- Details
- Category: CLMV
- Published: Wednesday, 04 February 2015 23:29
- Hits: 8637
บทความ: พลวัตของจีนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและนัยต่อประเทศไทย
บทความเรื่อง
การนำเสนอผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “พลวัตของจีนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและนัยต่อประเทศไทย” บทสรุปคัดย่อโดย นางสาวกัลยา วิริยะประสงค์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ สพจ.กสอ.
Research Focus
1. บรรยายสภาพแวดล้อมของกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ประกอบด้วย 6 ประเทศ คือ ประเทศไทย กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และจีนตอนใต้ (เฉพาะมณฑลยูนนานและเขตปกครองตนเองกว่างสี)
2. บทบาทและพลวัตของการค้าและการลงทุน
3. การศึกษาข้อมูลระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนของประเทศไทยและจีนและชุมชนส่วนท้องถิ่น คู่แข่งขันต่างชาติ และรัฐบาลของกลุ่มประเทศ CLMV
4. ข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐและภาคธุรกิจ
สภาพแวดล้อมของประเทศกลุ่ม GMS ในปี ค.ศ. 2013
ประเทศจีนมี GDP มากที่สุดถึง 9,181 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ มีประชากร 1,357 ล้านคน และมีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 7.7 รายได้ต่อหัวเท่ากับ 6,747 เหรียญสหรัฐ ค่าจ้างเฉลี่ยต่ำสุดต่อวันเท่ากับ $ 14.3 – 19. 7 ในขณะที่ประเทศไทย มี GDP รองลงมาเป็นอันดับสอง 387 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ มีประชากร 67 ล้านคน ค่าจ้างเฉลี่ยต่ำสุดต่อวันเท่ากับ $ 9.5 และมีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 2.9 รองจากประเทศลาวซึ่งมี GDP Growth 8 % ประเทศไทยเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของจีน ในด้านการส่งออกสินค้าจีนไปไทยคิดเป็น 2 % และนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย คิดเป็น 1.5 %
วิธีการวิจัยเข้าไปติดต่อผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนได้เสีย โดยไปติดต่อกับ (slide 10)
1. องค์กรภาครัฐของประเทศจีน
2. องค์กรภาครัฐของประเทศไทย และ
3. ผู้มีส่วนได้เสียในประเทศ CLMV ได้แก่ ประเทศจีน เข้าไปติดต่อสถานทูตจีน สมาคม และบริษัทที่อยู่ในประเทศจีน ประเทศไทย เข้าไปติดต่อสถานทูตไทย สมาคม และบริษัทใหญ่ ๆ ที่อยู่ในประเทศไทย สำหรับประเทศ CLMV เข้าไปติดต่อหน่วยงานภาครัฐ บริษัทท้องถิ่นประเทศนั้น ๆ และบริษัทต่างชาติ ที่เข้าไปทำธุรกิจในกลุ่มประเทศ CLMV และเข้าไปศึกษาคนจีน คนไทยที่อยู่ในกลุ่มประเทศ CLMV
การวิจัยในเชิงกว้างเข้าไปศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถ้าเปรียบเทียบลักษณะหน้าที่คล้ายกับของประเทศไทย ได้แก่ สภาพัฒน์ฯ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม BOI การลงพื้นที่ในแต่ละประเทศมุ่งไปที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และศึกษาตลาดผู้บริโภค
การวิจัยเชิงลึก นักวิจัย เจาะลึกลงรายละเอียดของแต่ละแห่ง ได้แก่ ประเทศจีน เข้าไปศึกษามณฑลยูนนานทางตอนใต้ โดยเข้าไปศึกษาที่เมืองคุนหมิง และรุ่ยลี่ (Ruili) และเขตปกครองตนเองกว่างสีซึ่งอยู่ตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน เข้าไปศึกษาที่เมืองหนานหนิง (Nanning) ผิงเสียง (Pingxiang) ฉงจั๋ว (Chongzuo) ฟางเชิงกัง (Fangchenggang) และ ตงซิง (Dongxing)
ประเทศกัมพูชา เข้าไปศึกษาที่เมืองพนมเปญ เสียมเรียบ สีหนุวิลล์ และกัมพง
ประเทศลาว เข้าไปศึกษาองค์กรสำคัญของประเทศจีน ประเทศไทยที่อยู่ในประเทศลาวและองค์กรในประเทศลาว
ประเทศพม่า เข้าไปศึกษาที่เมืองย่างกุ้ง นอว์ปิดอว์ มัณฑะเลย์ และ Kyaukpyu (จ้าวผิว)
ประเทศเวียดนาม เข้าไปศึกษาที่เมืองฮานอย โฮจิมินท์ ตงใน และเทียนเกียง
บทบาทและพลวัตการค้าและการลงทุนกับกลุ่มประเทศ CLMV มีดังนี้
การค้าระหว่าง CLMVT และประเทศจีน
เศรษฐกิจของประเทศจีนใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก มูลค่าการค้าของประเทศจีน จีนลงทุนในประเทศไทยเป็นอันดับ 1 และกัมพูชาเป็นอันดับ 5 ลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน คิดเป็นร้อยละ 10.2
สำหรับสินค้าส่งออกสูงสุดที่ส่งไปประเทศจีน เป็นสินค้าขั้นพื้นฐาน สินค้าเกษตรแปรรูป ได้แก่ ประเทศลาว และพม่า ส่งออกสินค้าจำพวกวัตถุดิบ ประเทศกัมพูชา ส่งวัตถุดิบและสิ่งทอประเทศไทยและเวียดนาม ส่งสินค้าวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับ supply chain สินค้าที่ส่งออกจากประเทศไทยไปประเทศจีน สูงสุด ๕ อันดับ ได้แก่ ยางพารา เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
สินค้านำเข้าจากประเทศจีนสูงสุด ได้แก่
ประเทศกัมพูชาและเวียดนาม นำเข้าวัตถุดิบเพื่ออุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ประเทศเวียดนาม ลาว และพม่า นำเข้าเหล็ก และเหล็กกล้าเพื่อการก่อสร้าง
ประเทศไทย นำเข้าจำพวกเครื่องโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ (รวมชิ้นส่วนและส่วนประกอบคอมพิวเตอร์) เครื่องจักร และยานยนต์
