- Details
- Category: บีโอไอ
- Published: Tuesday, 12 August 2014 23:19
- Hits: 3723
นักลงทุนมั่นใจลงทุนสูงสุดรอบ 7 เดือน
บ้านเมือง : นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงสถิติการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2557 (มกราคม-กรกฎาคม 2557) ว่า จำนวนโครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมตลอดช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มียื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 147 โครงการซึ่งสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบรายเดือน นับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน 2557
"การลงทุนในประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณที่ดีให้เห็นมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมแล้ว โดยมีจำนวนโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ เดือนพฤษภาคมมียื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 117 โครงการ เดือนมิถุนายนมียื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 130 โครงการ และเดือนกรกฎาคมมียื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 147 โครงการ และถึงแม้ว่ามูลค่าเงินลงทุนจะไม่สูงมากนัก แต่จำนวนโครงการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนที่เคยชะลอการยื่นขอรับส่งเสริมไว้ก่อนหน้านี้ กลับมาเชื่อมั่นประเทศไทยอีกครั้ง" เลขาธิการบีโอไอ กล่าว
สำหรับสถิติการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนตลอด 7 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 770 โครงการ เงินลงทุนรวม 371,500 ล้านบาท โดยโครงการปรับลดลงร้อยละ 30.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มี 1,105 โครงการ ส่วนมูลค่าเงินลงทุนปรับลดลงร้อยละ 41.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีมูลค่าอยู่ที่ 633,600 ล้านบาท ซึ่งแม้ว่าจะมีอัตราลดลง แต่ก็เป็นการลดในอัตราที่น้อยลง
โดยกิจการที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา กระจายอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ โดยกลุ่มที่ได้รับความสนใจสูงสุดคือ กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง จำนวน 160 โครงการ เงินลงทุน 174,100 ล้านบาท รองลงมาเป็นกลุ่มบริการและสาธารณูปโภค 239 โครงการ เงินลงทุน 104,300 ล้านบาท ตามด้วยกลุ่มเคมี กระดาษ และพลาสติก 74 โครงการ เงินลงทุน 33,800 ล้านบาท และกลุ่มกิจการเกษตรกรรม และผลิตผลจากการเกษตร 112 โครงการ เงินลงทุน 24,400 ล้านบาท
นายอุดม กล่าวว่า ในภาพรวมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI : Foreign direct investment) ในช่วง 7 เดือน (มกราคม-กรกฎาคม 2557) ปรากฏว่ามีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนรวมทั้งสิ้น 477 โครงการ เงินลงทุนรวม 260,888 ล้านบาท โดยโครงการปรับลดลงร้อยละ 32 จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มี 702 โครงการ เช่นเดียวกับเงินลงทุนที่ปรับลดลงร้อยละ 12 จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีเงินลงทุน 297,899 ล้านบาท ซึ่งแม้ว่าจะมีอัตราลดลง แต่ก็เป็นการลดในอัตราที่น้อยลงเหมือนสถิติภาพรวมการลงทุน
ทั้งนี้นักลงทุนจากญี่ปุ่นเป็นกลุ่มที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยสูงสุด มีจำนวน 220 โครงการ เงินลงทุน 89,910 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยจำนวนโครงการลงทุนจากญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 41 มูลค่าเงินลงทุนลดลงร้อยละ 52
อย่างไรก็ตาม การลงทุนจากอเมริกา สหภาพยุโรป และเกาหลีใต้ มีทิศทางของการเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ มีโครงการลงทุนจากสหรัฐอเมริกายื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 16 โครงการ เงินลงทุน 36,705 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าเงินลงทุนปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันถึงกว่า 4 เท่าตัว
ส่วนการลงทุนจากเกาหลีใต้มียื่นขอรับส่งเสริมทั้งสิ้น 27 โครงการ เงินลงทุนรวม 13,716 ล้านบาท เงินลงทุนปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าถึงกว่า 9 เท่าตัว และการลงทุนจากสหภาพยุโรปมียื่นขอรับส่งเสริมทั้งสิ้น 70 โครงการ เงินลงทุนรวม 67,000 ล้านบาท มูลค่าเงินลงทุนปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า 3 เท่าตัว
