- Details
- Category: CAT-TOT
- Published: Wednesday, 20 August 2014 13:27
- Hits: 4832
TOT ยุคคสช.ดันทหารนั่งปธ.บอร์ด ‘สุรพงษ์’เข้ากู้วิกฤติองค์กร
แนวหน้า : TOT ยุคคสช.ดันทหารนั่งปธ.บอร์ด ‘สุรพงษ์’เข้ากู้วิกฤติองค์กร ชี้ปีนี้ส่อขาดทุน 8.9 พันล้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 19 ส.ค. 2557ถือเป็นการประชุมครั้งแรกหลังจากที่ กระทรวงการคลัง ได้มีคำสั่งแต่งตั้งบอร์ดชุดใหม่ ภายใต้การบริหารงานของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) โดยที่ประชุมจะพิจารณาเลือกประธาน และรองประธานบอร์ด ซึ่งจะเสนอชื่อ พลเอกสุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ รองเสนาธิการทหารบก กองบัญชาการกองทัพไทย ให้ดำรงตำแหน่งประธานบอร์ด
นอกจากนี้ ที่ประชุมจะเปิดโอกาสให้ผู้บริหารระดับสูง นำโดย นายยงยุทธ วัฒนสินธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ รายงานสถานะแผนยุทธศาสตร์ของ ทีโอที ให้บอร์ดชุดใหม่รับทราบ
“บอร์ดชุดใหม่จะกำหนดทิศทางนโยบายการพลิกฟื้นธุรกิจ ทีโอที อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ไร้ทุจริต ตามนโยบายของคสช.โดยเคร่งครัด รวมถึงจะต้องเร่งรัดการว่าจ้างที่ปรึกษาทางเงินเพื่อประเมินทรัพย์สิน หนี้สิน และการรวมคดีข้อพิพาททั้งหมดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ตามมติคณะกรรมการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ(ซูเปอร์บอร์ด)”
ในเบื้องต้นผู้บริหาร ทีโอที มีการเตรียมข้อมูลผลประกอบการปี 2557 โดย 6 เดือน(ม.ค.-มิ.ย.)พบว่ามีรายได้ 32,400 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 33,700 ล้านบาท ขาดทุน 1,300 ล้านบาท พร้อมประมาณการรายได้ทั้งปี(ม.ค.-ธ.ค.) คาดว่าจะมีรายได้ 57,600 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 66,500 ล้านบาท ขาดทุน 8,900 ล้านบาท
ขณะที่ปี 2558 ทีโอที จะประสบปัญหาการขาดทุนและขาดสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ทำให้ต้องนำเงินสดสะสม30,000-50,000 ล้านบาท ออกมาใช้จ่าย และเงินสะสมที่ได้นำไปลงทุนในโครงการต่างๆ เพื่อสร้างรายได้และพัฒนาบริการ ผลประกอบการไม่เป็นไปตามเป้า รวมถึงรายได้จากบริการก็ลดลง และไม่สามารถสร้างรายได้ใหม่มาทดแทนรายได้จากสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือที่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินตาม มาตรา 84 ของพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ซึ่งอาจทำให้ ทีโอที ไม่มีเงินสดเพียงพอในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้
ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่เตรียมรายงานให้บอร์ดรับทราบ อาทิ แผนการลงทุนเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ 3 เส้นทาง หลังจาก คสช.อนุมัติให้ลงทุนได้ การให้บริการมือถือ 3G TOT การให้บริการอินเตอร์เนตความเร็วสูง การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล รวมถึงการปรับโครงสร้างภายในองค์กร ทีโอที ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
บอร์ดถกแผนฟื้นทีโอที'ทรู'ยิ้ม Q2 กระเตื้องขึ้น
ไทยโพสต์ : แจ้งวัฒนะ * ทีโอทีประชุมนัดแรก รับรู้ผลประกอบการ 6 เดือน ขาดทุนกว่าพันล้านบาท ยอดทั้งปีขาดทุนรวมกว่า 8 พันล้าน เผยปีหน้าขาดสภาพคล่องทางการเงิน กลุ่มทรูผลประกอบการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะกรรมการ บมจ. ทีโอที ในวันที่ 19 ส.ค.57นี้ นับเป็นครั้งแรกหลังจากที่กระทรวงการคลังได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ภายใต้การบริหารงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อต้นเดือน ส.ค.57 ที่ผ่านมา โดยที่ประชุมจะพิจารณาเลือกประธานและรองประธาน ซึ่งจะเสนอชื่อ พล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ รองเสนาธิการทหารบก กองบัญชาการกองทัพไทย ให้ดำรงตำแหน่งประธานตามที่กำหนดไว้
หลังจากนั้น จะเปิดโอกาสให้ผู้บริหารระดับสูง โดยนายยงยุทธ วัฒนสินธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ รายงานสถานะแผนยุทธศาสตร์ของทีโอทีให้ได้รับทราบ ขณะที่คณะกรรมการชุดใหม่ก็ต้องกำหนดทิศทางนโยบายการพลิกฟื้นธุรกิจ บมจ.ทีโอที ซึ่งจากผลประกอบการปี 2557 โดย 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) มีรายได้ 32,400 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 33,700 ล้านบาท ขาดทุน 1,300 ล้านบาท ส่วนการประมาณการรายได้ทั้งปี (ม.ค.ธ.ค.) มีรายได้ 57,600 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 66,500 ล้านบาท ขาดทุน 8,900 ล้านบาท ส่วนปี 2558 ทีโอทีจะประสบปัญหาการขาดทุนและขาดสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ทำให้ต้องนำเงินสดสะสมที่มีอยู่ 30,000 - 50,000 ล้านบาท ออกมาใช้จ่าย และเงินสะสมที่ได้นำไปลงทุนในโครงการต่างๆ
นายศุภชัย เจียรวนนท์กรรมการผู้จัดการใหญ่และประ ธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ ปอเรชั่น กล่าวว่า ผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 2 ปี 2557 ดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า โดยกลุ่มทรูมีรายได้จากการให้บริการโดยรวม จำนวน 16.3 พันล้านบาท และมีกำไรจากการดำเนินงาน ก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย หรือ EBITDA ที่เพิ่มขึ้น 8.8% จากไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้าเป็น 4.7 พันล้านบาท เพื่อการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม หากไม่รวมผลประกอบการในปี 2556 ของ 8 บริษัทย่อยที่ขายไปในไตรมาส 4 ที่ผ่านมา EBITDA เพิ่มสูงขึ้นอย่างแข็งแกร่งในอัตรา 21.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า จากรายได้ที่เพิ่มขึ้น และการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านการขายและการตลาด.