WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ECB logoสื่อตีข่าว ECB วิตกค่าเงินตุรกีทรุด ส่งผลกระทบเป็นโดมิโนต่อแบงก์ยุโรป

     หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์สรายงานวันนี้ว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการดิ่งลงของค่าเงินลีราของตุรกีที่จะมีต่อธนาคารยุโรป โดยเฉพาะธนาคาร BBVA ของสเปน, ธนาคาร UniCredit ของอิตาลี และธนาคาร BNP Paribas ของฝรั่งเศส

       ทั้งนี้ ลีราได้ทรุดตัวลง 33% เทียบดอลลาร์ตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น, การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และการที่รัฐบาลตุรกีใช้งบประมาณจำนวนมากในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งการที่นายเรเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ประธานาธิบดีตุรกี ได้เข้าแทรกแซงนโยบายการเงินของธนาคารกลางลีราดิ่งลงกว่า 10% เทียบดอลลาร์ในวันนี้ หลังการเจรจาซึ่งมีเป้าหมายเพื่อคลี่คลายวิกฤตทางการเมืองระหว่างตุรกีกับสหรัฐ ประสบภาวะชะงักงัน

      ทั้งนี้ ลีราอ่อนค่าลงต่อเนื่องสู่ระดับ 6 ลีราต่อดอลลาร์ในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากที่ร่วงลงไปกว่า 5% เมื่อคืนนี้ การเจรจาระดับทวิภาคีระหว่างผู้แทนตุรกีและสหรัฐที่เผชิญทางตันในกรุงวอชิงตันเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ส่งผลให้ลีราทรุดตัวลงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่เมื่อเทียบกับดอลลาร์

       การดิ่งลงของค่าเงินลีราจะส่งผลกระทบต่อธนาคารยุโรปที่ได้เข้าไปทำธุรกิจในตุรกี โดย ECB วิตกว่าการทรุดตัวของค่าเงินจะทำให้ภาคธุรกิจของตุรกีผิดนัดชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศ เนื่องจากจะทำให้ลูกหนี้ในตุรกีต้องชำระหนี้ในมูลค่าของลีราที่สูงขึ้น โดยหนี้สกุลเงินต่างประเทศคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 40% ของสินทรัพย์ในภาคธนาคารของตุรกี

      ข้อมูลจากธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ระบุว่า ภาคธนาคารของสเปนได้ปล่อยสินเชื่อแก่ตุรกีคิดเป็นวงเงิน 8.33 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่ธนาคารฝรั่งเศสปล่อยสินเชื่อ 3.84 หมื่นล้านดอลลาร์ และธนาคารอิตาลีปล่อยสินเชื่อ 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์

      นอกจากนี้ ประเทศในยูโรโซนมีการเกินดุลการค้ากับตุรกี โดยได้ส่งออกคิดเป็นมูลค่า 6.3 หมื่นล้านยูโรในปีที่แล้ว ดังนั้น หากตุรกีประสบภาวะเศรษฐกิจล่มสลาย ก็จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของยูโรโซนเช่นกัน

      อินโฟเควส

IMF วิพากษ์เยอรมนี หลังเผยตัวเลขเกินดุลบัญชีเดินสะพัดพุ่ง หวั่นกระทบเศรษฐกิจโลก

      ธนาคารกลางเยอรมนี (บุนเดสแบงก์) เปิดเผยในวันนี้ว่า เยอรมนีมีตัวเลขเกินดุลบัญชีเดินสะพัดพุ่งขึ้นในเดือนมิ.ย. แตะระดับ 2.62 หมื่นล้านยูโร จากระดับ 1.29 หมื่นล้านยูโรในเดือนพ.ค.

        ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดถือเป็นตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งเป็นการวัดดุลการค้าของประเทศ รวมทั้งรายได้สุทธิจากการลงทุนระหว่างประเทศ

       อย่างไรก็ดี กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้วิพากษ์วิจารณ์เยอรมนีซึ่งมีตัวเลขเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูง ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะไร้สมดุลในระดับโลก เนื่องจากเป็นการบ่งชี้ถึงภาวะขาดดุลและหนี้สินที่เพิ่มขึ้นของประเทศคู่ค้า

       IMF เรียกร้องให้เยอรมนีควบคุมตัวเลขเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่พุ่งขึ้นอย่างมาก โดยข้อมูลของ IMF ระบุว่า เยอรมนีมีตัวเลขเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงกว่าระดับ 8% ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยตัวเลขเกินดุลที่สูงกว่า 6% อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

      IMF ระบุว่า ตัวเลขเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงไม่จำเป็นต้องแสดงถึงภาวะเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเสมอไป แต่เป็นการบ่งชี้ถึงการลงทุนภายในประเทศที่อ่อนแอ และการออมในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่สูงเกินความจำเป็น ดังนั้น รัฐบาลเยอรมนีจึงควรเพิ่มการใช้จ่ายงบประมาณ ในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อกระตุ้นภาคเอกชนให้เพิ่มการลงทุนในประเทศ

IMF ห่วงยอดเกินดุลของเยอรมนีจะส่งผลให้เกิดความตึงเครียดทางการค้า

     นายมัวรีย์ ออบสต์เฟลด์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า ความไม่แน่นอนของเยอรมนีในการลดการเกินดุลการค้าจะส่งผลให้เกิดความตึงเครียดทางการค้า และเพิ่มความเสี่ยงซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงทางการเงินทั่วโลก

      ออบสต์เฟลด์แสดงความคิดเห็นลงในหนังสือพิมพ์ ดี เวล์ต ของเยอรมนีว่า "เราจะเห็นได้ว่ามาตรการจัดการกับยอดเกินดุลการค้า (ในบัญชีปัจจุบัน) ของประเทศต่างๆ อย่างเยอรมนียังคงไม่มีความแน่นอน ขณะที่ทางออกที่ดีที่สุดก็คือ การทำให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเกินดุลลดลงเหลือน้อยที่สุด"

      ทั้งนี้ IMF และคณะกรรมาธิการยุโรปได้เรียกร้องให้เยอรมนีเร่งสนับสนุนอุปสงค์ภายในประเทศด้วยการปรับขึ้นค่าแรงและการลงทุน เพื่อลดภาวะไร้สมดุลทางการค้าทั่วโลก

      ออบสต์เฟลด์ กล่าวว่า ประเทศที่มีความสมดุลในบัญชีเดินสะพัดอยู่ในระดับต่ำมากอย่างสหรัฐ ควรจะลดการขาดดุลงบประมาณลง, สนับสนุนให้ภาคครัวเรือนมีการเก็บออมมากขึ้น และค่อยๆทำให้นโยบายการเงินกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

      ในขณะเดียวกัน ประเทศที่ยอดดุลอยู่ในระดับสูงมากอย่างเยอรมนีก็ควรเพิ่มค่าใช้จ่ายของรัฐบาลด้วยการเข้าไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการสร้างระบบดิจิทัล เพื่อให้บริษัทต่างๆเลือกที่จะลงทุนในประเทศแทนที่จะหันไปลงทุนยังต่างประเทศ

                              อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!