การค้าระหว่าง CLMV และประเทศไทย
ประเทศที่นำเข้าสินค้าไทย ส่วนใหญ่เป็นประเทศกัมพูชาและลาว แต่ตลาดที่ประเทศไทยส่งออกไปมากที่สุด ได้แก่ลาวและพม่า สินค้าที่กลุ่ม CLMV นำเข้าจากไทยส่วนใหญ่ ได้แก่ น้ำมัน ซีเมนต์ เหล็ก และเหล็กกล้า
สำหรับสินค้าส่งออกจากกลุ่ม CLMV ไปสู่ไทย ได้แก่ ประเทศพม่า ส่งออกก๊าซธรรมชาติ ไปประเทศไทย ขณะที่ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร ผักและผลไม้
สำหรับมูลค่าการลงทุนสะสมของจีน ส่วนใหญ่จีนลงทุนในประเทศกัมพูชา และลาวมากที่สุด ขณะที่ลงทุนในประเทศพม่าน้อยลง
โดยสรุปการลงทุนจีนในกลุ่มลุ่มน้ำโขง (GMS) มีดังนี้
1. สร้างการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ คือการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าใกล้ชายแดนจีน โดยบริษัท Sinohydro
2. สร้างถนน สะพาน
3. อุตสาหกรรมเหมืองแร่ แร่ที่ได้ต้องแปรรูปก่อนการส่งออก
4. อุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อต้องการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร การเกษตร ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา เพราะประเทศจีนมีประชากรมาก
5. พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เนื่องจากจะได้รับสิทธิพิเศษ โดยเข้าไปลงทุนด้าน Real Estate เพื่อรองรับนักลงทุนจีนไป CLMV เพื่อขยายตลาดไปสู่สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป อุตสาหกรรมหลัก ๆ ที่จีนไปลงทุน คือสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เพราะได้รับสิทธิพิเศษ GSP
6. อุตสาหกรรมบริการที่จีนเข้าไปลงทุน ได้แก่ ธนาคาร โทรคมนาคม (ทำเครื่องโทรศัพท์ในกัมพูชา) และการท่องเที่ยว
ผู้ประกอบการจีนรายใหญ่ที่เข้าไปลงทุนในกลุ่ม GMS ได้แก่ รัฐวิสาหกิจจีน โดยรัฐบาลจีนเข้าไป
สร้างความสัมพันธ์กับรัฐบาลประเทศนั้น ๆ มีดังนี้
1. ด้านเทเลคอม ได้แก่ บริษัทหัวเว่ย เข้าไปลงทุนที่กัมพูชา และไทย Cooltel ลงทุนที่กัมพูชา
2. ด้านเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่ บริษัท TCL ลงทุนที่เวียดนาม Haier ลงทุนที่ประเทศไทย
3. ธนาคาร ได้แก่ Bank of China ลงทุนที่ กัมพูชา เวียดนาม และไทย Industrial and Commercial Bank of China เข้าไปลงทุนที่ CLMVT
โดยสรุปการลงทุนไทยในกลุ่ม CLMV มีดังนี้
ประเทศไทย เข้าลงทุนในประเทศกัมพูชา ลาว และพม่าเป็นอันดับ 3 และเวียดนาม เป็นอันดับ 7 ประเภทการลงทุนที่เข้าไปลงทุน ได้แก่
1. อุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานความร้อน ไทยอยู่ตำแหน่งที่ดีในอุตสาหกรรมพลังงาน
2. อุตสาหกรรมเหมืองแร่และพลังงาน สังกะสี บริษัทผาแดง เข้าไปลงทุนที่ลาว และขุดเจาะดีบุก โดย ปตท. เข้าไปลงทุนที่พม่า ด้านพลังงาน เช่น บริษัท ปตท. ไปลงทุนสร้างปั้มน้ำมันที่เกาะกง ประเทศกัมพูชาและเวียดนาม และขุดเจาะสำรวจแหล่งพลังงานที่พม่า
3. อุตสาหกรรมการเกษตรและเกษตรแปรรูป ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน น้ำตาล ข้าว และผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นบริษัทซีพี และ มิตรผล เข้าไปลงทุน ประเทศไทยมีความเข็มแข็ง โดยเฉพาะสินค้าด้านอาหารค่อนข้างได้รับความนิยมใน CLMV และคนจีนที่อยู่ใน CLMV เพราะมี Design และคุณภาพดี
4. ด้านอสังหาริมทรัพย์ Real Estate ลงทุนสร้างพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับนักลงทุนไทยสร้างโรงแรม และรีสอร์ท เช่น สร้างนิคมอุตสาหกรรมทวาย (พม่า) และอมตะนคร (เวียดนาม) Shopping Mall (ลาว) ของคุณณรงค์ อดีตประธานหอการค้าเชียงใหม่
5. อุตสาหกรรมการผลิต ได้แก่ ซีเมนต์ สิ่งทอ พลาสติก เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องดื่ม
6. อุตสาหกรรมบริการ เช่น ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กรุงไทย กรุงเทพ และกสิกรไทย การท่องเที่ยว โลจิสติกส์ บริการด้านการแพทย์และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ สำหรับบริการด้านการแพทย์ บริษัทที่เข้าไปลงทุนได้แก่ ดุสิตธานีเวชกรรม ลงทุนที่กัมพูชาและพม่า โดยเข้าไปเปิดเป็นคลินิกหลาย ๆ สาขาที่กัมพูชา ซึ่งได้รับความนิยมจากประชากรในกัมพูชาจำนวนมาก
ภาคธุรกิจหลัก ๆ รายใหญ่ของไทยที่เข้าไปลงทุนใน CLMV ได้แก่
1. ด้าน Power ได้แก่ บริษัทสามารถกรุ๊ป ลงทุนทำโรงไฟฟ้าที่กัมพูชา เพื่อผลิตไฟฟ้าให้กับ SCG ในการทำโรงซีเมนต์ บริษัท ช. การช่าง ไปสร้างเขื่อนที่ประเทศลาว
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) ลงทุนที่ลาว พม่า เวียดนาม CK Power ลงทุนที่ลาว
2. ด้าน Energy ได้แก่ ปตท. (PTT Group) ลงทุนที่กัมพูชา เวียดนาม PTTEP ลงทุนที่พม่า เวียดนาม บริษัทบางจาก ปิโตรเลียม ลงทุนที่พม่า
3. อสังหาริมทรัพย์ TK Garment Group สร้างนิคมอุตสาหกรรมที่ศรีโสภณ ประเทศกัมพูชา และ อมตะนคร ลงทุนที่เวียดนาม
4. อุตสาหกรรมก่อสร้างและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการก่อสร้าง บริษัทปูนซิเมนต์ (SCG Group) เข้าไปลงทุนที่กัมพูชาและเวียดนาม
5. อุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ Thai Beverage ลงทุนที่กัมพูชา C.P.Group ลงทุนที่กัมพูชา พม่า เวียดนาม Betagro-Group ส่วนใหญ่เป็นพวกอาหารสัตว์ ลงทุนที่กัมพูชาและเวียดนาม Mitrphol ลงทุนที่กัมพูชา
6. อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ ธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุน ได้แก่ T K Garment , TUW Textile Pilot Knit Sport Wear เข้าไปลงทุนประเทศกัมพูชา เพราะมีเขตเศรษฐกิจพิเศษมาก และโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้ายังมีน้อย
7. อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ได้แก่ บริษัทบุญรอด บริวเวอรี่ เข้าไปตั้งศูนย์กระจายสินค้าตามชายแดน
บทบาทนโยบายและยุทธศาสตร์จีน-ไทยต่อกลุ่มประเทศ CLMV
แรงจูงใจเชิงกลยุทธ์จีน-ไทยที่มีต่อกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง มีดังนี้
ประเด็น ประเทศจีน ประเทศไทย
ภูมิรัฐศาสตร์ - ความมั่นคงของรัฐ ในพื้นที่ทางตอนใต้ - การพัฒนาศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ
(มณฑลยูนนาน) และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของ ชายแดนเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากความมั่นคั่ง
ประเทศจีน (กว่างซี ไม่ติดทะเล เพื่อหาทาง กระจุกอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นหลัก
ออกไปสู่ทะเล เพื่อที่จะได้ขยายตลาดไปสู่ทวีป - พัฒนาการเชื่อมโยงทางภูมิภาค และขยาย
ยุโรปและอเมริกา บทบาทการเป็นศูนย์กลางระเบียงเศรษฐกิจสู่
- ความมั่นคงทางด้านรัฐศาสตร์ /การปกครอง ภูมิภาค โดยมองว่าประเทศไทยต้องเป็นฮับ
ถ้าพื้นที่ชายแดนไม่มีความสงบสุข โอกาสที่จะ ของอาเซียน
พัฒนาในเรื่องเศรษฐกิจก็เป็นไปได้ยาก
ทรัพยากรธรรมชาติ - ต้องการขยายการลงทุนพลังงานไฟฟ้า โดย - แสวงหาความมั่นคงพลังงานไฟฟ้า พลังงาน
เน้นการสร้างเขื่อน เพื่อขายไฟฟ้าไปยังส่วนภูมิ น้ำ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ภาคเอกชนที่เข้าไป
ภาพและป้อนกลับไปยังประเทศจีน ลงทุน ได้แก่ ปตท. และ EGAT
สถิติจีนลงทุนสร้างเขื่อนใน CLMV มากกว่า - ไทยต้องการทรัพยากรธรรมชาติเหมืองแร่
50 % ดีบุก ทองแดง และ CLMV เป็นแหล่งนำเข้า
- ขยายพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร ไม้เพื่อผลิตเฟอร์นิเจอร์ของไทย
โดยเฉพาะยางพารา ยางมีความสำคัญกับจีน
เพราะจีนเป็นแหล่งผลิตรถยนต์มากที่สุดในโลก
และจีนมีนโยบายลูกคนเดียว
ทรัพยากรมนุษย์ - ต้องการแสวงหาแรงงานราคาถูก - ต้องการแสวงหาแรงงานราคาถูก และขาด
แคลนแรงงาน
ตลาด - แสวงหาตลาดใหม่ mass product และ - ต้องการขยายตลาดไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
อาศัยฐานการผลิตใน CLMV เพื่อหลีกเหลี่ยง และ CLMV มีลักษณะทางภูมิศาสตร์และ
ข้อกีดกันทางการค้า เนื่องจากได้รับสิทธิพิเศษ วัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน
หน่วยงานภาครัฐของจีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบาย ได้แก่ สภาพัฒนาแห่งชาติจีน กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานกำกับด้านพลังงานแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม China EXIM Bank China Development Bank องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมณฑลยูนนานและเขตปกครองตนเองกว่างซี สภาธุรกิจอาเซียนจีน สภาธุรกิจ GMS และสภาสังคมศาสตร์แห่งชาติจีน (เป็นหน่วยงานวิจัยที่เป็นมันสมองให้กับรัฐบาลจีน)
โครงสร้างองค์กรที่สนับสนุนส่งเสริมการก้าวออกไปของจีน (ภาษาจีนเรียกว่า จ่งชูชวี้) (Slide 61) มีรัฐสภาจีน เป็นหน่วยงานกำกับระดับสูงสุด และหน่วยงานสนับสนุน ได้แก่ กระทรวงต่างประเทศ โดยประสานงานผ่านสถานทูตจีนในกลุ่ม CLMVT กระทรวงพาณิชย์จีน ดำเนินการโดยผ่านกรมต่าง ๆ ที่เน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มีสำนักงานที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ สภาพัฒน์จีน EXIM Bank เน้นการนำเข้าและส่งออกเป็นหลัก China Development Bank (CDB) เน้นการลงทุน สนับสนุนให้การกู้ยืม เงินทุนกับนักลงทุนที่ออกไปลงทุน กระทรวงการคลัง มีหน้าที่ในการจัดสรรงบประมาณผ่านกระทรวงการคลังระหว่างประเทศ ภายใต้กระทรวงการคลัง มีสำนักงานปริวรรตเงินตรา ทำหน้าที่ดูแลอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและการโอนเงินระหว่างประเทศ และสำนักงานกำกับรัฐวิสาหกิจจีน มีหน้าที่คอยกำกับดูรัฐวิสาหกิจที่ออกไปลงทุนภายนอก ล่าสุดได้ออกเครื่องมือ CSR เวลาจีนออกไปลงทุนมักจะมีข้อพิพาทกับชุมชนในท้องถิ่น ซึ่งมีเสียงตอบรับไม่ค่อยดี ทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลจีนไม่ดีไปด้วย นอกจากนี้ยังมีอำนาจในการปลดผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจจีนที่เข้าไปลงทุน โดยการประเมินผลงานประจำปี
การจัดโครงสร้างฝ่ายไทย (Slide 63) มีสำนักนายกรัฐมนตรี สั่งการลงมาผ่านหน่วยงานต่าง ๆ
