- Details
- Category: บีโอไอ
- Published: Tuesday, 24 November 2015 09:21
- Hits: 6963
'สมคิด'นำทีมบุกญี่ปุ่นชักจูงมาลงทุนไทยมั่นใจมาตรการใหม่โดนใจกลุ่มทุน
แนวหน้า : นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ บีโอไอ เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 25-28 พฤศจิกายน 2558 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะเป็นหัวหน้าคณะของรัฐบาลไทย เดินทางไปชักจูงการลงทุน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยมีกิจกรรมสำคัญด้านการลงทุน ได้แก่ งานสัมมนา "Thailand : Moving Forward to Sustainable Growth" และ การหารือกับบริษัทชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น
สำหรับ งานสัมมนา "Thailand : Moving Forward to Sustainable Growth" นั้น ขณะนี้มีนักธุรกิจญี่ปุ่นตอบรับเข้าร่วมงานกว่า 1,000 ราย ซึ่งเกินกว่าที่คาดว่าจะมีผู้ตอบรับเข้าร่วมงานประมาณ 700 ราย ในงานสัมมนาครั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี จะกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "Thailand's New Economic Policies" เพื่อชี้ให้เห็นภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน และแผนการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ที่ประกอบไปด้วย การให้สิทธิประโยชน์ทั้งในส่วนของบีโอไอและ กระทรวงการคลัง และแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต
นางหิรัญญากล่าวว่า มาตรการต่างๆ ที่รองนายกรัฐมนตรี และบีโอไอ จะนำเสนอแก่นักธุรกิจญี่ปุ่น จะช่วย สร้างความมั่นใจและส่งผลให้เกิดการตัดสินใจ ลงทุนในประเทศไทยอย่างแน่นอน เพราะการ ลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ส่วนใหญ่ เป็นกิจการเป้าหมายที่รัฐบาลไทยและบีโอไอ ต้องการผลักดันให้เกิดในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนตามนโยบายคลัสเตอร์
"ทั้งนี้ บีโอไอมั่นใจว่าหากนักลงทุนญี่ปุ่นทราบถึงรายละเอียดต่างๆ ของนโยบายคลัสเตอร์ของประเทศไทยแล้ว เชื่อว่าข้อมูลรายละเอียดเหล่านี้จะช่วยให้นักลงทุนญี่ปุ่นสามารถตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และทำการผลิตได้ยาก หรือมีจำนวนผู้ผลิตอยู่น้อยรายในปัจจุบัน" นางหิรัญญา กล่าว
นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรี รวมถึง นางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม และบีโอไอ จะได้พบปะหารือกับบริษัทชั้นนำของ ประเทศญี่ปุ่น อาทิ บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักรกล เป็นต้น
สำหรับ ภาพรวมในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2558 พบว่ายอด การขอรับส่งเสริมการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย สูงเป็นอันดับ 1 ของการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ โดยมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 28,000 ล้านบาท
สมคิด นำทีมโรดโชว์ญี่ปุ่น 25 -28 พ.ย.แจงนโยบายคลัสเตอร์ ดึงนลท.เข้ามาลงทุนไทยมากขึ้น
นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะเป็นหัวหน้าคณะของรัฐบาลไทยเดินทางไปชักจูงการลงทุน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 25 – 28 พฤศจิกายน 2558 โดยมีกิจกรรมสำคัญด้านการลงทุน ได้แก่ งานสัมมนา Thailand: Moving Forward to Sustainable Growth และการหารือกับบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น โดยมีหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมเดินทางด้วย
ขณะนี้ มีนักธุรกิจญี่ปุ่นตอบรับเข้าร่วมงานสัมมนา “Thailand: Moving Forward to Sustainable Growth"กว่า 1,000 ราย เกินกว่าที่คาดว่าจะมีผู้ตอบรับเข้าร่วมงานประมาณ 700 ราย ซึ่งในงานนี้ รองนายกรัฐมนตรีจะกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Thailand’s New Economic Policies" เพื่อชี้ให้เห็นภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน และแผนการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ที่ประกอบไปด้วยการให้สิทธิประโยชน์ทั้งในส่วนของบีโอไอและกระทรวงการคลัง และแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรี รมว.อุตสาหกรรม และบีโอไอ จะพบปะหารือกับบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น อาทิ บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักรกล
"มาตรการต่างๆ ที่รองนายกรัฐมนตรีและบีโอไอจะนำเสนอแก่นักธุรกิจญี่ปุ่น จะช่วยสร้างความมั่นใจและส่งผลให้เกิดการตัดสินใจลงทุนในประเทศไทยอย่างแน่นอน เพราะการลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่นในไทยส่วนใหญ่เป็นกิจการเป้าหมายที่รัฐบาลและบีโอไอต้องการผลักดันให้เกิดในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนตามนโยบายคลัสเตอร์...มั่นใจว่า หากนักลงทุนญี่ปุ่นทราบรายละเอียดของนโยบายคลัสเตอร์ จะช่วยให้เขาสามารถตัดสินใจได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ผลิตได้ยาก หรือมีจำนวนผู้ผลิตอยู่น้อยรายในปัจจุบัน"นางหิรัญญา กล่าว
สำหรับ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2558 พบว่า ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในไทยสูงเป็นอันดับหนึ่งของการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ โดยมีมูลค่าประมาณ 28,000 ล้านบาท
อินโฟเควสท์