- Details
- Category: world articles
- Published: Sunday, 23 October 2016 20:36
- Hits: 8616
โลกกำลังเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบ Green Economy ซึ่งเน้นถึงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขณะเดียวกันกระแส Circular Economy ซึ่งเน้นถึงการนำของเสีย (waste) จากสินค้าหนึ่งมาเป็นวัตถุดิบของการผลิตอีกสินค้าหนึ่ง เพื่อลดหรือกำจัดปริมาณของเสียลง
การนำของเสีย เช่น เศษวัสดุ ของเหลือใช้ หรือวัสดุที่ไม่ได้ประโยชน์แล้ว มาเป็นวัตถุดิบของการผลิตใหม่ซึ่งนอกจากจะช่วยของเสียแล้ว ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้าใหม่ด้วย (upcycle)
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ร่วมกับหลายหน่วยงาน เช่น องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และมหาวิทยาลัยเกษตรสาสตร์ ออกระบบการรับรองสินค้าที่นอกจากจะมาจากกระบวนการ upcycle แล้ว ยังพิจารณาถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย(Upcycle Carbon Footprint)
ปัจจุบันมีสินค้าหลายชนิดแล้วที่ได้รับหรือกำลังขอรับรองระบบนี้ เช่น ที่รองจานจากใบสัปปะรด, พรมและหมอนจากเศษผ้าฝ้าย และพื้นหน้าบนโต๊ะจากกากกาแฟ
โปรแกรมฉลากและระบบรับรองสินค้าจากการแปรของเสียเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใหม่นี้จึงน่าส่งเสริมให้เป็นที่รู้จักและให้มีการผลิตสินค้าที่หลากหลาย เพื่อสอดรับกับกระแสการบริโภคสินค้าสีเขียวต่อไป
โดย ธงชัย บุณยโชติมา / วันที่โพสต์ 25 พ.ค. 2559