หลัก ๆ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีแนวทางการพัฒนากรอบอนุภูมิภาค GMS โดยเน้นการเชื่อมโยงการขนส่ง โลจิสติกส์ พัฒนาฐานการผลิตตามแนวระเบียงเศรษฐกิจและพื้นที่ชายแดน BOI ปัจจุบันได้ขยายบทบาทดูแลธุรกิจที่จะไปลงทุนในต่างประเทศ Joint Committee มีทั้งที่ประเทศจีนและ CLMV ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานประโยชน์การทำงาน และการไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทระหว่าง 2 ประเทศให้ราบรื่น
ระดับกระทรวง จำแนกกรอบตามความร่วมมือ GMS ใน 9 สาขาหลัก ดังนี้
ด้านการคมนาคมขนส่ง รับผิดชอบโดย กระทรวงคมนาคม
ด้านโทรคมนาคมและสื่อสาร รับผิดชอบโดย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลข่าวสาร
ด้านพลังงาน รับผิดชอบโดย กระทรวงพลังงาน
ด้านการท่องเที่ยว รับผิดชอบโดย กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา
ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รับผิดชอบโดยสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (TICA) ภายใต้การกำกับดูแลกระทรวงการต่างประเทศ
ด้านสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบโดย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ด้านการอำนวยความสะดวกการค้าการลงทุน รับผิดชอบโดย กระทรวงพาณิชย์
ด้านการลงทุน รับผิดชอบโดย BOI
ด้านการเกษตร รับผิดชอบโดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยมีคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ตาม Slide 64
การเปรียบเทียบนโยบายและยุทธศาสตร์ ระหว่างประเทศไทย และจีน มีดังนี้
ประเทศจีน
1. ริเริ่มโดยฝ่ายรัฐบาล หรือนำโดยรัฐวิสาหกิจจีน
เน้นความร่วมมือระดับรัฐต่อรัฐ เพราะจีนมองว่าจะควบคุมได้ง่ายกว่า
2. รัฐบาลจีนสนับสนุนสินเชื่อ การลงทุน สำหรับรัฐวิสาหกิจจีนที่ก้าวออกไป
3. รัฐวิสาหกิจ เน้นการก่อสร้างสาธารณูปโภค การลงทุนขนาดใหญ่ เพื่อขยายบทบาทในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการพัฒนาการก้าวออกไป และการส่งออก
4. ในอดีตจีนเน้นการส่งออก Mass product ราคาถูก แต่ในอนาคตจีนอาจจะเข้าไปเล่นสินค้าคุณภาพสูง เพื่อแข่งขันกับไทย
5. พื้นที่การลงทุนกระจัดกระจาย
ประเทศไทย
1. ริเริ่มและนำร่องโดยภาคธุรกิจรายใหญ่ ได้แก่ SCG CP มิตรผล เบทาโกร และสภาพัฒน์ เป็นต้น
2. มีเพียงข้อมูล การจัดงานแสดงสินค้า และ Business Matching
3. ไทยจะเข้าไปลงทุนในธุรกิจที่ไทยได้เปรียบเท่านั้น เช่นอุตสาหกรรมการเกษตร บริการ และสินค้าอุปโภคบริโภค
4. ไทยเป็นผู้ครองตลาดใน CLMV ชื่อเสียงสินค้าและภาพลักษณ์ของไทยค่อนข้างดี เป็นผู้นำด้านมาตรฐานและความปลอดภัยในสินค้าต่าง ๆ นอกจากนี้ไทยยังมีทักษะด้านบริหารจัดการ
5. เน้นการลงทุนเมืองสำคัญที่มีระดับรายได้สูง มีความพร้อมในด้านเศรษฐกิจและสาธารณูปโภคพร้อม
SWOT Analysis
Strength of China
1. ด้านภูมิศาสตร์จีนติดกับประเทศ ลาว พม่า เวียดนาม
2. มีเงินทุน เทคโนโลยี และทักษะฝีมือแรงงานภาคการก่อสร้าง
3. ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
4. มีความสามารถในการผลิตสินค้าสำหรับผู้มีรายได้ไม่มาก
5. เป็นผู้รุกในประเทศพม่า ลาว กัมพูชา ค่อนข้างยาวนาน
Strength of Thailand
1. มองว่าเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมในภูมิภาคนี้
2. Brand สินค้าได้รับเสียงตอบรับที่ดีใน CLMV
3. มีมาตรฐานสินค้า ความปลอดภัย คุณภาพสินค้าเป็นที่ยอมรับ มีการบริหารจัดการที่เป็นที่ยอมรับที่ดี
4. มีภาษาและวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกับประเทศโดยรอบ
5. มีความสามารถในธุรกิจอุตสาหกรรมภาคบริการ
Weakness of China
1. มีจุดอ่อนในเรื่องภาพลักษณ์ (Image) และ Brand
2. ขณะเดียวกันจีนยังอยู่ในช่วงประเทศยังไม่เจริญ
3. จีนอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจตลาด
ขณะที่ไทยอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากก้าวไปสู่ประเทศพัฒนา
4. การสื่อสารระดับท้องถิ่นค่อนข้างน้อย
5. ธุรกิจจีนส่วนใหญ่ไร้ความสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม CSR ต่ำ
Weakness of Thailand
1. นโยบายการสนับสนุนภาครัฐยังน้อย
2. พบว่านโยบายยังไม่มีความต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง
3. ขาดกองทุนสนับสนุนในการก้าวขยายออกไปสู่ภูมิภาค
4. ไทยเคยกับวัฒนธรรมสบาย ๆ การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงไม่ค่อยเร็ว
5. ขาดแคลนนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี
Opportunity of China
1. CLMV เป็นตลาดเกิดใหม่ซึ่งมีระดับการเจริญเติบโตค่อนข้างสูง
2. จีนได้ประโยชน์จากกรอบ China ASEAN FTA or RCEP
3. มีรูปแบบและธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะท้าท้ายการก้าวออกไปพัฒนาและลงทุน
3. CLMV มีความต้องการโครงสร้างพื้นฐานเข้มข้น ซึ่งจีนสามารถตอบสนองความต้องการได้
Opportunity of Thailand
1. CLMV เป็นตลาดเกิดใหม่ซึ่งมีระดับการเจริญเติบโตค่อนข้างสูง
2. ประโยชน์ที่ไทยได้จะได้รับในกรอบ ASEAN
Threat of China
1. ต่างชาติเข้ามาในภูมิภาคนี้มากขึ้น เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น USA.
