WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOIหรญญา สจนยบีโอไอ รุกแผนส่งเสริมลงทุนไทยในต่างประเทศ เล็ง MOU 4 ประเทศกลุ่มตลาดใหม่เอื้อนักลงทุน

   บีโอไอ เดินหน้าแผนส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ เน้นสร้างเครือข่าย-ความร่วมมือกลุ่มประเทศเป้าหมาย เผย ปี 2559 เตรียมจับมือ 4 ประเทศกลุ่มตลาดใหม่ ลงนามเอ็มโอยู อำนวยความสะดวกนักลงทุน พร้อมร่วมมือ 5 ประเทศ ในกลุ่มซีแอลเอ็มวี และอินโดนีเซีย จัดกิจกรรมใหญ่ ทีโอไอฟอรั่ม ภายในเดือนสิงหาคมนี้ ชี้ผลสำเร็จของหลักสูตรสร้างนักลงทุนไทย หลังจัดมา 9 รุ่น สามารถผลิตนักลงทุนลงทุนในต่างประเทศแล้ว 333 ราย

     นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงทิศทางการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ ปี 2559 ว่า บีโอไอ จะเร่งเดินหน้าดำเนินตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งด้านการให้ความช่วยเหลือนักลงทุน การให้ข้อมูล เชิงลึกในรายอุตสาหกรรมทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ การจัดฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักลงทุนไทย และการจัดบริการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาให้กับนักลงทุนโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมายที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ รวมถึงการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในระดับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในประเทศเป้าหมาย

     ทั้งนี้ บีโอไอได้กำหนดประเทศและกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ไทยมีศักยภาพสำหรับนักลงทุนในการเข้าไปดำเนินธุรกิจ แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. ประเทศในกลุ่มซีแอลเอ็มวี (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ) จะเน้นให้นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตร ชิ้นส่วนยานยนต์ สิ่งทอ อาหารทะเลแปรรูป วัสดุก่อสร้าง 2. กลุ่มอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน เน้นไปที่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ จักรยานยนต์ อาหารทะเลแปรรูป ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปิโตรเคมี และ 3.ประเทศตลาดใหม่ ได้แก่ ยูกันดา ศรีลังกา มองโกเลีย อุซเบกิสถาน เน้นไปที่อุตสาหกรรม ประมง สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เหมืองแร่พลังงานทดแทน และเกษตรและเกษตรแปรรูป

   "บีโอไอ เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนมาตั้งแต่ปี 2539 ถึงปัจจุบันซึ่งนอกจากการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศด้วยการให้ข้อมูลเชิงลึก และกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการแล้ว ยังได้ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนในการตัดสินใจเข้าไปดำเนินกิจการ อีกด้วย" นางหิรัญญา กล่าว

    นางสาวชลลดา อารีรัชชกุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ บีโอไอ กล่าวว่า ปีนี้ บีโอไอจะเพิ่มมิติในการส่งเสริมการลงทุนที่จะให้ข้อมูล และอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนให้ครอบคลุมแบบเจาะลึกมากขึ้น ทั้งประเภทกิจการเป้าหมายสำหรับนักธุรกิจไทยที่จะไปลงทุนในแต่ละประเทศ รวมถึงจัดกิจกรรมนำคณะนักธุรกิจเดินทางไปศึกษาโอกาสลู่ทางการลงทุน และสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศรวม 24 ครั้ง รวมถึงการจัดสัมมนาเผยแพร่การลงทุน 2 ครั้งทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค

     นอกจากนี้ จะประสานความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการส่งเสริมการลงทุนใน 4 ประเทศกลุ่มตลาดใหม่ เพื่อลงนามบันทึกข้อตกลงเบื้องต้น (เอ็มโอยู) ส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนไทย นอกจากนี้ยังจะจัดให้มีสัมมนาครั้งใหญ่ในระดับหน่วยงานระดับประเทศภายใต้ชื่อ "ทีโอไอ ฟอรัม" (TOI FORUM) ครั้งที่ 2 ภายในเดือนสิงหาคม 2559 ซึ่งเบื้องต้นได้รับความร่วมมือจาก 5 ประเทศ ในกลุ่มซีแอลเอ็มวี และอินโดนีเซีย จัดเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนเพื่อร่วมให้ข้อมูล และศักยภาพของแต่ละประเทศ ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ในด้านความรู้และข้อมูลที่แท้จริงให้ผู้ประกอบการไทยใช้ประกอบการตัดสินใจเข้าไปลงทุนต่อไป

