานถึงวันสุดท้าย แล้ววันหนึ่งคนจะรู้ว่าเกิดอะไร" นายสมคิด กล่าว

      นายสมคิด ระบุว่า รัฐบาลมีแนวคิดที่จะทำให้ประเทศเกิดความโดดเด่นขึ้นมา โดยมีการปฏิรูประบบเศรษฐกิจครั้งใหญ่ เริ่มด้วยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพราะหมดยุคที่จะแข่งขันโดยนำเรื่องค่าแรงถูกมาแข่งขันกันอีกต่อไป เนื่องจากการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนมีการพัฒนาเพื่อรองรับโอกาสดังกล่าว

      ดังนั้น รัฐบาลจึงมีแนวคิดที่จะทำให้ประเทศเกิดความโดดเด่นขึ้นมา โดยมีการปฏิรูประบบเศรษฐกิจครั้งใหญ่ เริ่มด้วยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพราะหมดยุคที่จะแข่งขันโดยนำเรื่องค่าแรงถูกมาแข่งขันกันอีกต่อไป เนื่องจากการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก

     "วิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้นเมื่อ 3-4 ปีก่อนกลายเป็นโอกาสที่จะได้ปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยการสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่สามารถแข่งขันได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงกันอย่างแรง ไม่ใช่แค่มียักษ์ใหญ่ไม่กี่เจ้า" นายสมคิด กล่าว

     ทั้งนี้ คาดว่า พ.ร.บ.ฉบับใหม่เพื่อรองรับอีอีซีจะผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  (สนช.) ในเร็วๆ นี้

     "ใกล้เสร็จแล้ว เหลืออีกไม่กี่มาตรา น่าจะเสร็จภายในไม่กี่วันนี้" นายสมคิด กล่าว

     นอกจากนี้ คาดว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการที่ จ.ตราด จะมีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับแผนพัฒนาพื้นที่อีอีซี ทั้งเรื่องการเกษตรและการท่องเที่ยว

      ส่วนคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซีนั้นเชื่อว่าแนวโน้มน่าจะดี แต่สิ่งที่รัฐบาลต้องการคือเน้นคุณภาพไม่ใช่ปริมาณ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมด้านดิจิทัล เพราะในอนาคตการใช้อินเตอร์เน็ตมีความสำคัญมาก ส่วนการเชื่อมโยงเศรษฐกิจไปยังประเทศเพื่อนบ้านนั้นมีเส้นทางรถไฟทางคู่อยู่แล้ว เมื่อสถานการณ์เหมาะสม ภาคเอกชนก็จะดำเนินการเอง

      ด้านความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองเรื่องกำหนดวันเลือกตั้งนั้น นายสมคิด ระบุว่า ยังไม่เคยได้ยินนักลงทุนแสดงความกังวลเรื่องการเลื่อนการเลือกตั้งออกไป เพราะต่สิ่งที่นักลงทุนต้องการเห็นคือบ้านเมืองสงบ การเมืองมีเสถียรภาพ และภาวะเศรษฐกิจดี

     "ถ้าไม่ทะเลาะกันก็น่าจะมีการเลือกตั้งเร็ว ผมลืมบอกไปว่าถ้าเศรษฐกิจดีอย่างนี้หุ้นน่าจะขึ้นนะ" นายสมคิด กล่าว

       ด้านนายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม และประธานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ร่าง พ.ร.บ.พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กำลังจะผ่านการพิจารณาของชั้นกรรมาธิการเร็ว ๆ นี้ และคาดว่าจะเข้าสู่ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระที่ 3 และออกเป็นกฏหมายได้ในเดือน ก.พ. ซึ่งจะมีส่วนทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจในความพร้อมที่จะเข้าลงทุนในพื้นที่ EEC