ยอดขอบีโอไอ 7 เดือนร่วง 41%ใจชื้น!ก.ค.เริ่มฟื้นยื่นรับส่งเสริมเพิ่ม 147 โปรเจ็กต์
ไทยโพสต์ : วิภาวดีรังสิต * บีโอไอโอดยอดขอรับส่งเสริมลงทุน 7 เดือนยังทรุดต่อเนื่อง 41.4% อ้างผลกระทบจากปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงต้นปี พร้อมแจงเดือน ก.ค.เริ่มฟื้นตัวสะท้อนความมั่นใจของนักลงทุน ยื่นขอรับส่งเสริม 147 โครงการ
นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนตลอด 7 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ก.ค.2557) ว่า มีทั้งสิ้น 770 โครงการ เงินลงทุนรวม 371,500 ล้านบาท โดยโครงการปรับลดลง 30.3% จากช่วงเดียวกันปี 2556 ที่มี 1,105 โครงการ ส่วนมูลค่าเงินลงทุนปรับลดลง 41.4% จากช่วง เดียวกันปี 2556 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 633,600 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมา จากปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในช่วงต้นปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายอดขอ รับการส่งเสริมจะมีอัตราลดลง แต่ก็เป็นการลดในอัตราที่น้อยลง
ทั้งนี้ กิจการที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา กระจายอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ โดยกลุ่มที่ได้รับความสนใจสูงสุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและ อุปกรณ์ขนส่ง จำนวน 160 โครง การ เงินลงทุน 174,100 ล้านบาท รองลงมาเป็นกลุ่มบริการและสาธารณูปโภค 239 โครงการ เงินลงทุน 104,300 ล้านบาท ตามด้วยกลุ่มเคมี กระดาษ และพลาสติก 74 โครงการ เงินลงทุน 33,800 ล้านบาท และกลุ่มกิจการเกษตรกรรม และผลิตผลจากการเกษตร 112 โครงการ เงินลงทุน 24,400 ล้านบาท
"การลงทุนในประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณที่ดีให้เห็นมาตั้งแต่เดือน พ.ค.2557 แล้ว โดยมีจำนวนโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ เดือน พ.ค.2557 มียื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 117 โครงการ เดือน มิ.ย.2557 มียื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 130 โครงการ และเดือน ก.ค.2557 เพิ่มขึ้นเป็น 147 โครงการ และถึงแม้ว่ามูลค่าเงินลงทุนจะไม่สูงมากนัก แต่จำนวนโครงการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนที่เคยชะลอการยื่นขอรับส่งเสริมไว้ก่อนหน้านี้ กลับมาเชื่อมั่นประเทศไทยอีกครั้ง"เลขาธิการบีโอไอกล่าว
นายอุดม กล่าวว่า ภาพรวม การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2557 มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลง ทุนรวมทั้งสิ้น 477 โครงการ เงินลงทุนรวม 260,888 ล้านบาท โดยโครงการปรับลดลง 32% จากช่วง เดียวกันปี 2556 ที่มี 702 โครง การ เช่นเดียวกับเงินลงทุนที่ปรับลดลง 12% จากช่วงเดียวกันปี 2556 ที่มีเงินลงทุน 297,899 ล้านบาท ซึ่งแม้ว่าจะมีอัตราลดลง แต่ก็เป็นการลดในอัตราที่น้อยลงเหมือนสถิติภาพรวมการลงทุน
ทั้งนี้ พบว่านักลงทุนจากญี่ปุ่นเป็นกลุ่มที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยสูงสุด มีจำนวน 220 โครงการ เงินลงทุน 89,910 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2556 โดยจำนวนโครงการลงทุนจากญี่ปุ่นลดลง 41% มูลค่าเงินลงทุนลดลง 52% ด้านการลงทุนจากสหรัฐ สหภาพยุโรป และเกาหลีใต้ มีทิศทางของการเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาของปี 2557 นี้ มีโครงการลงทุนจากสหรัฐยื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 16 โครงการ เงินลงทุน 36,705 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าเงิน ลงทุนปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปี 2556 ถึงกว่า 4 เท่าตัว
ส่วนการลงทุนจากเกาหลี ใต้มียื่นขอรับส่งเสริมทั้งสิ้น 27 โครงการ เงินลงทุนรวม 13,716 ล้านบาท เงินลงทุนปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปี 2556 ถึงกว่า 9 เท่าตัว และการลงทุนจากสหภาพยุโรปมียื่นขอรับส่งเสริมทั้งสิ้น 70 โครงการ เงินลงทุนรวม 67,000 ล้านบาท มูลค่าเงินลงทุนปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปี 2556 ถึง 3 เท่าตัว.