      นางสาวชลลดา กล่าวว่า สำหรับผลการดำเนินงาน ตามหลักสูตร " สร้างนักลงทุนไทยในต่างประเทศ " ที่ผ่านมา นับว่าประสบความสำเร็จด้วยดี โดยมีผู้ผ่านการฝึกอบรมแล้วทั้งสิ้น 9 รุ่น รวมจำนวน 333 ราย พบว่ามีนักลงทุนที่ผ่านการฝึกอบรม และมีโครงการจะเข้าไปลงทุนหรือร่วมทุนในต่างประเทศแล้ว 36 ราย กระจายการลงทุนอยู่ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนยานยนต์ อาหารสำเร็จรูป ประมง ธุรกิจบริการ โรงไฟฟ้า และพลังงานทดแทน เป็นต้น โดยประเทศที่นักลงทุนได้ตัดสินใจเข้าไปลงทุน อาทิ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว เมียนมา กัมพูชา ศรีลังกา และสิงคโปร์ เป็นต้น

ดันลงทุนท้องถิ่นเว้นภาษี 3-5 ปี ดึงบริษัทใหญ่ช่วยรายเล็ก-บูมค้าชายแดน

    ไทยโพสต์ : บอร์ดบีโอไอส่งเสริมลงทุนระดับท้องถิ่น ดึงบริษัทที่การเงินแกร่ง เป็นพี่เลี้ยงกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร พร้อมเข็นมาตรการจูงใจ เว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3-5 ปี ลดขนาดเงินลงทุนเหลือ 1 แสนบาท ด้านพาณิชย์เปิดตัวเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มั่นใจไทยฮับภูมิภาคนี้มั่นใจค้าชายแดนทะลุ 1.5 ล้านล้านบาท

   นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบีโอไอ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า ได้มีการวางมาตรการส่งเสริมการลงทุนระดับท้องถิ่น ผลักดันให้บริษัทที่มีฐานะการเงินที่แข็งแรงเข้ามาช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร โดยการตั้งศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในแหล่งท่องเที่ยวตามท้องถิ่น เพื่อพัฒนาให้ควบคู่กันไป

    โดยบริษัทที่เข้ามาช่วยส่งเสริม จะได้รับเงื่อนไขในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี วงเงินไม่เกินมูลค่าการลงทุน และเปิดโอกาสให้สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน หรือผู้ประกอบการทั่วไปที่ลงทุนตั้งโรงงาน จะได้รับยกเว้นภาษีฯ 5 ปี รวมถึงผ่อนปรนลดขนาดการลงทุนขั้นต่ำจาก 1 ล้านบาท เหลือ 1 แสนบาท เพื่อเดินหน้านโยบาย 1 ตำบล 1 โรงงาน

     นอกจากนี้ ได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการในกลุ่มต่างๆ จำนวน 14 โครงการที่ยื่นขอการส่งเสริม รวมเป็นเม็ดเงินทั้งสิ้น 39,329.44 ล้านบาท ประเดิมการลงทุนตามนโยบาย โดยตั้งเป้าหมายภายในปี 2559 จะสามารถอนุมัติโครงการที่ยื่นขอการส่งเสริมการลงทุนที่ 60% ของโครงการทั้งหมด คาดเป็นเงินลงทุน 450,000 ล้านบาท

     ด้าน น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวในการเปิดงาน Open House เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ว่า กระทรวงฯ ได้เชิญคณะทูตานุทูตจากประเทศต่างๆ ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และผู้ที่สนใจ รวมประมาณ 1,100 คน มาร่วมงานเปิดตัวครั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าไทยมีความพร้อมในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยใช้ไทยเป็นศูนย์กลางในการลงทุน และใช้ประโยชน์จากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

   ทั้งนี้ พบว่าการค้าชายแดนใน 10 จังหวัดที่เป็นที่ตั้งของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มีมูลค่าสูงถึง 1.1 ล้านล้านบาท หากรวมการค้าระหว่างประเทศด้วย จะมีมูลค่าสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท และยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้เพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง

   “รัฐบาลมีเป้าหมายในการดึงดูดการลงทุนให้เข้ามาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การให้สิทธิพิเศษต่างๆ แก่นักลงทุน เช่น ลดภาษีเงินได้ 8 ปี ใช้แรงงานต่างด้าวแบบไป-กลับได้ ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ และยังให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า ประปาได้ 2 เท่า เป็นต้น" น.ส.ชุติมากล่าว

     นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า กรมจะนำนักลงทุน นักธุรกิจ และผู้ที่สนใจ ลงพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้ว ซึ่งถือว่าเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่มีความพร้อมทุกด้าน และจะใช้เป็นโมเดลให้แก่ 9 เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อนำไปปรับใช้ต่อไป โดยคาดว่าจะช่วยส่งเสริมให้การค้าชายแดนขยายตัวมากขึ้น จากปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านล้านบาท.

