- Details
- Category: ASAIN
- Published: Sunday, 24 August 2014 23:50
- Hits: 5668
ไทยเข้าร่วมประชุม AEM ครั้งที่ 46 เดินเครื่องเร่ง AEC-วางกรอบเปิดเสรี RCEP
ไทยโพสต์ : หว่างวันที่ 23-28 สิงหาคม 2557 นี้ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 46 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 12 และการประชุมคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA Council) ครั้งที่ 28 ณ กรุงเนปิดอร์ โดยหว่างวันที่ 23-28 สิงหาคม 2557 นี้ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 46 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 12 และการประชุมคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA Council) ครั้งที่ 28 ณ กรุงเนปิดอร์ โดยนายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นสำคัญที่จะเกิดขึ้นในการประชุม ดังนี้
การประชุมครั้งนี้ มีประเด็นสำคัญอะไรบ้าง
การประชุมครั้งนี้ ฝ่ายไทยมี น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะเข้าร่วมการประชุม โดยประเด็นสำคัญที่จะมีการหารือกัน ได้แก่ การติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินการตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) การจัดทำกรอบวิสัยทัศน์การรวมกลุ่มเศรษฐกิจของอาเซียนหลังปี 2558 การเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP หรือเรียกอีกอย่างว่า ASEAN FTA+6 และการยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน
การหารือกับประเทศคู่เจรจาในครั้งนี้มีอะไรสำคัญ
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน จะพบปะหารือกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย รวมไปถึงสหภาพยุโรป แคนาดา สหรัฐฯ และรัสเซีย โดยมีประเด็นสำคัญ อาทิ การหารือแนวทางการสรุปการเจรจาเพื่อเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุนกับญี่ปุ่น การยกระดับการเจรจาความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน การเปิดเสรีเพิ่มเติมภายใต้ กรอบอาเซียน-เกาหลี และยังจะหารือในประเด็นสำคัญในการเปิดเสรี RCEP ที่ระดับรัฐมนตรีจะมีการหารือเรื่องรูปแบบการเปิดตลาดการค้าสินค้า ข้อเสนอเบื้องต้นด้านการค้าสินค้า และการเปิดตลาดการค้าบริการและการลงทุน
ไทยจะผลักดันการเจรจากรอบ RCEP อย่างไร
ไทยยินดีให้การสนับสนุนให้มีการหาข้อสรุปเรื่องรูปแบบการเปิดตลาดการค้าสินค้า ให้มีข้อเสนอเบื้องต้นเปิดตลาดด้านการค้าสินค้า และแนวทางการจัดทำข้อผูกพันเปิดตลาดการค้าบริการและการลงทุนให้ได้โดยเร็ว โดยสนับสนุนหลักการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อความตกลง RCEP ให้กว้างและลึกกว่าความตกลง ASEAN+1 FTAs ที่มีอยู่เดิม ทั้งในแง่ของระดับการเปิดตลาดสินค้า การเปิดเสรีการค้าบริการ และการลงทุนที่ไม่ควรต่ำกว่าความตกลง ASEAN+1 FTAs และต้องปรับประสานกฎระเบียบทางการค้าในภูมิภาคให้สอดคล้องกันด้วย
ความคืบหน้าและการจัดตั้ง AEC ภาพรวมเป็นอย่างไร
ขณะนี้ภาพรวมการมุ่งไปสู่ AEC มีความคืบหน้ามากพอสมควร ซึ่งตามการวัดผลโดย AEC Scorecard ตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 ถึง 2556 อาเซียนดำเนินการได้ร้อยละ 72.3 ของมาตรการที่ต้องดำเนินการทั้งหมด และอาเซียนดำเนินการได้ร้อยละ 82.1 ของมาตรการสำคัญที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 2556 ทั้งนี้ ไทยเชื่อว่า อาเซียนจะสามารถดำเนินมาตรการที่สำคัญให้แล้วเสร็จได้ตามเป้าหมายในปี 2558 อาทิ การอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง ระบบศุลกากรหน้าต่างเดียว การปรับประสานมาตรฐานและกฎระเบียบทางเทคนิค การจัดทำ MRA สำหรับผลิตภัณฑ์รายสาขา เช่น ยานยนต์ อาหารแปรรูป เครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดทำข้อตกลงผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการชุดที่ 10 ให้แล้วเสร็จ เป็นต้น
การประชุมครั้งนี้จะมีการพิจารณาวิสัยทัศน์อาเซียนหลังปี 2558 ด้วย
การประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจะรับทราบความคืบหน้าและพิจารณาให้แนวทางการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หลังปี 2558 ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อที่จะเสนอให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและผู้นำอาเซียนพิจารณาให้การรับรองในการประชุ มสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 25 ในเดือนพฤศจิกายน 2557 ซึ่งไทยพร้อมให้การสนับสนุน และเห็นว่า ประเด็นที่อาเซียนควรให้ความสำคัญในลำดับแรกๆ ได้แก่ การเปิดเสรีสินค้าบริการเพิ่มขึ้น การอำนวยความสะดวกทางการค้า การผลักดันให้อาเซียนเป็นห่วงโซ่อุปทานของโลก การลด เลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี การเชื่อมโยงอาเซียน การพัฒนา SMEs และการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานความรู้ จะมีการลงนามความตกลงอะไรบ้างในการประชุมครั้งนี้
คาดว่า รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจะลงนามความตกลงด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ 4 ฉบับ ได้แก่ พิธีสารอนุวัติข้อผูกพันเปิดตลาดการค้าบริการชุดที่ 9 ข้อตกลงยอมรับร่วมกันสาขาวิชาชีพบัญชีของอาเซียน พิธีสารเพื่อแก้ไขความตกลงการค้าสินค้าอาเซียนออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และความตกลงว่าด้วยการค้าบริการและความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน-อินเดีย ซึ่งในส่วนของไทยมีความพร้อมในการลงนาม หลังจากที่ คสช. ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา