WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOIบีโอไอ ชี้อุตสาหกรรมเร่งรุกอาเซียน ปี 57ลงทุนต่างแดนหลักหมื่นล.เหรียญ

     แนวหน้า : นางสาวชลลดา อารีรัชกุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า จากสถิติล่าสุด ของธนาคารแห่งประเทศไทยในปี 2557 นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศกว่า 15,701.83 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยกิจการที่ไทยออกไปลงทุนมากที่สุดเป็นกิจการการผลิต 45% ส่วนมากเป็นการผลิตอาหาร และธุรกิจการเงินการธนาคาร การประกันภัย 13% และกิจการการขนส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์ 11%

      ทั้งนี้ ในอาเซียน กลุ่มประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และอินโดนีเซีย (CLMVI) เป็นกลุ่มประเทศที่เหมาะเข้าไปลงทุนมาก เพราะมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสูงถึงเฉลี่ยปีละ 10% มีการค้าเติบโตเฉลี่ยปีละ 16% และมีมูลค่าการลงทุนตั้งแต่ปี 2553-2556 จากต่างประเทศรวมกว่า 1.17 แสนล้านบาท และเติบโตต่อเนื่องถึง 9% ต่อปี จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจ และกำลังซื้อเติบโตเร็วมาก

     โดยจากสถิติในปีที่ผ่านมา ประเทศในอาเซียนที่ไทยเข้าไปลงทุนมากที่สุด ได้แก่ สิงคโปร์ 3,992 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมา อินโดนีเซีย 606 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ,เมียนมา 444 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ,มาเลเซีย 425 ล้านดอลลาร์สหรัฐ , สปป.ลาว 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ,เวียดนาม 308 ล้านดอลลาร์สหรัฐ, กัมพูชา 256 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และฟิลิปปินส์ 69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการที่ไทยลงทุนสิงคโปร์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นการใช้สิงคโปร์เป็นฐานในการออกไปลงทุนประเทศอื่น เพราะเป็นมีต้นทุนการดำเนินงานต่ำ

    นอกจากนี้ ไทยยังเป็นประเทศที่ออกไปลงทุนในอาเซียนเป็นอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย โดยมีสัดส่วนการลงทุนในเมียนมาเป็นอันดับ 2 ลงทุนในสปป.ลาวเป็นอันดับ 2 ลงทุนในกัมพูชาเป็นอันดับ 6 ลงทุนในเวียดนามเป็นอันดับ 10 และลงทุนในอินโดนีเซีย เป็นอันดับ 15

   สำหรับ ต้นทุนในการทำธุรกิจนั้นในเรื่องของค่าแรง ประเทศเมียนมามีค่าแรงขั้นต่ำน้อยที่สุด 56 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน รองลงมาเป็น สปป.ลาว 75 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน กัมพูชา 128 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน อินโดนีเซีย 145 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน และเวียยดนาม 174 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน ขณะที่ประเทศไทยอยู่ที่ 274 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน

    ทั้งนี้ บีโอไอ ได้ศึกษาอุตสาหกรรมไทยที่มีศักยภาพในการออกไปลงทุน 3 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งในอุตสาหกรรมอาหารควรเข้าไปตั้งโรงงานแปรรูปผลิตผลท้องถิ่น ธุรกิจร้านอาหารไทย อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์เหมาะเข้าไปลงทุนสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ โรงงานผลิตส่วนประกอบต่างๆ รวมทั้งศูนย์บริการและซ่อมบำรุง ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มควรเข้าไปลงทุนโรงงานผลิตเส้นใย โรงงานทอผ้า ย้อมผ้า และโรงงานตัดเย็บ  นอกจากนั้นตลาด CLMVI ยังมีจุดแข็งด้านทรัพยากรธรรมชาติ และแรงงานมากแต่มีอัตราค่าจ้างแรงงานต่ำ นักลงทุนไทยจึงควรเข้าไปขยายฐานการผลิตและการบริการ เพราะเป็นการสร้างโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบเหล่านี้

    "ผู้ประกอบการไทยที่จะประสบความสำเร็จในการไปลงทุนในต่างประเทศ นอกจากต้องรู้จักช่องทางในการทำธุรกิจ  มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจนั้นๆ แล้ว สิ่งสำคัญยังต้องศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลให้รู้จริงในแต่ละประเทศไปพร้อมกันด้วย เช่น การรู้จักช่องทางในการทำธุรกิจ มีผู้ประสานงานและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ได้รับมอบอำนาจของท้องถิ่น ทำธุรกิจที่ตนเองเชี่ยวชาญหรือเลือกธุรกิจที่มีผู้แข่งขันน้อยราย ขณะที่ด้านเงินทุนควรมีแหล่งเงินทุนที่รองรับความผันผวนของธุรกิจได้ สำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลางอาจต้องเกาะติดธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อช่วยประคับประคองไปสู่ความสำเร็จ เป็นต้น" นางสาวชลลดา กล่าว

     อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการดำเนินงานส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศในอนาคต(ปี 2559) บีโอไอมีแผนที่จะนำคณะนักธุรกิจไทยไปสำรวจลู่ทางการลงทุนรวมประมาณ 20 ครั้ง ส่วนใหญ่จะไปประเทศเป้าหมาย ซึ่งก็คือ กลุ่ม CLMVI โดยจากสถิติที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเกิดการลงทุนจริงประมาณ 20% ของผู้ที่เข้าอบรมทั้งหมด

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!