    ปัจจุบันมีการผลักดันโครงการ EEC ให้เกิดขึ้นจริงจากทุกภาคส่วน ซึ่งได้รับความสนใจจากทั้งในและนอกประเทศมากขึ้น และในส่วนของภาคอุตสาหกรรมที่มีความยึดโยงกับ EEC จะต้องมีการปรับตัวให้สอดรับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีอัตราเร่งสูง ถ้ามีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยจะทำให้เติบโตแบบก้าวกระโดด แตกต่างจากยุคก่อนที่มีเวลาปรับตัวค่อนข้างมาก

      อย่างไรก็ดี การปรับตัวในการเดินตาม Roadmaps 4.0 จะต้องแก้ไขปัญหาสะสมที่ผ่านมาในอดีต ทั้งไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียน อาทิ ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน ซึ่งจะมีอิทธิพลมากขึ้นและผลกระทบรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต และอาจส่งผลให้การเติบโตของประเทศไทยแกว่งตัว ชะลอตัว มีความผันผวน และมีส่วนกระทบต่อความเป็นอยู่ นอกจากนี้จะต้องสร้างโอกาสและอนาคตให้คนรุ่นใหม่ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

      "วันนี้ เราพูดถึงยุทธศาสตร์ชาติ และไทยแลนด์ 4.0 เป็นแผนใหญ่ที่ต้องครอบคลุมไปทุกภาคส่วน และการนำไปสู่ภาคปฎิบัติ มีเป้าหมายคือการสร้างฐานพัฒนาของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน เห็นได้จากตัวเลขเศรษฐกิจในเดือน พ.ย.-ธ.ค. 60 ที่ผ่านมาที่ออกมาเกินกว่ากระทรวงฯ คาด" นายอุตตม กล่าว

     พร้อมระบุว่า นอกจากนี้ ยังต้องมองถึงเทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในการเติบโตของประเทศ โดยมีแผนให้ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยีให้ทั่วถึงก่อน และจึงให้ความรู้ความเข้าใจ เนื่องจากมองว่าถ้าคนไทยมีการเชื่อมโยงกันมากขึ้น จะเป็นบ่อเกิดแห่งการสร้างสรรค์ต่อไป ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมจะต้องมีแผนยุทธศาสตร์และนโยบายเพื่อยกระดับในการต่อยอดและเพิ่มมูลค่าให้มีจุดแข็งชัดเจน โดยผลิตสินค้าเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภค อาทิ รถยนต์ไฟฟ้า (EV) จะต้องมีการผลิตเพื่อพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีให้ได้ ซึ่งเชื่อว่าคนไทยมีศักยภาพเพียงพอที่จะทำ

      ขณะที่ภาคเกษตรกรรม จะต้องมีการยกระดับสู่อุตสาหกรรมอาหารสมัยใหม่ และมีการแปรรูปอาหารเป็นอาหารแห่งอนาคต เช่น มีส่วนผสมสำหรับผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม และต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพ (BIO ECONOMY) ที่มีมูลค่าสูงและมีความต้องการจากตลาด โดยใช้ EEC เป็นฐานใหม่ ส่วนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ มองว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันมีการสั่งซื้อนำเข้ามาเพื่อใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มผลิตภาพ ลดต้นทุน และเข้าถึงตลาดได้กว้างกว่า โดยเชื่อว่าคนไทยมีศักยภาพพอที่จะพัฒนาต่อยอดเพื่อผลิตเอง

      รมว.อุตสาหกรรม มองว่า ประเทศไทยในอนาคตจะมีโอกาสขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านค่อนข้างมาก และหากประเทศเหล่านั้นมีการเติบโตที่ดี แรงงานเหล่านั้นอาจมีการย้ายกลับถิ่นฐาน ซึ่งมองว่าแรงงานคนจะต้องปรับไปอยู่ในส่วนอื่น ๆ ในขณะที่ธุรกิจเติบโตขึ้นก็จะทำให้มีงานใหม่ ๆ เข้ามา และสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อตอบรับกับอุตสาหกรรมเป้าหมายต่อไป

เลขาฯ EEC เผย รบ.เตรียมใช้อำนาจ ม.44 ประกาศเขตส่งเสริมพื้นที่อุตสาหกรรมเพิ่มเติมอีก 18 เขต+1

     นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กล่าวถึงนโยบาย One Belt One Road ของจีนว่า อาจเป็นการปฏิวัติเศรษฐกิจครั้งสำคัญ รัฐบาลจึงมุ่งหวังให้โครงการอีอีซีจะเป็นสถานีเศรษฐกิจหลักของอาเซียนที่มีความได้เปรียบในเรื่องยุทธศาสตร์ที่ตั้ง ขณะที่ระบบเศรษฐกิจมีการปรับเปลี่ยนจากอดีตที่แข่งขันเรื่องแรงงานราคาถูก จะเห็นได้ว่าขณะนี้ภาวะเศรษฐกิจของกลุ่ม CLMV กำลังเติบโตไล่หลังกลุ่มอาเซียน 5 เข้ามาทุกที

      "ถ้าเราเริ่มต้นช้ากว่านี้จะล้าหลังไล่ตามไม่ทัน เพราะขณะนี้เศรษฐกิจของเวียดนาม และฟิลิปปินส์นำหน้าไทยไปแล้ว" นายคณิศ กล่าว

        เลขาธิการอีอีซี กล่าวว่า การพัฒนาจะเน้น 4 เรื่อง คือ 1.โครงสร้างพื้นฐาน 2.อุตสาหกรรมเป้าหมาย 3.นโยบายท่องเที่ยวที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น 3 เท่าภายใน 10 ปี และ 4.เมืองใหม่

      โดยในวันที่ 1 ก.พ.นี้จะเสนอให้รัฐบาลใช้มาตรา 44 ประกาศเขตส่งเสริมพื้นที่อุตสาหกรรมเพิ่มเติมอีก 18 เขต+1 (นิคมอุตสาหกรรมเฉพาะไฮเทคโนโลยีสำหรับนักลงทุนจีน 3 พันไร่) ซึ่งเป็นพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมเดิมที่เหลืออยู่กว่า 2.6 หมื่นไร่ ขณะที่มีนักลงทุนให้ความสนใจเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

       "ในอนาคตสภาพความเป็นอยู่ของพื้นที่อีอีซีจะเหมือนกับกรุงเทพฯ ไม่มีความแตกต่างกัน จังหวัดชลบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดระยองเป็นเพียงแค่เขตทางปกครองเท่านั้น" นายคณิศ กล่าว

       เลขาธิการอีอีซี กล่าวว่า สิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุดคือเรื่องบุคลากร โดยเฉพาะสาขาอาชีวะที่มีความต้องการมากถึง 5 หมื่นคน ซึ่งมีการแก้ไขปัญหาไปได้แล้วบางส่วน และสิ่งสำคัญคือการเร่งออก พ.ร.บ.อีอีซี เพื่อไม่ให้โครงการเงียบหายไปเหมือนอีสเทิร์นซีบอร์ด ซึ่งคาดว่าจะเสนอให้ที่ประชุม สนช.พิจารณาวาระ 3 ได้ในเดือน ก.พ.61

                อินโฟเควสท์

การประชุมคณะกรรมการบริหาร การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

วันพุธที่ 17 มกราคม 2561 เวลา 9.30 น. ณ ห้องประชุม อก. 1 กระทรวงอุตสาหกรรม

    การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งที่ 1/2561 ของ คณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) โดยมีท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน ซึ่งมีสาระสำคัญ

ของการประชุม ดังนี้

1. เห็นชอบการประกาศเขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมเพิ่มเติม

       ที่ประชุมเห็นชอบและนำเสนอคณะกรรมการนโยบายกำหนดเขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมเพิ่มเติม   จากเดิมที่มีการกำหนดไปแล้วจำนวน 2 นิคม ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรม Smart Park จังหวัดระยอง และนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด แห่งที่ 4 จังหวัดระยอง โดยเขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมที่จะมีการประกาศเพิ่มเติมมีจำนวนทั้งสิ้น 18 แห่ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ประมาณเงินลงทุนทั้งสิ้น 1.25 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย จังหวัดระยอง จำนวน 5 แห่ง จังหวัดชลบุรี จำนวน 12 แห่ง และจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 1 แห่ง