บอร์ด BOI ไฟเขียวส่งเสริมลงทุน 14 โครงการ กว่า 3.9 หมื่นลบ.

    นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ที่ประชุมได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการในกลุ่มต่างๆ จำนวน 14 โครงการ เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 39,329.44 ล้านบาท ดังนี้

     กิจการในกลุ่มกิจการด้านการเกษตร ได้แก่ 1.บริษัท เพ็ท โฟกัส จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง (PET FOOD) เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,338.1 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 86,400 ตัน ตั้งโรงงานที่จังหวัดลพบุรี โครงการนี้จะเพิ่มการใช้ผลิตผลทางการเกษตร เช่น มันสำปะหลัง รำข้าว ข้าวโพดและปลาป่นที่จะนำมาผลิตเป็นอาหารสัตว์

   2. บริษัท กรีนสปอต จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตเครื่องดื่มจากธัญพืช เงินลงทุนทั้งสิ้น 4,680.9 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 162,000,000 ลิตร ตั้งโรงงานที่จังหวัดสระบุรี โครงการนี้จะใช้วัตถุดิบเป็นถั่วเหลืองโดยการรับซื้อจากกลุ่มเกษตรกรพื้นที่ภาคเหนือปีละประมาณ 2,362 ตัน

   3. บริษัท ซันชาย ไบโอเทค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตสารให้ความหวาน เช่น มอลโทสไซรัป และกลูโคส เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,734.3 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 3,600 ตัน ตั้งโรงงานที่จังหวัดปราจีนบุรี โครงการนี้จะใช้วัตถุดิบในประเทศมูลค่า 1,375.4 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 97.7 ของมูลค่าวัตถุดิบทั้งสิ้น

     4.บริษัท กำแพงเพชร ไบโอ เอทานอล จำกัด ได้รับส่งเสริมในกิจการผลิตเอทานอล 99.5% เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,500 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 60,000,000 ลิตร ตั้งโรงงานที่จังหวัดกำแพงเพชร โครงการนี้เป็นการผลิตเพื่อทดแทนหรือลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ สนับสนุนการใช้วัตถุดิบในประเทศ ได้แก่ มันสำปะหลัง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการใช้พลังงานทดแทนของภาครัฐ

     กิจการในกลุ่มแร่ เซรามิกส์ ได้แก่ 5.บริษัทกบินทร์บุรีกล๊าส อินดัสทรี จำกัดได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตกระจกแผ่นเรียบ (FLOAT GLASS) กำลังการผลิตปีละประมาณ 198,000 ตัน กระจกแปรรูป (TEMPERED GLAS)กำลังการผลิตปีละประมาณ 198,000 ตัน และขวดแก้วปีละประมาณ 105,600 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 7,645 ล้านบาท ตั้งโรงงานที่จังหวัดปราจีนบุรี โครงการนี้จะใช้เทคโนโลยีทันสมัยและมีแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้พนักงานคนไทยได้รู้ระบบการผลิตจากผู้เชี่ยวชาญ และตอบสนองนโยบายภาครัฐในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับนักลงทุนต่างชาติได้

      กิจการในกลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง ได้แก่ 6.บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์เครื่องจักรกลทางการเกษตร เช่น จอบหมุน เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,030.6 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 72,000 ชุด ตั้งโรงงานที่จังหวัดชลบุรี โครงการนี้ เป็นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องจักรกลทางการเกษตรจากต่างประเทศ และสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตรซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

   7.บริษัท บางกอกแคน แมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตตัวกระป๋องอลูมิเนียม กำลังการผลิตปีละประมาณ 800,000,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,660 ล้านบาท ตั้งโรงงานที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงการนี้เป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และลดการนำเข้ากระป๋องอลูมิเนียมสำหรับบรรจุเครื่องดื่มจากต่างประเทศ