2. ตลาดเกิดใหม่มากขึ้น เป็นยุคของ ASEAN ทำให้ทุนต่าง ๆ ไหลเข้ามาที่นี่
3. จีนมีปัญหาข้อพิพาทกับประเทศโดยรอบ เช่น เวียดนาม
Threat of Thailand
1. มีคู่แข่งรายใหญ่ ๆ จากเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว
2. ตลาดเกิดใหม่ ทำให้เงินทุนต่าง ๆ ไหลเข้าไปที่ CLMV
3. ไทยก็มีข้อพิพาทกับกัมพูชา
4. กำลังประสบปัญหาการย้ายฐานการผลิตของบรรษัทข้ามชาติรายใหญ่ออกไปจากไทย
ข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐ และภาคเอกชน
ภาครัฐ
1. เมื่อจีนสามารถส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจจีนก้าวออกไปได้มากในภูมิภาคนี้ ประเทศไทยก็สามารถจะทำได้ เช่น EGATซึ่งตรงกับการลงทุนในภูมิภาคนี้ มีจุดเด่นในเรื่องพลังงาน CSR และได้รับเสียงตอบรับจากชุมชุนท้องถิ่นที่ดีกว่าฝ่ายจีน
2. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น สภาพัฒน์มีนโยบายขยายความเจริญไปสู่ภูมิภาค
3. สนับสนุนภาคการเงินเพื่อการลงทุนใน GMS สำหรับการก้าวออกไปลงทุน หรือเป็นกองทุนสำหรับ SME ที่จะก้าวไปขยายการค้าใน CLMV รวมทั้งการส่งเสริมการทำธุรกรรมเงินหยวน
4. ยุทธศาสตร์การร่วมมือกับจีนในรัฐต่อรัฐ เช่น ความร่วมมือทางด้านการรถไฟ
5. การเชื่อมโยงความช่วยเหลือกับภาคการลงทุน คล้าย ๆ กรณีศึกษาของญี่ปุ่น โดยการผนึกรวม JICA JBIG JETRO เข้าด้วยกัน ความช่วยเหลือที่ดีจะปูพื้นทำให้นำร่องภาคธุรกิจได้มากขึ้น จากการวิจัยพบว่าประเทศไทยสามารถทำการส่งเสริมความช่วยเหลือได้ดีมาก เช่น โทรทัศน์โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทย ปี 2013 เฉพาะ CLMV มีสัดส่วน ถึง 57.8% สำหรับการช่วยเหลือการพัฒนาอย่างเป็นทางการล่าสุดปี 2555 ค่อนข้างมาก OTA มีสัดส่วน 50.68% ทั้ง 4 ประเทศมีเสียงตอบรับกับภาคธุรกิจ และรัฐบาลไทยค่อนข้างดี ซึ่งเป็นการช่วยเหลือสนับสนุนเชิงเทคนิค วิชาการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แต่ทำอย่างไรให้การช่วยเหลือปูพื้นภาคธุรกิจให้ต่อยอดการค้าการลงทุนได้
ภาคเอกชน
1. ธุรกิจไทยมีศักยภาพในภูมิภาคด้านบริการ ธุรกิจการเกษตร การผลิต ด้านพลังงานและการก่อสร้าง (วัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง)
2. ไทยสามารถส่งออกสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค แฟชั่น ความสวยความงาม ซึ่งไทยสามารถทำได้ดีอยู่แล้ว
3. สินค้าไทยมีคุณภาพในเรื่องมาตรฐานสินค้า ความปลอดภัย เมื่อเทียบกับจีน
4. พื้นที่ที่ธุรกิจเอกชนไทยควรเข้าไปลงทุนควรเกาะไปตามแนวระเบียงเศรษฐกิจที่สำคัญ และนิคมอุตสาหกรรมของไทย เขตเศรษฐกิจพิเศษที่ CLMV แต่ละประเทศกำหนดๆไว้
5. เอกชนไทยสามารถเข้าไปจับมือกับภาคเอกชนใน CLMV หรือเข้าไปจับมือกับภาคเอกชนจีน หรือเข้าไปจับมือกับรัฐแบบ G2G or Joint Venture ทั้งไทยและจีนควรหันหน้ามาจับมือเป็นพันธมิตรในการลงทุน แทนที่จะมองว่าจีนมาแย่งลูกค้าหรือตลาด เราสามารถปรับทัศนคติจากการเป็นคู่แข่งให้เป็นคู่ค้ากับการก้าวเข้าไปลงทุนใน CLMV คู่ค้าที่สำคัญ เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมโรงแรม การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม จีนมี Connection ทีดีในกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาเน้นพัฒนาเขตเศรษฐกิจ เป็นคู่พัฒนานิคม
เพื่อให้การพูดเชื่อมโยงกับหัวข้อ “มังกรผงาดมุ่งลงใต้ ไทยควรรุกหรือรับอย่างไร” คำว่า มังกรผงาดมุ่งลงใต้ แยกเป็น 2 มิติ คือ
1. มิติด้านเศรษฐกิจจีน มีนโยบายการก้าวออกไปส่งเสริมธุรกิจที่มีความพร้อม ขยายการค้าการลงทุนไปยังภูมิภาค จีนกำลังส่งออกเทคโนโลยี ที่เห็นได้ชัด ได้แก่ รถไฟความเร็วสูง เพื่อที่จีนจะขยายบทบาทของตัวเอง ว่าจีนไม่ได้ส่งออกสินค้าแต่ Low แต่ยังส่งออกสินค้า Hi-End รวมเทคโนโลยีด้วย
2. มิติการเมือง จีนมีนโยบายเป็นมิตรกับประเทศเพื่อนบ้าน และมีนโยบายไม่แทรกแซงกิจการภายในเป็นหลักการที่จีนยึดถือมานาน ที่จะทำให้ภาพลักษณ์ของจีนที่จะก้าวออกไปในภูมิภาคนั้นน่าจะเป็นเป็นที่ยอมรับได้มากขึ้น โดยที่จีนไม่มีอาการรุกคืบทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันประเทศไทยนอกจากตั้งรับแล้ว ยังสามารถจับมือจีนในการที่จะรุกเข้าไปลงทุนใน CLMV
อภิปรายหัวข้อเรื่อง “พลวัตจีนใน GMS : โอกาสและความท้าทายต่อความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียนของไทย”
การร่วมมือทางเศรษฐกิจจะประสบความสำเร็จพิจารณาจากปัจจัยอย่างน้อย 5 ประการ ดังนี้
1. ต้องวิเคราะห์ว่าโครงการมีรัฐเข้าร่วมมากน้อยแค่ไหน ถ้ายิ่งมากปัญหามาก
2. ดูความแตกต่างทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก แตกต่างมากปัญหามาก
3. ผู้นำประเทศจะมองโครงการความร่วมมือโดยพิจารณาข้อเปรียบเทียบก่อน เช่น พิจารณาจากปัญหาความปลอดภัย ปัญหาทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
4. การพัฒนาองค์ความรู้ประเทศสมาชิกว่ามีประสบการณ์ในความร่วมมือระหว่างประเทศมาก่อนไหม
5. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคใหญ่ในภูมิภาคนั้นด้วย
เพราะฉะนั้น ในการวิเคราะห์ทางรัฐศาสตร์จะดูความสำเร็จ 3 ระดับ ดังนี้
1. ระดับ Bilateral (การร่วมมือทั้งสองฝ่าย)
2. ระดับ Regional
3. ระดับ Global
ปัจจุบันจีนกำลังเผชิญหน้า
1. กับการแข่งขันกับสหรัฐอเมริกา สหรัฐกำลังเป็นมหาอำนาจที่ตกต่ำถดถอย (Declining Power) ขณะที่จีนเป็น Rising Power ซึ่งสหรัฐอเมริกาต้องการเข้ามามีบทบาทใน GMS แรงจูงใจที่สหรัฐจะเข้ามาใน GMS เพราะเรื่องการเมืองและความมั่นคง
2. ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น เรื่องปัญหาเกาะเตียวหยู ขณะเดียวกันปัญหาอาเบะ (นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น) กระตุ้นกระแสชาตินิยม ต้องการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ ๆ ไม่ยอมรับประวัติศาสตร์ในอดีตที่ผ่านมา และปฏิรูปกองทัพ ให้ญี่ปุ่นกลับมาเป็นชาติมหาอำนาจทางการทหาร ปีที่แล้วญี่ปุ่นเดินทางไปเยือนอาเซียนทุกประเทศ เพื่อต้องการปิดล้อมจีน โดยร่วมมือกับสหรัฐอเมริกา อินเดีย ฟิลิปปินส์
3. ปัญหาพรมแดนกับอินเดีย ซึ่งอินเดียก็ไม่สบายใจที่จีนแพร่อิทธิพลเข้าไปในอินเดียจีนขยายเศรษฐกิจออกไป ซึ่งจีนบอกว่าเป็นการรักษาเส้นทางทางการค้า แต่อินเดียมองแตกต่างเป็นเรื่องความมั่นคง
4. ปัญหายูเครน ทำให้ EU & USA. คว่ำบาตรรัฐเซีย จึงบีบให้รัฐเซียมาจับมือกับจีน ก็ทำให้สหรัฐอเมริกาตกใจกลัวว่ายูเรเซียจะกลับมามีบทบาทขึ้นแล้ว รวมทั้งในการประชุม APEC จีนประกาศนโยบายว่าเราจะเชื่อม connectivity connection integrate เศรษฐกิจ สาเหตุที่จีนประกาศนโยบายในการประชุม APEC เพราะว่า 1. การค้าจีนถดถอย 2. จีนต้องการขยายตลาด และ 3. จีนต้องการขยายความสัมพันธ์
เพราะฉะนั้นการขยายบทบาท ถ้ามองในแง่รัฐศาสตร์เป็นเรื่องของการต่อสู้ทางการเมืองและความมั่นคง ปัจจัยสำคัญที่สุด คือการที่อาเซียนจะรวมตัวเป็น Community ในปีหน้า หมายความว่าประเทศ CLMVT ซึ่งมีประชากร 300 ล้านคน จะกลายเป็น 600 ล้านคน ทำให้ประเทศยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ หันมาลงทุนในอาเซียน เพราะการค้าระหว่างประเทศสมาชิก ไม่มีภาษี และเพื่อการลงทุน อุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ใน 10 ประเทศจะเพิ่มการลงทุนกันเอง
นอกจากนี้ปัญหาการเผชิญหน้าระหว่างจีนและเวียดนาม ในปัญหา Southern Policy จะก่อให้เกิด
1. จะทำให้เวียดนามหันไปหาประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย และออสเตรเลีย มากขึ้น
2. ความขัดแย้งระหว่างจีนและญี่ปุ่น ก็จะทำให้ประเทศญี่ปุ่นวิ่งเข้าหาเวียดนาม อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และลาว ซึ่งอาจทำให้อาเซียนถูกแบ่งแยก
3. การแข่งขันที่รุนแรงระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา
หลังจากที่จีนทำข้อตกลงการค้าเสรีกับ ASEAN+6 (โดยไม่มีสหรัฐอเมริกาเข้าร่วม) สหรัฐอเมริกาจึงตั้ง GPP (โดยไม่มีจีน) ปรากฏว่าประเทศ CLMV จึงเข้าไป Join GPP ของสหรัฐอเมริกา แน่นอนสหรัฐอเมริกาจึงหันไปกระชับความสัมพันธ์กับประเทศญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย และออสเตรเลีย เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้จีนขยายตัว
โอกาสและความท้าทายต่อความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียนของไทย
ในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมาจีนได้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในลักษณะการก้าวกระโดด สาเหตุที่จีนมุ่งมาทำการค้ากับกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) เพราะ
1. จีนมีศักยภาพทางเศรษฐกิจ และการสร้างแสนยานุภาพทางการทหารของจีนเป็นที่ยอมรับของ GMS
2. การหาทางออกทะเลให้กับมณฑลภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
เมื่อประธานาธิบดีสีจิ้นผิง เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้ชูวิสัยทัศน์ความฝันของจีน คือ
1. การสร้างความเข็มแข็งและความเจริญรุ่งเรือง โดยใช้แนวทางการพัฒนาอย่างสันติ
2. การทำให้จีนมีความมั่นคง ความมั่นคั่ง และประชาชนมีความสุข
3. การวางยุทธศาสตร์จีนในระยะยาว ด้วยการปฏิรูปเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและการเมือง
ความฝันของจีนซึ่งสอดคล้องกับแนวทางนโยบายฟื้นฟูชาติของจีน ที่ผ่านมาจีนให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจมีนัยสำคัญต่อการเมืองภายในของจีนเป็นอย่างมาก การขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตในระดับสูงอย่างต่อเนื่องมีความสำคัญยิ่งต่อการรักษาไว้ซึ่งความชอบธรรมทางการเมืองต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน หากเศรษฐกิจชะลอตัว มีปัญหาการว่างงานมากขึ้น และมีปัญหาเงินเฟ้อจะส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองภายในของจีน ดังนั้น
1. จีนจึงเน้นการขยายการค้าการลงทุนกับ CLMVT โดยใช้ CLMVT เพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของจีน และ
2. จีนให้ความสำคัญทางด้านแสนยานุภาพทางการทหาร เพราะจีนมีความเชื่อว่าการสร้างแสนยานุภาพจะช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจจีน
การสร้างความมั่นคงรูปแบบใหม่ในเอเชีย คือ การส่งสัญญานว่าจีน
1. ไม่ยอมรับการเมืองระหว่างประเทศที่เป็นลักษณะ zero sumgame จีนต้องการเน้นการเสริมสร้างโครงสร้างสถาปัตยกรรมในภูมิภาคที่มีหลายขั้วอำนาจ โดยมีจีนเป็นหนึ่งในขั้วมหาอำนาจร่วมกับมหาอำนาจอื่น ๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา
2. ประสงค์การเติบโตในภูมิภาคอย่างสันติ (peaceful rise) และ
3. เน้นการรักษาอธิปไตย
ยุทธศาสตร์จีนต่ออาเซียนและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS)
ทำไมจีนต้องการมามีบทบาทในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเด็น
1. จีนต้องการส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง ความมั่นคั่งและผลประโยชน์ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสนับสนุนการเดินหน้าไปสู่วิสัยทัศน์ความฝันของจีน เพราะการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเสถียรภาพในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจะช่วยให้จีนสามารถขยายการค้าการลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนมีความผาสุก
2. จีนใช้เศรษฐกิจนำหน้าการเมือง การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจช่วยให้จีนขยายอิทธิพล โดยการใช้ Soft Power คือ ใช้ด้านเงิน หมีแพนด้า และสถาบันขงจื้อเกิดขึ้นในประเทศไทยมากกว่า ๑๐ แห่ง ซึ่งเป็นการสนับสนุนทางด้านการเมือง ความมั่นคงแบบใหม่ เพื่อให้ภูมิภาคนี้สันติ ประเด็นที่แอบแฝงคือ เพื่อที่จะสกัดกั้นการเข้ามามีบทบาทของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคนี้ด้วย
จีนมีแนวทางในการดำเนินนโยบายสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้าน (Good Neighbourliness) โดยการ
1. สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจทางการเมืองกับประเทศเพื่อนบ้าน
2. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
3. พัฒนาความเชื่อมโยงในภูมิภาค จีนได้เสนอแนวคิดเขตแนวเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม เพื่อเชื่อมโยงทางบกกับเอเชียกลาง และเส้นทางสายไหมทางทะเล ในศตวรรษที่ ๒๑ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ทำไมจีนถึงเข้ามาในภูมิภาคนี้ เพราะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาบริบทอาเซียนและลุ่มน้ำโขงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่วง ๒๕ ปีที่ผ่านมาหลังสงครามเย็นทำให้จีนและมหาอำนาจต่าง ๆ ให้ความสนใจอยากเข้ามามีบทบาทและขยายความสัมพันธ์กับภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้น และความที่มหาอำนาจพยายามขยายอิทธิพลเข้ามาในภูมิภาคนี้มากขึ้น อาเซียนพยายามรักษาความเป็นอาเซียน ซึ่งเรียกว่า ASEAN Centrality เพราะเกรงว่าพอประเทศมหาอำนาจเข้ามาในอาเซียนมาก ๆ อาเซียนก็ไม่สามารถเกาะกลุ่มกันได้ อาเซียนก็แตกผลประโยชน์ อาเซียนจึงพยายามคงความเป็นแกนกลางในเวทีกรอบความร่วมมือความมั่นคงเขตการค้าเสรีที่มหาอำนาจพยายามดึงอาเซียนเข้าไป
นอกจากนี้ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงก็มีเสถียรภาพทางการเมืองมากขึ้น และมีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและเป็นแหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ทัศนคติที่ประชาคมโลกที่มีต่อภูมิภาคนี้เปลี่ยนแปลงไปจากภูมิภาคที่เต็มไปด้วยพื้นที่ความขัดแย้งและล้าหลัง จึงกลายเป็นดินแดนแห่งโอกาสและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ทำให้จีนและมหาอำนาจเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้
โอกาสและความท้าทายในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน ลุ่มน้ำโขงกับจีนด้านโอกาส
1. ประเทศไทยและประเทศจีน เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่สำคัญมานานในแง่การดำเนินนโยบายของไทย ไทยสนับสนุนให้จีนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาลุ่มน้ำโขง เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและลดช่องว่างในการพัฒนาระหว่างอาเซียนเก่ากับอาเซียนใหม่
2. วิสัยทัศน์ของจีนในเรื่องความมั่นคงรูปแบบใหม่สอดคล้องกับความต้องการของไทยและลุ่มน้ำโขงที่ประสงค์จะให้มีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างมหาอำนาจโดยเฉพาะจีนและสหรัฐอเมริกา และการที่จีนเป็นตลาดการค้าและการลงทุนที่สำคัญลุ่มน้ำโขง และอาเซียน ทำให้บทบาทของจีนมีโอกาสค่อนข้างสูง
ประเทศไทยจะดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อย่างไรเพื่อการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
1. ไทยจะต้องพยายามเป็นหุ้นส่วนกับจีนทั้งทวิภาคีและหุ้นส่วนในลักษณะเพื่อการพัฒนาร่วมมือกับจีนในการพัฒนาประเทศลุ่มน้ำโขง มิติของการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนและการลงทุน
2. ไทยต้องการเห็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อยากให้ GMS เป็นฐานการผลิตและตลาดเดียว โดยไทยเป็นจุดสำคัญของโซ่อุปทานในภูมิภาค เพื่อเชื่อมโยงต่อกับจีนและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคที่มีความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและกฎระเบียบที่เอื้อต่อการค้าและการท่องเที่ยว
3. ไทยพยายามดึงจีนเข้ามาพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ๑๒ แห่ง ซึ่งอยู่ในแผนการพัฒนาของสภาพัฒน์ และมีอีก ๕ Pilot Project ได้แก่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว อำเภอคลองด่าน จังหวัดตราด พื้นที่บริเวณจังหวัดมุกดาหาร และอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
4. การเชื่อมโยง ซึ่งจีนให้ความสำคัญภูมิรัฐศาสตร์ที่ดีของไทย เพราะไทยเป็นศูนย์กลางไม่ว่าจะเดินไปประเทศไหนในอาเซียน ต้องมาลงที่ประเทศไทยก่อน นอกจากนี้จีนต้องการเข้ามาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการสร้างรถไฟทางคู่ที่จะเชื่อมต่อจากหนองคาย เข้าสู่กรุงเทพฯ และจากสระบุรี ไปมาบตาพุด
ความท้าทายในเชิงภูมิรัฐศาสตร์
1. การแข่งขันระหว่างมหาอำนาจจีนและสหรัฐอเมริกาในการรักษาอิทธิพลในภูมิภาคนี้ มีนัยสำคัญของการพัฒนากลุ่มลุ่มน้ำโขง ซึ่งจีนมองว่าการที่สหรัฐอเมริกาเข้ามาเป็นการปิดล้อมจีน
2. ท่าทีที่แตกต่างและแข็งกร้าวของจีนและสหรัฐอเมริกา ในประเด็นข้อพิพาททางทะเลจีนใต้ประเทศในอาเซียนจะต้องมีการบริหารจัดการที่ดี มิฉะนั้นจะกลายเป็นชนวนที่ทำให้อาเซียนแตกกัน ไม่ให้ประเด็นความขัดแย้งมากระทบต่อการดำเนินความร่วมมือเพื่อรักษาผลประโยชน์ลุ่มน้ำโขงร่วมกัน ขณะเดียวกันประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีปัญหากับจีน ก็ยังต้องพึ่งพาจีนในการพัฒนาเศรษฐกิจ