      นอกจากนั้น ที่ประชุมยังมีมีมติเห็นชอบการยกระดับนิคมอุตสาหกรรม ซี.พี. ระยอง เป็นเขตส่งเสริม เพื่อกิจการอุตสาหกรรม รองรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่สื่อสารด้วยภาษาจีนโดยเฉพาะเป็นเขตส่งเสริมแห่งที่ 19

     ดังนั้น จะทำให้พื้นที่ EEC มีเขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมรวมทั้งสิ้น 21 แห่ง เป็นพื้นที่ประกาศ เขตส่งเสริมพิเศษ 86,775 ไร่ พื้นที่รองรับการลงทุน 28,666 ไร่ ประมาณการเงินลงทุน 1.31 ล้านล้านบาท

2. เห็นชอบแผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในพื้นที่ EEC

      ที่ประชุมเห็นชอบแผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ EEC ที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาโลจิสติกส์แบบไร้รอยต่อ เชื่อมโยงทั้งทางบก น้ำ อากาศ เพื่อรองรับการพัฒนา EEC มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค ตั้งเป้าให้ท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นศูนย์กลางและเมืองการบินของภูมิภาค และให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตูเศรษฐกิจของ CLMV และอนุภูมิภาค และส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคเอกชน รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ ประกอบด้วย 168 โครงการ กรอบวงเงินลงทุนรวม 988,948.10 ล้านบาท โดยเป็นงบ PPP 583,500 ล้านบาท (59%) งบประมาณแผ่นดิน 296,684 ล้านบาท (30%) งบรัฐวิสาหกิจ 98,895 ล้านบาท (10%)    และกองทุนหมุนเวียน (กองทัพเรือ) คิดเป็น 1% โดยแบ่งแผนดำเนินการออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย แผนงานระยะเร่งด่วน (พ.ศ. 2560-2561) แผนงานระยะกลาง (พ.ศ. 2562-2564) และแผนงานระยะต่อไป (ตั้งแต่ พ.ศ. 2565)

      ผลที่คาดว่าจะได้รับคือระบบการขนส่งมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลดต้นทุนโลจิสติกส์ให้แข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ และเมื่อรวมกับโครงข่ายภายนอกพื้นที่ EEC จะลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้ถึง 2% ของ GDP หรือ ปีละ 200,000 ล้านบาท  ซึ่งจะเหนี่ยวนำให้เกิดการลงทุนจากภาคเอกชนเพิ่มเติม โดยคาดจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 2.1 – 3.0 ล้านล้านบาท และประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนคุณภาพสูง

3. เห็นชอบแผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ EEC

      ที่ประชุมเห็นชอบแผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกและให้นำไปรับฟังความเห็นจากพื้นที่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวในพื้นที่ EEC ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง สู่การท่องเที่ยวระดับโลกอย่างยั่งยืน รองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และกลุ่มเชิงสุขภาพ เน้น พัทยา-สัตหีบ-ระยอง เป็นแกนการพัฒนาการท่องเที่ยว เน้นสนามบินอู่ตะเภาเป็นจุดเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่กับการท่องเที่ยวเชิงชุมชนและวิถีชีวิตชุมชน รวมทั้งการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการกำจัดขยะตามแนวชายฝั่งทะเลและเกาะท่องเที่ยวสำคัญ

      แผนดังกล่าวประกอบไปด้วย 4 แผนงาน ได้แก่ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว และการสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว รวมทั้งสิ้น 47 โครงการ กรอบวงเงินลงทุน 30,247.22 ล้านบาท โดยเป็นงบ PPP 23,000 ล้านบาท (76.04%) งบประมาณแผ่นดิน 6,897.22 ล้านบาท (22.80%) และงบรัฐวิสาหกิจ 350 ล้านบาท (1.16%)

      ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ มีผู้มาเยี่ยมเยือนเพิ่มขึ้นจาก 29.89 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2560 เป็น 46.72 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2564 (เพิ่มขึ้น 1.5 เท่า) และมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจาก 285,572 ล้านบาท ใน พ.ศ. 2560 เป็น 508,590 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2564 (เพิ่มขึ้น 1.8 เท่า)

4. รับทราบความคืบหน้า ร่างพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ….

      ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าว่าในขณะนี้ ร่างพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. …. อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ ในขั้นที่ 2 โดยหลังจากที่มีการพิจารณาครบทุกมาตราแล้ว จะจัดทำรายงานเสนอประธานสภา เพื่อประชุมฯในวาระที่ 3 คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2561

5. รับทราบความคืบหน้าด้านโครงการโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ 5 โครงการ

       ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าด้านโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะมีการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน (EEC Track) ใน 5 โครงการสำคัญ ดังนี้

1.      โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง เชื่อม 3 ท่าอากาศยาน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา)

กำหนดร่างขอบเขตงาน (TOR)จะแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 และประกาศเชิญชวน และทำการคัดเลือกเอกชนได้ในเดือนกรกฎาคม 2561

2.      ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา

อยู่ระหว่างกำหนดร่างขอบเขตงาน (TOR) ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2561

3.      ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) ของการบินไทย และ Airbus

จะมีการลงนามความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่าง การบินไทย และ Airbus ที่ตูลูส ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนกุมภาพันธ์ 2561

4.      ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3

ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงินและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะได้ที่ปรึกษาประมาณเดือนมีนาคม 2561 และจะใช้เวลาศึกษาอีก 3 เดือน แล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2561 และจะได้เอกชนร่วมทุนประกอบการตามแผน EEC ในเดือนพฤศจิกายน 2561 และได้ผู้รับจ้างก่อสร้างฯ ตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ ปี 2560 ภายในเดือนมกราคม 2562

5.      ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3

                กำหนดร่างขอบเขตงาน (TOR) จะแล้วเสร็จภายในเดือน เมษายน 2561 และประกาศเชิญชวนเอกชนได้ในเดือนมิถุนายน 2561 จะทำให้ได้สามารถคัดเลือกเอกชนได้ในเดือนกันยายน 2561 และดำเนินการได้ในเดือนตุลาคม 2561 โดยขณะนี้ได้ทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) เสร็จสิ้นแล้วกำลัง รอรับความเห็นชอบ

6. รับทราบความคืบหน้าเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

          ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ที่มีวิสัยทัศน์ให้ EECi เป็นระบบนิเวศนวัตกรรมชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ซึ่งผลงานวิจัยและนวัตกรรมนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและความอยู่ดีกินดีของประชาคมอย่างยั่งยืน และมีกรอบการพัฒนา EECi ที่มุ่งเน้น “6 อุตสาหกรรมเป้าหมาย 3 เมืองนวัตกรรมมุ่งเน้น และ 5 ยุทธศาสตร์ดำเนินการ” คือ

• 6 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่และเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมแบตเตอรี่และยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และ อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ และอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์

• 3 เมืองนวัตกรรมมุ่งเน้น ได้แก่ ศูนย์กลางการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ ศูนย์กลางการวิจัยและนวัตกรรมด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ และศูนย์กลางและฐานในการรังสรรค์นวัตกรรมจากเทคโนโลยีอากาศยาน อวกาศ และภูมิสารสนเทศ

• 5 ยุทธศาสตร์ดำเนินการและกลไกสนับสนุน ประกอบด้วย การนำ วทน. ยกระดับชุมชนและอุตสาหกรรม, วิจัยและนวัตกรรม การเตรียมความพร้อมและการพัฒนาบุคลากรด้าน วทน.พัฒนา การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างกลไกความร่วมมือ และถ่ายทอดองค์ความรู้ จากในและต่างประเทศ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!