      กิจการลงทุนตามนโยบาย Super Cluster ได้แก่ 8. MR.CARTERN ZUR STEEGE และ MR.WATARU HAMAURA ได้รับการส่งเสริมกิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เช่น ELECTRONIC FUEL INJECTOR ซึ่งเป็นหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ที่มีประสิทธิภาพเผาไหม้เชื้อเพลิงได้ดี ช่วยลดมลพิษ เป็นต้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,754.1 ล้านบาท ตั้งโรงงานที่จังหวัดระยอง ทั้งนี้เป็นการลงทุนขนาดใหญ่รายแรกที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในกลุ่มคลัสเตอร์ ยานยนต์และชิ้นส่วน (Super Cluster) ตามแผนของบริษัทต้องการใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เพื่อรองรับตลาดในภูมิภาค และตลาดอื่นๆ ที่มีศักยภาพ

       กิจการในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ 9. บริษัท อินทรี ดิจิตอล จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการซอฟต์แวร์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,159 ล้านบาท ตั้งกิจการที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร โครงการนี้เป็นการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์มาตรฐานระดับโลกที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล

      กิจการในกลุ่มเคมีภัณฑ์ พลาสติกและกระดาษ ได้แก่ 10. บริษัท แอ๊ดวานซ์ พัลพ์ มิลล์ 3 จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตเยื่อกระดาษฟอกขาว กำลังการผลิตปีละประมาณ 472,500 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 6,460 ล้านบาท ตั้งโรงงานที่จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการนี้ใช้วัตถุดิบในประเทศมูลค่า 4,898.6 ล้านบาทต่อปี และสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์กระดาษพิมพ์เขียนในประเทศ

        11.บริษัท พรีแพค ประเทศไทย จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น บรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน (FLEXIBLE PACKAGING) กำลังการผลิตปีละประมาณ 7,000 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,197 ล้านบาท ตั้งโรงงานที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร และจังหวัดระยอง โครงการนี้ใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งสิ้น มูลค่าประมาณ 483.6 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมต้นน้ำ คือการผลิตเม็ดพลาสติกและฟิล์มพลาสติกใช้เทคโนโลยีทันสมัยก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะและความชำนาญให้ผู้ปฏิบัติงาน

      กิจการบริการ และสาธารณูปโภค ได้แก่ 12. บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตน้ำประปา ขนาด 36,500,000 ลูกบาศ์กเมตรต่อปี เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,147.44 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร โครงการนี้มีมูลค่าการใช้เครื่องจักรใหม่ในประเทศ 836.98 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 83.7 ของมูลค่าเครื่องจักรทั้งสิ้น มีการใช้ระบบกรองแบบ FILTER UNDERDRAIN และ UF ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจากประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น

      13.บริษัท เอส ที เพาเวอร์ กรุ๊ป จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการเขตอุตสาหกรรมพื้นที่ 1,941 ไร่ โดยเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรม 1,280 ไร่ พื้นที่สาธารณูปโภคและพื้นที่ส่วนกลาง 660 ไร่ เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,523 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี โครงการนี้เป็นการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพให้เป็นเขต/นิคมอุตสาหกรรม และทำให้หลายอุตสาหกรรมที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เช่น อุตสาหกรรมเกษตรกรรม

      14.บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด ได้รับส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาสูตรและกระบวนการของตัวเร่งปฏิกิริยา เช่น ตัวเร่งปฏิกิริยาของพอลิโพรพิลีน ตั้งโครงการที่จังหวัดระยอง เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,500  ล้านบาท โครงการนี้เป็นการพัฒนาสูตรการผลิตเม็ดพลาสติกเพื่อให้มีคุณภาพและตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้งาน ลดค่าใช้จ่ายและถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากรให้ด้านวิจัยและพัฒนา

                อินโฟเควสท์

บีโอไอ ไฟเขียวส่งเสริมการลงทุน 14 โครงการ กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ประเดิมลงทุนตามนโยบายคลัสเตอร์ ฟากกลุ่มเกษตรลงทุนเฉียดหมื่นลบ.

