- Details
- Category: CHINA
- Published: Saturday, 23 September 2023 21:03
- Hits: 2899
ทุเรียน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับความนิยมในจีนภายใต้ข้อตกลง RCEP
ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานเป็นจุดสนใจของการประชุมสุดยอดทางธุรกิจของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองหนานหนิงทางตอนใต้ของจีน ปิดท้ายพร้อมกับงาน China-ASEAN Expo ครั้งที่ 20 ความร่วมมือด้านห่วงโซ่อุปทานระหว่างสมาชิกได้ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค อย่างเช่น ทุเรียน แม้ว่าบางคนจะพบว่ามีกลิ่นฉุน แต่หลายคนก็ชื่นชอบรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และเนื้อของทุเรียน
ตัวอย่างเช่นผู้บริโภคคนหนึ่งในมหานครฉงชิ่ง อีกหนึ่งเมืองที่กลายมาเป็นฮับทุเรียนในจีน ให้สัมภาษณ์กับ CMG ว่า “ฉันคิดว่าทุเรียนอร่อยมาก กลิ่นหอม หวาน เรียกได้ว่าเป็นราชาแห่งผลไม้ แถมยังมีรสชาติเหนียวอีกด้วย ฉันและครอบครัวมักจะซื้อมันมาตลอด ตอนนี้ราคาถูกลง ราคาเมื่อก่อนสูงเหมือนกัน ประมาณสี่สิบหยวน (ราว 200 บาท) ต่อครึ่งกิโลกรัม”
รายงานที่เผยแพร่โดยธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ระบุว่าจีนคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 90% ของการนำเข้าทุเรียนทั่วโลก ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงสองปีที่ผ่านมา
ราคาเคยอยู่ที่ประมาณ 10 ถึง 14 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม แต่ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีนี้ 2566 ราคาก็ลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง ทำให้ความนิยมทุเรียนในจีนเพิ่มมากขึ้น
เพื่อให้เข้าใจถึงแนวโน้มนี้มากขึ้น ทางนักข่าวของ CMG ได้ไปเยี่ยมชมบริษัทนำเข้าผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในจีน ซึ่งนำเข้าผลไม้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งขายทุเรียนได้ 25 ล้านลูกในปี 2565
หลี่ จุนสง หัวหน้าฝ่ายการจัดการห่วงโซ่อุปทาน บริษัท China Chongqing Hongjiu Fruit ในมหานครฉงชิ่ง กล่าวว่า มีสองสาเหตุหลัก ในด้านห่วงโซ่อุปทาน นับตั้งแต่จีนเริ่มโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative) โดยเฉพาะการดำเนินงานทางรถไฟจีน-ลาว-ไทยที่เส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่แห่งภาคตะวันตก (New Western Land-Sea Corridor) ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งของบริษัทเป็นอย่างมากรวมถึงลดต้นทุนด้วย
ทาง China Chongqing Hongjiu Fruit ยังระบุว่าปัจจุบัน คนที่ชื่นชอบทุเรียนในจีน ส่วนใหญ่บริโภคทุเรียนที่มาจากไทย แต่ตั้งแต่ปี 2565 เวียดนามก็เริ่มส่งออกทุเรียนไปยังจีน ซึ่งนำมาซึ่งการแข่งขันเชิงบวก ดังนั้น ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมราคาก็ลดลงและผู้ที่รักทุเรียนก็สามารถเข้าถึงผลไม้ได้ตลอดทั้งปี
ทุเรียนจากประเทศไทยถูกส่งไปยังมหานครฉงชิ่งโดยรถไฟจีน-ลาว-ไทยในเวลาเพียงห้าวัน ซึ่งช่วยให้ฉงชิ่งกลายเป็นศูนย์กลางหลักในการขายและจัดส่งทุเรียนในจีน
ขณะที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรฉงชิ่ง เผยว่า "จนถึงเดือนสิงหาคมปีนี้ 2566 ฉงชิ่งนำเข้าผลไม้จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มูลค่า 3.4 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 3.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยในจำนวนนี้ ทุเรียนสดมีมูลค่า 2.6 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 7% คิดเป็น 75% ของการนำเข้าผลไม้ของฉงชิ่งจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลาเดียวกัน"
ศุลกากรฉงชิ่งยังร่วมมือกับหน่วยงานศุลกากรในเมืองคุนหมิง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของพิธีการศุลกากรให้เหลือเพียงหนึ่งชั่วโมง นี่เป็นการเร่งการจัดส่งผลไม้จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังผู้บริโภคชาวจีน
แหล่งข้อมูล:https://news.cgtn.com/.../VHJhbnNjcmlwdDc0NzE1/index.html
https://www.globaltimes.cn/page/202309/1298352.shtml
#จีน #ฉงชิ่ง #ทุเรียน #ไทย #เวียดนาม #การค้า #รถไฟจีนลาว #RCEP #cctv #cgtn #cmg