BOI เผยโครงการยื่นขอรับส่งเสริม ก.ค.มี 147 โครงการ สูงสุดรอบ 7 เดือน
นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงสถิติการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนในช่วงมกราคม-กรกฎาคม 2557 ว่า จำนวนโครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมตลอดช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มียื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 147 โครงการ ซึ่งสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบรายเดือน นับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน 2557
เลขาฯบีโอไอระบุว่าการลงทุนในประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณที่ดีให้เห็นมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมแล้ว มีจำนวนโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจำนวน 117 โครงการ เดือนมิถุนายนมียื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 130 โครงการ และเดือนกรกฎาคม มียื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 147 โครงการ และถึงแม้ว่ามูลค่าเงินลงทุนจะไม่สูงมากนัก แต่จำนวนโครงการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนที่เคยชะลอการยื่นขอรับส่งเสริมไว้ก่อนหน้านี้ กลับมาเชื่อมั่นประเทศไทยอีกครั้ง
สำหรับ สถิติการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนตลอด 7 เดือนที่ผ่านมา พบว่า มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 770 โครงการ เงินลงทุนรวม 371,500 ล้านบาท โดยลดลงร้อยละ 30.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มี 1,105 โครงการ ส่วนมูลค่าเงินลงทุนลดลงร้อยละ 41.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีมูลค่าอยู่ที่ 633,600 ล้านบาท โดยกิจการที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนสูงสุดคือ กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง เงินลงทุน 174,100 ล้านบาท รองลงมาเป็นกลุ่มบริการและสาธารณูปโภค ตามด้วยกลุ่มเคมี กระดาษ และพลาสติก และกลุ่มกิจการเกษตรกรรม
ภาพรวมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในช่วง 7 เดือน มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนรวมทั้งสิ้น 477 โครงการ เงินลงทุนรวม 260,888 ล้านบาทลดลงร้อยละ 32 จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มี 702 โครงการ เช่นเดียวกับเงินลงทุนที่ปรับลดลงร้อยละ 12 จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีเงินลงทุน 297,899 ล้านบาท ซึ่งนักลงทุนจากญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในประเทศไทยสูงสุด มีจำนวน 220 โครงการ เงินลงทุน 89,910 ล้านบาท จำนวนโครงการลงทุนลดลงร้อยละ 41 มูลค่าเงินลงทุนลดลงร้อยละ 52
อย่างไรก็ตาม การลงทุนจากอเมริกา สหภาพยุโรป และเกาหลีใต้ มีทิศทางของการเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีโครงการลงทุนจากสหรัฐยื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 16 โครงการ เงินลงทุน 36,705 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าเงินลงทุนปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปี ถึงกว่า 4 เท่าตัว ส่วนการลงทุนจากเกาหลีใต้มียื่นขอรับส่งเสริมทั้งสิ้น 27 โครงการ เงินลงทุนรวม 13,716 ล้านบาท เงินลงทุนปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าถึงกว่า 9 เท่าตัว และการลงทุนจากสหภาพยุโรปมียื่นขอรับส่งเสริมทั้งสิ้น 70 โครงการ เงินลงทุนรวม 67,000 ล้านบาท มูลค่าเงินลงทุนปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า 3 เท่าตัว
อินโฟเควสท์