    บอร์ดบีโอไออนุมัติส่งเสริมการลงทุน 14 โครงการ เงินลงทุนรวมกว่า 39,000 ล้านบาท กลุ่มเกษตรลงทุนเฉียดหมื่นล้านบาท ขณะที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทุ่มลงทุนกว่า 1,700 ล้าน ประเดิมเป็นผู้ผลิตรายแรกที่ลงทุนโครงการใหญ่และได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้ นโยบายซูเปอร์คลัสเตอร์ ที่จังหวัด ระยอง

    นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังการ ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ที่ประชุมได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการในกลุ่มต่างๆ จำนวน 14 โครงการ เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 39,329.44 ล้านบาท

กิจการในกลุ่มกิจการด้านการเกษตร ได้แก่

  1.บริษัท เพ็ท โฟกัส จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง (PET FOOD) เงินลง ทุนทั้งสิ้น 1,338.1 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 86,400 ตัน ตั้งโรงงานที่จังหวัดลพบุรี โครงการนี้จะเพิ่มการใช้ผลิตผลทางการเกษตร เช่น มันสำปะหลัง รำข้าว ข้าวโพดและปลาป่นที่จะ นำมาผลิตเป็นอาหารสัตว์

    2. บริษัท กรีนสปอต จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตเครื่องดื่มจากธัญพืช เงินลงทุนทั้งสิ้น 4,680.9 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 162,000,000 ลิตร ตั้งโรงงานที่จังหวัดสระบุรี โครงการนี้ จะใช้วัตถุดิบเป็นถั่วเหลืองโดยการรับซื้อจากกลุ่มเกษตรกรพื้นที่ภาคเหนือปี ละประมาณ 2,362 ตัน

     3. บริษัท ซันชาย ไบโอเทค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตสารให้ความ หวาน เช่น มอลโทสไซรัป และกลูโคส เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,734.3 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละ ประมาณ 3,600 ตัน ตั้งโรงงานที่จังหวัดปราจีนบุรี โครงการนี้จะใช้วัตถุดิบในประเทศมูลค่า 1,375.4 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 97.7 ของมูลค่าวัตถุดิบทั้งสิ้น

    4.บริษัท กำแพงเพชร ไบโอ เอทานอล จำกัด ได้รับส่งเสริมในกิจการผลิตเอทานอล 99.5% เงิน ลงทุนทั้งสิ้น 1,500 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 60,000,000 ลิตร ตั้งโรงงานที่จังหวัด กำแพงเพชร โครงการนี้เป็นการผลิตเพื่อทดแทนหรือลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ สนับ สนุนการใช้วัตถุดิบในประเทศ ได้แก่มันสำปะหลังซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการใช้พลังงานทดแทนของ ภาครัฐกิจการในกลุ่มแร่ เซรามิกส์ ได้แก่

    5.บริษัทกบินทร์บุรีกล๊าส อินดัสทรี จำกัดได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตกระจกแผ่นเรียบ ( FLOAT GLASS ) กำลังการผลิตปีละประมาณ 198,000 ตัน กระจกแปรรูป ( TEMPERED GLAS )กำลัง การผลิตปีละประมาณ 198,000 ตัน และขวดแก้วปีละประมาณ 105,600 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 7,645 ล้านบาท ตั้งโรงงานที่จังหวัดปราจีนบุรี โครงการนี้จะใช้เทคโนโลยีทันสมัยและมีแผนการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้พนักงานคน ไทยได้รู้ระบบการผลิตจากผู้เชี่ยวชาญ และตอบสนองนโยบายภาค รัฐในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเป็นผู้ประกอบการที่ มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับนักลงทุนต่าง ชาติได้ กิจการในกลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง ได้แก่

     6.บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์เครื่อง จักรกลทางการเกษตร เช่น จอบหมุน เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,030.6 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละ ประมาณ 72,000 ชุด ตั้งโรงงานที่จังหวัดชลบุรี โครงการนี้ เป็นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าชิ้น ส่วนและอุปกรณ์เครื่องจักรกลทางการเกษตร จากต่างประเทศ และสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิต เครื่องจักรกลทางการเกษตรซึ่งเป็นอุตสาหกรรม ต่อเนื่อง

     7.บริษัท บางกอกแคน แมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตตัวกระป๋องอลูมิเนียม กำลังการผลิตปีละประมาณ 800,000,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,660 ล้านบาท ตั้งโรงงานที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงการนี้เป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มซึ่ง เป็น อุตสาหกรรมต่อเนื่อง และลดการนำเข้ากระป๋องอลูมิเนียมสำหรับบรรจุเครื่องดื่มจากต่างประเทศกิจการลงทุนตามนโยบาย Super Cluster