3. การถ่วงดุลระหว่างมหาอำนาจและการสนับสนุนการเติบโตอย่างสันติของจีน และสนับสนุนการแก้ไขข้อพิพาทอย่างสันติวิธี ก็เป็นสิ่งที่ไทยพยายามยึดมั่นมาตลอด
ความท้าทายของจีน
1. ประเทศจีนเป็นประเทศมีพื้นที่ขนาดใหญ่ มีพรมแดนติดกับ ๑๔ ประเทศ รวมถึงลุ่มน้ำโขง จีนจึงมีความท้าทายในการบริหารจัดการกับประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้
2. จีนมีความหลากหลายภายในชาติทั้งด้านศาสนา เชื้อชาติ วัฒนธรรม และความแตกต่างทางด้านภูมิศาสตร์และสภาพสังคม ระดับการพัฒนาของมณฑลทางฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของจีน
3. จีนให้ความสำคัญกับปัญหาความมั่นคงภายใน โดยให้ความสำคัญกับการรักษาความเป็นอธิปไตยภาพลักษณ์แห่งดินแดน การพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อรักษาเสถียรภาพการเมืองภายใน
4. การดำเนินนโยบายต่างประเทศของจีนต่อประเทศเพื่อนบ้าน ก็เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายที่จีนจะต้องบริหารจัดการตัวเอง เพื่อให้จีนบรรลุวิสัยทัศน์ความฝันของจีน ประชาชนต้องอยู่อย่างผาสุก ขณะเดียวกัน CLMVT ก็พยายามยึดหลักเป็นเพื่อนบ้านที่ดี แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง พยายามแก้ไขปัญหาโดยการเจรจาและพยายามร่วมมือกันในภูมิภาค เพื่อความสงบสุขทางด้านการเมือง จะได้พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้
จีนให้ความสำคัญกับกรอบ GMS โครงการของจีนที่ดำเนินการใน GMS โดยมีการกำหนดอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของจีน กล่าวคือ จีนกำหนดให้มหานครฉงชิ่ง เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันตก นอกจากนี้ยังกำหนดให้เขตปกครองตนเองกว่างสีเป็นประตูเชื่อมโยงสู่กลุ่มประเทศอาเซียน และให้มณฑลยูนนานเป็นประตูเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศ GMS ภายใต้โครงการดังกล่าวจีนมีการพัฒนาโครงการสำคัญ อาทิ
๑. การพัฒนาแม่น้ำโขงเพื่อพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำและเส้นทางคมนาคมตลอดสายของแม่น้ำ
๒. การพัฒนาการสื่อสารและคมนาคมบางบกเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟและถนนกับประเทศ LMVT
โครงการระหว่างจีนกับ GMS ที่มีความคืบหน้า คือ
๑. โครงการเชื่อมโยงการขนส่งและคมนาคม โดยเฉพาะเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่างไทย – จีน ที่สำคัญ คือ
เส้นทาง R3 (คุนหมิง-ลาว / พม่า-กรุงเทพ) ส่งผลให้ไทยส่งออกสินค้าไปสู่ประเทศลาวได้เป็นอันดับ ๒ และสามารถส่งต่อไปทางภาคใต้ของประเทศจีนได้
เส้นทาง R9 (แม่สอด-มุกดาหาร-สุวรรณเขต-ดานัง) โดยเฉพาะที่สุวรรณเขต มีเขตเศรษฐกิจพิเศษสวรรค์เซโน ซึ่งสีที่ใช้ทาบ้านในประเทศลาวทั้งหมดมาจากโรงงานในเขตเศรษฐกิจนี้ ซึ่งเป็นของประเทศไทย
เส้นทาง R12 (นครพนม-คำม่วน-ฮานอย-ผิงเสียง-กวางสี-กวางตุ้ง) เป็นเส้นทางส่งผลไม้ของประเทศไทย
2. โครงการเสริมสร้างจุดเชื่อมโยง ทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ GMS
3. โครงการพัฒนายุทธศาสตร์ในด้านพลังงานของอนุภูมิภาค
4. โครงการความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
ปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการการไทยในการส่งออกไปประเทศจีน
1. ปัญหาภาษีศุลกากรของจีนที่ค่อนข้างสูงสำหรับสินค้าบางประเภท โดยเฉพาะสินค้าเกษตร มีภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. กฎระเบียบและระเบียบปลีกย่อยอื่น ๆ ที่เอื้อประโยชน์กับผู้ประกอบการจีน แต่ละมณฑลมีกฎระเบียบเฉพาะของตนเอง
3. อุปสรรคการค้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร เช่น การบังคับให้ติดเครื่องหมาย CCC Mark
4. ความซับซ้อนของช่องทางการกระจายสินค้า ปัญหาเรื่องเครือข่ายของการขนส่ง และระบบโลจิสติกส์จีน โดยเฉพาะมณฑลทางตอนกลางและตอนใน
5. ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดจีน มีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง
6. อุปสรรคในการสื่อสารและการใช้ภาษาจีน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง เช่นเวียดนาม และมาเลเซีย
7. ความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมและอุปนิสัยในการทำการค้าของจีน
8. ความสามารถในการค้าระหว่างประเทศของผู้นำเข้า-ส่งออกของไทย จีนเป็นตลาดใหญ่แต่ก็มีความละเอียด ซับซ้อนหลากหลายในแต่ละมณฑล
ข้อเสนอแนะ
ผู้ประกอบการไทยควรเตรียมความพร้อมรองรับในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน กระตุ้นให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ตระหนักรับรู้ข้อมูลข่าวสารความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับการเชื่อมโยงการค้า การลงทุน อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมรับการเปิดตลาดที่จะมีการแข่งขันสูงขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากการสัมมนา ได้แก่
๑. ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการค้าการลงทุนในประเทศจีนและกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมากขึ้น
๒. รับทราบแนวทางการพัฒนาบทบาทด้านเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ของประเทศไทยต่อประเทศสมาชิกในกลุ่มลุ่มน้ำโขง
๓. ทราบนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจีนเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งประเทศไทยควรเอาเป็นแบบอย่าง
4. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับผู้ประกอบการและผู้สนใจ เพื่อเป็นข้อมูลในการออกไปทำการค้าการลงทุนในกลุ่ม GMS ซึ่งภาคธุรกิจเอกชนไทยยังมีโอกาส
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม