- Details
- Category: CLMV
- Published: Saturday, 23 March 2019 22:19
- Hits: 3474
นายหลู่ย์ เจี้ยน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ได้เขียนบทความแสดงความยินดีในโอกาสเฉลิมฉลองสัปดาห์ล้านช้าง-แม่โขงครั้งที่สอง และ โอกาสครบรอบสามปี ความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง
ฯพณฯ หลู่ย์ เจี้ยน เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยได้เขียนบทความแสดงความยินดีซึ่งมีหัวข้อว่า’ผลักดันความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง เพิ่มและสร้างเสริมความร่วมมือจีน-ไทย’ โดยบทความมีข้อความดังต่อไปนี้
วันที่ 18 ถึง 24 มีนาคม 2562 นี้เป็นสัปดาห์ล้านช้าง-แม่โขง ครั้งที่สอง และก็เป็นการครบรอบ 3 ปีที่ความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขงได้ริเริ่ม จีน กัมพูชา ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนามซึ่งเป็น 6 ประเทศตามสองฟากฝั่งแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงได้เริ่มกลไกความร่วมมือระดับอนุภูมิภาครูปแบบใหม่นี้ในปี 2016 และเห็นพ้องกันว่าจะถือวันที่ 23 มีนาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการจัดประชุมผู้นำครั้งแรกเป็นสัปดาห์ล้านช้าง-แม่โขงของทุกปี
ความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขงก่อตั้งมา 3 ปี สามารถใช้ข้อได้เปรียบของ 6 ประเทศ เช่น ความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ลักษณะเกื้อหนุนกับทางเศรษฐกิจ ผลักดันความร่วมมืออย่างรอบด้าน สร้างกรอบความร่วมมือหลายระดับ หลายมิติ ดำเนินการโครงการความร่วมมือทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและโครงการอุตสาหกรรมกว่า 30 โครงการ และโครงการขนาดกลาง ขนาดเล็กนับร้อยโครงการ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมในอนุภูมิภาคนี้ โครงการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนหลายโครงการอย่าง โครงการแสงสว่างล้านช้าง-แม่โขง โครงการค่ายวัฒนธรรมผู้นำเยาวชนล้านช้าง-แม่โขง โครงการโรงหนังกลางแจ้ง ได้นำมาซึ่งผลประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง และเป็นการส่งเสริมในความเข้าใจและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประชาชน ให้เห็นว่าความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง เน้นเปิดกว้าง เอื้อเฟื้อร่วมมือต่อกัน และได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน อันจะเป็นการเกื้อหนุน ส่งเสริม พัฒนาซึ่งกันและกันกับองค์กรความร่วมมืออื่นๆ
ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่เสนอความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง ทั้งนี้ประเทศจีนและประเทศไทยมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดภายใต้กรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง ผ่านการดำเนินโครงการหลายโครงการ เช่น โครงการบริหารจัดทรัพยากรน้ำ โครงการการค้าข้ามแดนหมู่บ้านอีคอมเมิร์ซ เป็นต้น ซึ่งโครงการมากมายได้ดำเนินการร่วมมืออย่างใกล้ชิตกัน โดยมีทั้งด้านเกษตรกรรม อาชีวศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และการแลกเปลี่ยนเยาวชนเป็นต้น
สมาชิก 6 ประเทศล้านช้าง-แม่โขง ถือว่า งดื่มน้ำจากแม่น้ำเดียวกัน โชคชะตาเชื่อมโยงกัน’ ประเทศจีนยินดีที่จะร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ตลอดสองฟากฝั่งล้านช้าง-แม่โขง ซึ่งรวมถึงประเทศไทย โดยเราจะยึดถือจิตวิญญาณล้านช้าง-แม่โขง โดยมีหลักการว่า ‘การพัฒนาต้องมาก่อน หารืออย่างเสมอภาค เน้นการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เปิดกว้างยอมรับกัน’ เพื่อส่งเสริมการสร้างระเบียงเศรษฐกิจกลุ่มล้านช้าง-แม่โขง ผลักดันความร่วมมือก่อให้เกิดผลิตภาพอย่างมีคุณภาพ ผลักดันความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง ก้าวสู่ระดับสูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง เพื่อสร้างคุณูปการต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของอนุภูมิอย่างยั่งยืน เพื่อความผาสุกของประชาชนของทุกประเทศ