   8. MR.CARTERN ZUR STEEGE และ MR.WATARU HAMAURA ได้รับการส่งเสริมกิจการผลิตชิ้น ส่วนยานพาหนะ เช่น ELECTRONIC FUEL INJECTOR ซึ่งเป็นหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ที่มีประสิทธิภาพเผาไหม้เชื้อเพลิงได้ดี ช่วยลดมลพิษ เป็นต้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,754.1 ล้านบาท ตั้งโรงงานที่จังหวัดระยอง ทั้งนี้เป็นการลงทุนขนาดใหญ่รายแรกที่ได้รับส่งเสริม การลงทุนตามนโยบายส่ง เสริมการลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในกลุ่มคลัสเตอร์ ยานยนต์และชิ้น ส่วน (Super Cluster) ตามแผนของบริษัทต้องการใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยาน พาหนะ เพื่อรองรับตลาดในภูมิภาค และตลาดอื่น ๆ ที่มีศักยภาพกิจการในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่

  9. บริษัท อินทรี ดิจิตอล จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการซอฟต์แวร์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,159 ล้านบาท ตั้งกิจการที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร โครงการนี้เป็นการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์มาตรฐานระดับโลกที่ เป็นทรัพย์สินทาง ปัญญาของคนไทย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาลกิจการในกลุ่มเคมีภัณฑ์ พลาสติกและกระดาษ ได้แก่

   10. บริษัท แอ๊ดวานซ์ พัลพ์ มิลล์ 3 จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตเยื่อกระดาษฟอกขาว กำลัง การผลิตปีละประมาณ 472,500 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 6,460 ล้านบาท ตั้งโรงงานที่จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการนี้ใช้วัตถุดิบในประเทศมูลค่า 4,898.6 ล้านบาทต่อปี และสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์กระดาษพิมพ์เขียนในประเทศ

    11.บริษัท พรีแพค ประเทศไทย จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น บรรจุ ภัณฑ์ชนิดอ่อน (FLEXIBLE PACKAGING) กำลังการผลิตปีละประมาณ 7,000 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,197 ล้านบาท ตั้งโรงงานที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาครและจังหวัดระยอง โครงการนี้ใช้ วัตถุดิบในประเทศทั้งสิ้น มูลค่าประมาณ 483.6 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมต้นน้ำ คือการผลิตเม็ดพลาสติกและฟิล์มพลาสติก ใช้เทคโนโลยีทันสมัยก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะและความ ชำนาญให้ผู้ปฏิบัติ งานกิจการบริการ และสาธารณูปโภค ได้แก่

  12. บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตน้ำประปา ขนาด 36,500,000 ลูกบาศ์กเมตรต่อปี เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,147.44 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร โครงการนี้มีมูลค่าการใช้เครื่องจักรใหม่ในประเทศ 836.98 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 83.7 ของ มูลค่าเครื่องจักรทั้งสิ้น มีการใช้ระบบกรองแบบ FILTER UNDERDRAIN และ UF ซึ่งเป็น เทคโนโลยีจากประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น

    13.บริษัท เอส ที เพาเวอร์ กรุ๊ป จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการเขตอุตสาหกรรมพื้นที่ 1,941 ไร่ โดยเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรม 1,280 ไร่ พื้นที่สาธารณูปโภคและพื้นที่ส่วนกลาง 660 ไร่ เงิน ลงทุนทั้งสิ้น 2,523 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี โครงการนี้เป็นการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพให้เป็น เขต/นิคมอุตสาหกรรม และทำให้หลายอุตสาหกรรมที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายเติบโตได้อย่างรวด เร็ว เช่น อุตสาหกรรมเกษตรกรรม

     14.บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด ได้รับส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาสูตรและกระบวนการของตัวเร่ง ปฏิกิริยา เช่น ตัวเร่งปฏิกิริยาของพอลิโพรพิลีน ตั้งโครงการที่จังหวัดระยอง เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,500 ล้านบาท โครงการนี้เป็นการพัฒนาสูตรการผลิตเม็ดพลาสติกเพื่อให้มีคุณภาพและตอบสนอง ความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้งาน ลดค่าใช้จ่ายและถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากรให้ด้านวิจัยและพัฒนา

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!